บรรณาธิการ:
รศ.ดร. สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง
วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับตีพิมพ์บทความ 2 ประเภท ดังนี้
1. บทความวิจัย (Research article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน
2. บทความวิชาการ (Academic article) ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป
การส่งบทความ
บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จะต้องส่งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวนอย่างน้อย 3 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพของบทความก่อนตีพิมพ์ ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร
การเตรียมบทความ
บทความต้องเป็นตัวพิมพ์โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยนิรมิต เอเอส (TH Niramit AS) กำหนดขนาดดังนี้ ชื่อเรื่องขนาดอักษร 18 ตัวหนา หัวข้อขนาดอักษร 16 ตัวหนา เนื้อเรื่องขนาดอักษร 14 ตัวบาง จัดกั้นหน้าหลังตรง และมีระยะห่างบระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาด A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว และ ด้านซ้าย ด้านขวา กับด้านล่าง 1 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขกำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความ จำนนวนหน้าไม่ควรยาวเกิน 10-15 หน้ากระดาษ โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง
การพิจารณาและคัดเลือกบทความ
บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer review) อย่างน้อย 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double- blind peer review)
ส่วนประกอบของบทความวิจัย
ส่วนที่ 1 ส่วนนำ
ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา
ส่วนเนื้อหา ให้ผู้นิพนธ์เขียนให้ครบถ้วนทั้ง 10 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ (โดยไม่ต้องใส่เลขกำกับ และใช้ตัวอักษรหนา ชิดซ้ายสุด) ดังนี้
1. ความสำคัญของปัญหาการวิจัย (Background and Significance) เป็นส่วนกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของประเด็นที่ทำการวิจัย นำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และหลักฐานต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย และกล่าวถึงเหตุผลหรือประเด็นสำคัญของปัญหาในการวิจัยครั้งนี้ให้ชัดเจน ที่นำไปสู่การทำวิจัยในเรื่องนั้น ๆ
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นข้อ ๆ หรือเขียนเรียบเรียงให้ชัดเจน
3. การทบทวนวรรณกรรม (Liturature reviews) กล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเขียนแบบสังเคราะห์ หรือสรุปเฉพาะในความสำคัญ และอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง
4. กรอบแนวคิดของการวิจัย (Conceptual framework) กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ เช่น ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม รวมถึงอ้างอิงถึงที่มาของตัวแปรดังกล่าวด้วย โดยอาจเขียนเป็นภาพประกอบหรือการเขียนแบบความเรียงก็ได้
5. วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาวิจัย รูปแบบการวิจัย หัวข้อย่อยประกอบด้วย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ หากเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ผู้นิพนธ์เขียนแบบ
6. ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม
7. การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์
8. องค์ความรู้หรือองค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge or Originality) กล่าวถึง องค์ความรู้ องค์ความรู้ใหม่ แนวคิดใหม่ หรือหลักการใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยเรื่องนี้แบบสรุป โดยอาจเขียนเป็นภาพ แผนผังความคิด หรือเขียนเป็นความเรียงให้เข้าใจง่าย ๆ หากไม่มีองค์ความรู้ให้ผู้นิพนธ์เขียนถึงเหตุผลที่ไม่มีองค์ความรู้กำกับไว้ในเนื้อหาของหัวข้อนี้ด้วย
9. ข้อเสนอแนะ (Suggestions) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป หัวข้อนี้ควรเขียนแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป
10. กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย แต่หากเป็นบทความที่เขียนมาจากวิทยานิพนธ์ ไม่ต้องระบุ เพื่อประหยัดเนื้อหาและมีรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาปรากฏในผลงานอยู่แล้ว
11. เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) แบบนาม ,ปี เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ ( ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารหรือแหล่งที่ใช้อ้างอิง และการอ้างอิงท้ายบทความ โดยใช้รูปแบบ APA Styls 6th
บรรณาธิการ:
รศ.ดร. สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง
กำหนดเผยแพร่ ปีละ 4 ฉบับ
ฉบับที่ 1 (มกราคม-มีนาคม)
ฉบับที่ 2 (เมษายน-มิถุนายน)
ฉบับที่ 3 (กรกฎาคม-กันยายน)
ฉบับที่ 4 (ตุลาคม-ธันวาคม)
คำแนะนำสำหรับการเตรียมต้นฉบับบทความ
ดาวน์โหลด Template บทความ
การเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความ
1. บทความของบุคลากรภายใน 2,500 บาท / 1 บทความ
2. บทความของนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัย 3,000 บาท / 1 บทความ
3. บทความของบุคคลภายนอก 4,000 บาท / 1 บทความ