การสร้างและหาประสิทธิภาพ Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์
คำสำคัญ:
ปลาอินทรีเค็ม, ตากปลา, ประสิทธิภาพ, พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้าง Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 2) หาคุณภาพ Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 3) หาประสิทธิภาพ Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ กลุ่มตัวอย่างด้านคุณภาพ คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตปลาอินทรีเค็ม อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จำนวน 5 คน ด้านประสิทธิภาพ คือ ผู้ผลิตปลาอินทรีเค็มสินค้าโอทอป อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จำนวน 5 คน และ ด้านความพึงพอใจ คือ ผู้ผลิตและจำหน่ายปลาอินทรีเค็ม อ.หนองจิก จ.ปัตตานี จำนวน 5 คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบประเมินคุณภาพ แบบบันทึกข้อมูลการทดลอง แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์มีค่าคุณภาพเครื่องอยู่ในระดับมาก 2) ผลการหาประสิทธิภาพเครื่องพบว่า ค่าเฉลี่ยอุณหภูมิภายในสูงกว่าค่าเฉลี่ยอุณหภูมิภายนอกอุปกรณ์ 19.22 เปอร์เซ็นต์ ไม่มีแมลงวันรบกวน ฝุ่นควัน และน้ำฝน ไม่สามารถเข้าภายในอุปกรณ์ได้ 3) มีค่าความพึงพอใจ 4.74 อยู่ในระดับมากที่สุด สรุปว่าการดำเนินการสร้าง Scomber Capsule อุปกรณ์ตากปลาอินทรีเค็มด้วยพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ ใช้ตากปลาอินทรีเค็มได้ เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
References
อารีฟ สารอเอ็ง. (2561). ผลการดำเนินงานประจำปี 2560. วารสารสมาคมประมง, 1 (1), 9-10.
กระทรวงพลังงาน. (2562). โครงการสนับสนุนการลงทุนติดตั้งใช้งานระบบอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ (พาราโบลาโดม) ประจำปี 2560.สืบค้นจาก http://www.solardryerdede.com/?page_id=4988
วัลลภ จันทร์ตระกูล. (2548). การออกแบบวิศวกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
วีระเชษฐ์ ขันเงิน. (2555). เครื่องอบฆ่าเชื้อในระบบปิด. กรุงเทพฯ: ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ณรงค์ สังข์นครา. (2554). การประยุกต์ใช้โอโซนกับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็กเพื่อลดการใช้พลังงาน. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาเทคโนโลยีในอาคาร มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
สุชาติ สุภาพ. (2557). ฟิสิกส์ 2 ระดับมหาวิทยาลัย. นนทบุรี: สำนักพิมพ์ SCIENCE PUBLISHING.
กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน. (2560). การผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์.
กรุงเทพฯ: กองถ่ายทอดและเผยแพร่เทคโนโลยีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน.
ณัฐพล ศรีสิทธิโภคกุล. (2548). การพัฒนาเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์สำหรับอบแห้งเครื่องเทศและสมุนไพร (วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาฟิสิกส์) มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ธีรเดช ใหญ่บก, สุวิทย์ เพชรห้วยลึก, จอมภพ แววศักดิ์, มารีนา มะหนิ, และภรพนา บัวเพชร์. (2553). การพัฒนากระบวนการอบแห้งปลาด้วยเครื่องอบแห้งพลังงานร่วมแสงอาทิตย์-ไฟฟ้า. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ, 12 (3), 109-118.
กิตติศักดิ์ ศรีสวัสดิ์ และวริศ จิตต์ธรรม. (2559). ตู้อบแห้งปลาสลิดด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยราชมงคลล้านนา, 9 (2), 20-30.
วสันต์ จีนธาดา, บัญญัติ นิยมวาส, และอเนก ไทยกุล. (2561). เครื่องอบแห้งปลาพลังงานแสงอาทิตย์แบบอุโมงค์อบแห้งปลาแดดเดียว. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 28 (3), 525-536.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.