Developing a Training kits on Brushless DC motor (BLDC) Driving Techniques for Basic electric vehicles
Keywords:
ชุดฝึกอบรม, ยานยนต์ไฟฟ้า, ความพึงพอใจAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างชุดฝึกอบรมการขับมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (BLDC) สำหรับพื้นฐาน ยานยนต์ไฟฟ้า และเพื่อประเมินความพึงพอใจในการจัดอบรมการขับมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่านให้กับผู้สอน ในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ดำเนินการโดยการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรที่จะฝึกอบรมแล้วทำการสร้าง ชุดฝึกอบรมการขับมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (BLDC) สำหรับพื้นฐานยานยนต์ไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบ การอบรม หลังจากนั้นทำการหาคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน และจัดอบรมให้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยวิธีการเสนอชื่อจากวิทยาลัยต้นสังกัดในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ที่เปิดสอนระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์ แห่งละ 3 คน ที่ยังไม่เปิดสอนในระดับปริญญาตรีสาขาดังกล่าว แห่งละ 2 คน เลือกแบบจำเพาะเจาะจงจากช่างในสถานประกอบการของจังหวัดกระบี่ 3 แห่ง ๆ ละ 1 คน และจากครู/อาจารย์ที่สนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมเพิ่มเติม จำนวน 5 คน รวมเป็น 22 คน เครื่องมือประเมินเป็นแบบประเมิน คุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญและแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมโครงการ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการสร้างชุดฝึกอบรมการขับมอเตอร์แบบไร้แปรงถ่าน (BLDC) สำหรับพื้นฐาน ยานยนต์ไฟฟ้า ได้ชุดฝึกอบรมจำนวน 14 ชุด พร้อมเอกสารประกอบการอบรมชุดละ 3 รายการ คุณภาพของ ชุดฝึกอบรมในภาพรวมอยู่ในระดับดี 2) ระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมที่มีต่อการเข้าร่วมโครงการ พบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด แต่เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทุกด้านมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด โดยด้านวิทยากรฝึกอบรมมีค่าระดับความพึงพอใจสูงสุด
References
สมพร ปานดำ. (2564). การจัดการอาชีวศึกษาที่ตอบสนองกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต. วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(1), 9-22. สืบค้นจาก https://www.ph01.tci-thaijo.org/index.php/csnp_veis1/article/view/244047/166282
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยการศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
สุเมธ มามาตย์ และอุบลรัตน์ มณีมัย. (2565). เอกสารประกอบการฝึกอบรมระบบสมองกลฝังตัวยานยนต์ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 2 ภาคที่ 1 เทคนิคการขับมอเตอร์ BLDC. กระบี่ : วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
สุเมธ มามาตย์. (2564). หนังสือวีดีโอผ่าน QR ถอดความกลัวแล้วก้าวสู่โลกอิเล็กทรอนิกส์แบบลงมือทำ. กระบี่ : วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
สุเมธ มามาตย์. (2564). การสร้างนวัตกรรมรูปแบบ STEM ในยุค 5G. กระบี่ : วิทยาลัยเทคนิคกระบี่
มงคล ลาดซุย, ภาคิน ขบขัน, วสุพล กุลเกลี้ยง และณัฐชัย โปธิ. (2564). การออกแบบและพัฒนายานยนต์ไฟฟ้าต้นแบบ. วารสารวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี, 1(1), 19-29. สืบค้นจาก https://pho2.tcithaijo.org/index.php/JSET/article/view/244148/165801
ชลัท วิภาวัฒนกุล และเตชินท์ ศิริเตชะวงศ์. (2558). วงจรขับมอเตอร์กระแสตรงแบบไม่มีแปรงถ่าน [ปริญญานิพนธ์ ปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง]. http://ebook.lib.kmitl.ac.th/library/book
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
Copyright (c) 2024 Institute of Vocational Education Southern Region 3 Journal (KRIS Journal)
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.