การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • 1. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ที่ใดมาก่อน และต้องไม่อยู่ในกระบวนการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารหรือสิ่งตีพิมพ์อื่นใด
  • 2. ผู้เขียนต้องจัดทำต้นฉบับตามข้อกำหนดของกองบรรณาธิการวารสาร
  • 3. บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ ต้องเป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงคุณภาพทางวิชาการ และมีประโยชน์ในเชิงทฤษฎีหรือเชิงปฏิบัติ
    เนื้อหาสาระของบทความและแนวการเขียนต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของวารสาร โดยผ่านการพิจารณาและให้ความเห็นชอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer Review) ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น ๆ จำนวน 3 ท่าน ต่อ 1 บทความและเป็นผู้มีผลงานทางวิจัยอย่างต่อเนื่อง โดยใช้การประเมินแบบไม่เห็นกันทั้งสองฝ่ายระหว่างผู้นิพนธ์และผู้ประเมิน (double-blinded)
  • 4. กองบรรณาธิการอาจส่งผลการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิให้ผู้เขียนแก้ไข เพิ่มเติม ผู้เขียนจะต้องแก้ไขความถูกต้องของบทความตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
  • 5. กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขรูปแบบบทความที่ส่งมาตีพิมพ์ โดยผู้เขียนยินยอมให้กองบรรณาธิการแก้ไขความสมบูรณ์ของบทความและยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการกำหนด
  • 6. ในกรณีที่ผู้ประเมินอิสระ (Peer Review) ได้มีมติให้ผู้เขียนผลงานปรับปรุงแก้ไข
    ผลงาน ขอให้ผู้เขียนผลงานปรับปรุงแก้ไขแล้วส่งผลงานที่ได้ปรับปรุงแก้ไขแล้วให้กองบรรณาธิการวารสาร ภายใน 7 วันนับจากวันที่ได้รับผลข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงแก้ไขแล้ว ถ้าไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขจะเลื่อนบทความของท่านไปตีพิมพ์ในฉบับอื่นซึ่งจะล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม
  • 7. ในกรณีที่ผู้ประเมินอิสระ (Peer Review) พิจารณาแล้วมีลงความเห็นว่าไม่สามารถให้ตีพิมพ์ได้ วารสารจะทำหนังสือแจ้งให้ผู้เขียนบทความทราบอย่างชัดเจน
  • 8. บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นทัศนะ ลิขสิทธิ์ และความรับผิดชอบของผู้เขียนเจ้าของผลงาน กองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบในเนื้อหาหรือความถูกต้องของเรื่องที่ส่งมาตีพิมพ์ทุกเรื่อง

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความ (Author Guidelines)

วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร รับตีพิมพ์บทความประเภทต่าง ๆ ดังนี้

            1.  บทความวิจัย (Research Article) ได้แก่ รายงานผลงานวิจัยใหม่ที่มีองค์ความรู้อันเป็นประโยชน์ ซึ่งไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารใด ๆ มาก่อน

            2.  บทความวิชาการ (Academic Article) ที่เสนอเนื้อหาความรู้ วิชาการ มีกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนิสิต นักศึกษา หรือประชาชนทั่วไป

การส่งบทความ

            บทความที่จะตีพิมพ์ในวารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร จะส่งผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 ท่าน เพื่อประเมินคุณภาพของบทความก่อนตีพิมพ์  ทั้งนี้ ผู้นิพนธ์ควรตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมบทความให้ถูกต้องตามรูปแบบของบทความที่วารสารกำหนด ตลอดจนตรวจสอบความถูกต้องแน่นอน พร้อมทั้งพิสูจน์อักษรก่อนที่จะส่งบทความนี้ให้กับบรรณาธิการ การเตรียมบทความให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสารจะทำให้การพิจารณาตีพิมพ์มีความรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และทางกองบรรณาธิการของสงวนสิทธิ์ที่จะไม่พิจารณาบทความจนกว่าจะได้แก้ไขให้ถูกต้องตามข้อกำหนดของวารสาร

