การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดมนต์

ผู้แต่ง

  • อนุวัต สมัคศิริกิจ -

คำสำคัญ:

พัฒนา, คุณภาพชีวิต, การสวดมนต์

บทคัดย่อ

บทความฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะการพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดมนต์ผลการศึกษาพบว่าการสวดมนต์ก่อนนอน ทุกวันอย่างน้อย ๑ เดือนขึ้นไป บทสวดมนต์ที่นิยมสวดคือบท อิติปิโส กับบท พระคาถาชินบัญชร ติดต่อกัน และมีนั่งสมาธิบ้าง ผลที่ได้คือช่วยให้เรื่องคลี่คลายปัญหา เรื่องลดความเครียด นอนหลับได้สนิทมากกว่าเดิม ทำให้เห็นแนวทางให้การแก้ไขปัญหาหรือมีสิ่งศักดิ์มาช่วยให้เรื่องราวต่างคลี่คลายลงไปได้ การสวดมนต์อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา ๑ เดือนเป็นอย่างน้อยและสวดมนต์อย่างน้อย ๑ บทขึ้นไป  จะทำให้ปัญหาในชีวิตคลี่คลายลงไปได้แล้วทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น ด้านกาย ทำให้สุขภาพร่างกายเป็นปกติ ระบบต่างทำงานอย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทางจิตใจ ทำให้ จิตใจสงบ เกิดบุญกุศล เกิดปัญญามองเห็นแนวทางการแก้ไขปัญหา ด้านสังคม มีจิตอาสา สามัคคีในชุมชน  ดังนั้น การสวดมนต์นั้น ส่งผลดีจิตใจ เพราะทำให้จิตใจสงบ มีความร่มเย็น มีสมาธิ จิตใจมีเมตตา เห็นอกเห็นใจผู้อื่น คิดแต่จะทำความดี และส่งผลดีต่อร่างกาย จิตใจ ทำให้สุขภาพแข็งแรง ระบบในภายร่างกายทำงานอย่างปกติ  ทำให้ร่างกายภายนอกสดใส หน้าตามีราศี มีออร่า หน้ามอง มีผลต่ออารมก็ดี ไม่โกรธ ไม่โลภ ไม่หลง เกิดปัญญาให้การแก้ไขปัญหา ทำให้ชีวิตมีความสุข

References

จักรี สว่างไพร. (2525) การศึกษาคุณภาพชีวิตการทางานครูโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. คณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. หน้า 6.

ชาญชัย อินทรประวัติ. (2545) การพัฒนาคุณภาพชีวิต. นครราชสีมา. โรงพิมพ์ เอเชียสาส์น. หน้า 7.

ชุมพร ฉ่าแสง และคณะ. (2555) ปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวดนครนายก. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, คณะแพทยศาสตร์. หน้า 4.

ทรงศักดิ์ ทองพันธ์. (2555) คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการตำรวจสถานีตำรวจภูธรบานตาขุน จังหวัดสุราษฎรธานี. ภาคนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. วิทยาลัยการจัดการเพื่อการพัฒนา (TSU-MDC). สาขาวิชาการบริหารงานตารวจและกระบวนการยุติธรรม มหาวิทยาลัยทักษิณ. หน้า 9.

ทิพย์วัลย์ เรืองขจร. (2554) วิทยาศาสตร์เพื่อคุณภาพชีวิต. คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลย มหาวิทยาลัยราชภัฎสงขลา. หน้า 15.

พระธรรม โกศาจารย์ (ชอบ อนุจารี). (2516) ตำนานการสวดมนต์. กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์กรมสารบรรณทหารเรือ. หน้า 1.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549) อานุภาพพระปริตร กรุงเทพมหานคร. โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. หน้า 4.

พลตรี หลวงวิจิตรวาทการ. (2512 )มนต์คาถาและการทำจิตให้สงบ. พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานฌาปนกิจศพนางทองใบนิมมล ๕.มีนาคม.๒๕๑๒. กรุงเทพมหานคร. อาทรการพิมพ์. หน้า 27.

พัชรี หล้าแหล่ง. (2556) การศึกษาคุณภาพชีวิตและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ามันในพื้นที่ภาคใต้. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดชุมพร. หน้าที่ 8-9.

ภัทราภา สุขสง่า, และ พรรณทิพา ศักด์ทอง. (2557) การทดสอบเบื้องต้นแบบประเมินผลลัพธ์ด้านการใช้ยาที่ได้จากการรายงานของผู้ป่วยสำหรับคุณภาพชีวิตด้านยาโดยไม่ใช้วิธีเชิงผสมผสาน. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. หน้าที่ 204.

รัตนาวดี จูตะยานนท. (2545) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวาน กรณีศึกษาโรงพยาบาลนครชัยศรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 10.

วราพรรณ ลิลัน. (2515)คุณภาพชีวิตของชาวนาในพื้นที่ ตำบลกระแชง อำเภอกันทรลักษ จังหวัดศรีสะเกษ. ปัญหาพิเศษบัณฑิต. สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา. หน้าที่ 11.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2543) ตำนานพระปริตร. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์กรมการศาสนา. หน้า 2.

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2511) ตำนานพระปริตร. อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพนาวาตรีหลวงกำธชลธาร (เกิดชาตะนาวิน) 30.ต.ค.2511. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. หน้า 207.

อดิศักดิ์ ทองบุญ. (2546) ปรัชญาอินเดีย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

หน้า 13-14.

พระมหาวุฒิชัย (ว.วชิรเมธี). (2553) ๙ มนต์เพื่อความก้าวหน้า. กรุงเทพมหานคร สถาบันวิมุตตยาลัย.

หน้า 1-12.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539) พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

S. Freud, (1962) Civilization and Its Discontent. New York W.W.Norton and Co.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-12

How to Cite

สมัคศิริกิจ อ. (2025). การพัฒนาคุณภาพชีวิตด้วยการสวดมนต์. วารสาร มจร ภาษาและวัฒนธรรม, 4(2), 16–35. สืบค้น จาก https://so08.tci-thaijo.org/index.php/JMLC/article/view/4453