การศึกษาอิทธิพลความเร็วรอบ และอัตราการป้อนในการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนอลูมิเนียม 6063 ความหนาต่างกันด้วยตัวกวนทรงเรียว
คำสำคัญ:
การเชื่อมเสียดทานแบบกวน, เทเลอร์แบล็งค์, รอยต่อชนบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลความเร็วรอบ และอัตราการป้อนของตัวกวน ด้วยการเชื่อม
ด้วยแรงเสียดทานแบบกวนรอยต่อชนแผ่นเทเลอร์แบลงค์อลูมิเนียม 6063 ที่มีผลต่อสมบัติความแข็งแรงแนวเชื่อม ด้วยตัวกวนรูปทรงเรียว มีตัวแปรในการเชื่อมคือ ความเร็วรอบของตัวกวน 300,400, และ 500 รอบต่อนาที.อัตราความเร็วในการเดินแนวเชื่อม 60,80,100 และ125 มม./นาที ผลการทดสอบค่าความแข็งแรงต่อแรงดึง เครื่องมือเชื่อมทรงเรียว ความเร็วรอบ 500 รอบต่อนาที
ความเร็วการเดินแนวเชื่อม 100 มม./นาทีให้ค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงสุด 192 MPa. ผลการเปรียบเทียบลักษณะรอยขาดของแนวเชื่อมมีลักษณะการขาดของชิ้นงานอยู่ 2 ลักษณะ ชิ้นงานที่มีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงสุดมีการขาดบริเวณเนื้อชิ้นงานหนา 3 มม. ผลการทดสอบความแข็งของแนวเชื่อม ชิ้นงานที่มีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงสุดบริเวณแนวเชื่อม และบ่ามีค่าความแข็งสูงกว่าพื้นที่ขาดบริเวณเนื้อชิ้นงานหนา 3 มม. ผลของการวิเคราะห์โครงสร้างมหภาคจุลภาครอยเชื่อม ที่มีค่าความแข็งแรงต่อแรงดึงสูงสุด การขาดบริเวณเนื้อชิ้นงานหนา 3 มม. มีเกรนขนาด 125.31 µm โครงสร้างของแนวเชื่อม ที่มีลักษณะของโครงสร้างที่กลมและเล็กละเอียดมากขึ้น ส่งผลทำให้ค่าความแข็งแรงของรอยต่อมีค่าเพิ่มมากขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับโลหะหลักที่มีเกรนนาดใหญ่กว่า ทำให้แนวเชื่อมมีความแข็งแรงกว่าโลหะหลัก เป็นสาเหตุทำให้เกิดการพังทลายของชิ้นทดสอบ บริเวณโลหะหลักด้านที่หนา 3 มม.
References
ธรรมนูญ อินทรพล, และกิตติพงษ กิมะพงศ. (2551). อิทธิพลของตัวแปรการเชื่อมเลเซอร์ต่อสมบัติทางกลของรอยต่อชนแผ่นเทเลอร์แบล็งค์เหล็กเคลือบสังกะสีเกรด SGACD. รายงานการประชุมวิชาการทางวิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ครั้งที่ 6 (น. 579-583). สงขลามหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
W.M. Thomas, E.D.N., J.C. Needham, M.G. Murch, P.Temple-Smith, C.J. Dawes. (1991). Friction Stir Butt Welding. Retrieved 20 Febuary 2021 from https://patents.google.com/patent/US5460317A/en
กิตติพงษ์ กิมะพงศ์. (2551). การเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวน:การแก้ปัญหาการต่อวัสดุที่ยากต่อการเชื่อมหลอมละลาย. รายงานการประชุมข่ายงานวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี 2551 (น. 712-717). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ธงชัย เครือผือ และคนอื่นๆ. (2551). อิทธิพลของความเร็วในการเชื่อมและรูปแบบของหัวพินที่มีผลต่อสมบัติทางโลหะวิทยาและสมบัติทางกลในการเชื่อมอลูมิเนียมผสม A356 ที่หล่อโดยเทคโนโลยีหล่อกึ่งของแข็งด้วยกรรมวิธีการเชื่อมเสียดทานแบบกวน. การประชุมข่ายงานวิชาการวิศวกรรมอุตสาหการประจำปี
(น. 933-939). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
นราธิป แสงซ้าย, สงกรานต์ บางศรัณย์ทิพย์ และกิตติพงษ์ กิมะพงศ์. (2551). อิทธิพลรูปร่างตัวกวนการเชื่อมด้วยการเสียดทานแบบกวนต่อความต้านทานแรงดึงของรอยต่อชนอลูมิเนียม AA6063-T1. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 9(2), 19-25.
R.S. Mishra, Z.Y.M.. (2005). Friction stir welding and processing. Materials Science and Engineering 50(1-2), P. 1–78.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.