 การเตรียมบทความ

            บทความต้องเป็นตัวพิมพ์โดยใช้ชุดแบบอักษร (Font) ชนิดไทยนิรมิต เอเอส (TH Niramit AS) กำหนดขนาดดังนี้ ชื่อเรื่องขนาดอักษร 18 ตัวหนา หัวข้อขนาดอักษร 16 ตัวหนา เนื้อเรื่องขนาดอักษร 14 ตัวบาง จัดกั้นหน้าหลังตรง และมีระยะห่างบระหว่างบรรทัดหนึ่งช่อง (Double spacing) ตลอดเอกสาร พิมพ์หน้าเดียวลงบนกระดาษพิมพ์สั้นขนาด A4 พิมพ์ให้ห่างจากขอบกระดาษด้านบน 1.5 นิ้ว และซ้าย ด้านขวา กับด้านล่าง 1 นิ้ว พร้อมใส่หมายเลขกำกับทางมุมขวาบนทุกหน้าบทความ จำนนวนหน้าไม่ควรยาวเกิน 10-15 หน้ากระดาษ โดยนับรวมภาพประกอบและตาราง

การพิจารณาและคัดเลือกบทความ

             บทความแต่ละบทความจะได้รับพิจารณาจากคณะกรรมการกลั่นกรองบทความวารสาร (Peer Review) จำนวน 3 ท่าน ที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชานั้น ๆ และสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง และได้รับความเห็นชอบ/ตัดสินจากกองบรรณาธิการก่อนตีพิมพ์ โดยการพิจารณาบทความจะมีรูปแบบที่ผู้พิจารณาบทความไม่ทราบชื่อหรือข้อมูลของผู้นิพนธ์บทความ และผู้นิพนธ์ไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาบทความ (Double- blind peer review)

 

ส่วนประกอบของบทความวิจัย

 

ส่วนที่ 1 ส่วนนำ

  • ชื่อเรื่อง (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ขนาด 18pt ตัวหนา
  • ชื่อผู้นิพนธ์ (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ขนาด 14pt ตัวธรรมดา
  • ชื่อหลักสูตร/สาขาวิชา/คณะ/สังกัดและ อีเมล์ของผู้นิพนธ์ทุกคน  ทั้งนี้ ให้ใส่เครื่องหมาย * ด้านหลังชื่อ-สกุล และอีเมล์ของผู้ประพันธ์บรรรณกิจ รวมถึงใส่หมายเลขโทรศัพ ขนาด 14pt ตัวธรรมดา 
  • บทคัดย่อ บทคัดย่อควรมีความยาว 250 – 300 คำ ต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งบทคัดย่อควรเขียนให้ได้ใจความทั้งหมดของเรื่อง ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ ควรกล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย ควรกล่าวถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูล ระเบียบวิธีวิจัยที่นำมาศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ผลการวิจัย ควรกล่าวถึงผลสรุปของการค้นคว้าและศึกษา คำสำคัญ ควรมีคำสำคัญ 3-5 คำ ที่ครอบคลุมชื่อเรื่องที่ศึกษา และจะปรากฎอยู่ในส่วนท้ายของบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยต้องจัดเรียงคำสำคัญตามตัวอักษร และคั่นด้วยเครื่องหมาย (;)
  • Abstract  โดยแปลเนื้อหามาจากบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ พร้อม Keyword

 

ส่วนที่ 2 ส่วนเนื้อหา

          ส่วนเนื้อหา ให้ผู้นิพนธ์เขียนให้ครบถ้วนทั้ง 10 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ (โดยไม่ต้องใส่เลขกำกับ และใช้ตัวอักษรหนา ชิดซ้ายสุด) ดังนี้

            1.  ความสำคัญของปัญหาการวิจัย (Background and Significance) เป็นส่วนกล่าวถึงที่มาและความสำคัญของประเด็นที่ทำการวิจัย นำเสนอข้อมูล สารสนเทศ และหลักฐานต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่วิจัย และกล่าวถึงเหตุผลหรือประเด็นสำคัญของปัญหาในการวิจัยครั้งนี้ให้ชัดเจน ที่นำไปสู่การทำวิจัยในเรื่องนั้น ๆ

            2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective) กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัยเป็นข้อ ๆ หรือเขียนเรียบเรียงให้ชัดเจน

            3. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Liturature reviews) กล่าวถึงแนวคิด ทฤษฎี งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ควรเขียนแบบสังเคราะห์ หรือสรุปเฉพาะในความสำคัญ และอ้างอิงที่มาของแหล่งข้อมูลให้ถูกต้อง

            4. กรอบแนวคิดของการวิจัย (Conceptual framework) กล่าวถึงกรอบแนวคิดในการวิจัยครั้งนี้ เช่น ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม รวมถึงอ้างอิงถึงที่มาของตัวแปรดังกล่าวด้วย โดยอาจเขียนเป็นภาพประกอบหรือการเขียนแบบความเรียงก็ได้

            5.  วิธีดำเนินการวิจัย (Methods) กล่าวถึงรายละเอียดของวิธีการศึกษาวิจัย รูปแบบการวิจัย หัวข้อย่อยประกอบด้วย 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2.เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  3.การเก็บรวบรวมข้อมูล 4.การวิเคราะห์ข้อมูล ทั้งนี้ หากเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ให้ผู้นิพนธ์เขียนแบบ

            6.  ผลการวิจัย (Results) เป็นการแสดงผลที่ได้จาการศึกษาและวิเคราะห์ในข้อ 3.2 ควรจำแนกผลออกเป็นหมวดหมู่และสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของการศึกษา โดยการบรรยายในเนื้อเรื่องและแสดงรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยภาพประกอบ ตาราง กราฟ หรือแผนภูมิ ตามความเหมาะสม

            7.  การอภิปรายผล (Discussion) เป็นการนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์ของผู้นิพนธ์นำมาเปรียบเทียบกับผลการวิจัยของผู้อื่น เพื่อให้มีความเข้าใจหรือเกิดความรู้ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยนั้น รวมทั้งข้อดี ข้อเสียของวิธีการศึกษา เสนอแนะความคิดเห็นใหม่ ๆ ปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ที่ได้จากการศึกษาครั้งนี้ เพื่อเป็นแนวทางที่จะนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์

           8. องค์ความรู้ใหม่ (Body of Knowledge)  กล่าวถึง องค์ความรู้ องค์ความรู้ใหม่ แนวคิดใหม่ หรือหลักการใหม่ ที่เกิดขึ้นจากการทำวิจัยเรื่องนี้แบบสรุป โดยอาจเขียนเป็นภาพ แผนผังความคิด หรือเขียนเป็นความเรียงให้เข้าใจง่าย ๆ หากไม่มีองค์ความรู้ให้ผู้นิพนธ์เขียนถึงเหตุผลที่ไม่มีองค์ความรู้กำกับไว้ในเนื้อหาของหัวข้อนี้ด้วย

           9.  ข้อเสนอแนะ (Suggestions) การแนะแนวการนำผลการวิจัยไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อไป  หัวข้อนี้ควรเขียนแบ่งเป็น 2 หัวข้อย่อย ได้แก่ 1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และ 2. ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

           10.  กิตติกรรมประกาศ (Acknowledgements) (ถ้ามี) เป็นส่วนที่กล่าวขอบคุณต่อองค์กร หน่วยงานหรือบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือร่วมมือในการวิจัย รวมทั้งแหล่งที่มาของเงินทุนวิจัย แต่หากเป็นบทความที่เขียนมาจากวิทยานิพนธ์ ไม่ต้องระบุ เพื่อประหยัดเนื้อหาและมีรายชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาปรากฏในผลงานอยู่แล้ว

           11.  เอกสารอ้างอิง (References) ใช้รูปแบบการอ้างอิงแทรกในเนื้อหา (Citations in text) เป็นการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อความไว้ในเครื่องหมายวงเล็บ (  ) แทรกในเนื้อหา ซึ่งมีรูปแบบการเขียนอ้างอิงแตกต่างกันตามประเภทของเอกสารหรือแหล่งที่ใช้อ้างอิง

 

Research article

Research Article

 

 

 

บทความวิจัย

 

 

 

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมล หรือข้อมูลส่วนบุคคล ที่กรอกในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในงานวารสารเท่านั้นและจะไม่เปิดเผยเพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่น ๆ หรือให้กับบุคคลหรือหน่วยงานอื่นใดทราบ