ชุดควบคุมสำหรับโครงการชีววิถีแบบประหยัดพลังงานควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ อุมาบล
  • ยสุตมา หลีหมัด
  • วิทยา ยวงนาค

คำสำคัญ:

โครงการชีววิถี, ประหยัดพลังงาน, ควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ : 1) เพื่อสร้างชุดควบคุมสำหรับโครงการชีววิถีแบบประหยัดพลังงานควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน 2) เพื่อหาประสิทธิภาพชุดควบคุมสำหรับโครงการชีววิถีแบบประหยัดพลังงานควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อการใช้ชุดควบคุมสำหรับโครงการชีววิถีแบบประหยัดพลังงานควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน โดยมีเกษตรกรในจังหวัดชุมพร จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่าง และได้สร้างแบบบันทึกผลการทดลองแบบประเมินความพึงพอใจ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า เซลล์สุริยะผลิตพลังงานไฟฟ้าได้ 377.4 ยูนิต ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.50 บาท ผลิต
ไฟฟ้าได้เดือนละประมาณ 1,700 บาท 2) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพการประหยัดพลังงานไฟฟ้าของชุดควบคุมมอเตอร์เครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสสลับ 1 เฟส แบบเดิมกับชุดควบคุมมอเตอร์เครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส แบบประหยัดพลังงาน เมื่อคิดพลังงานไฟฟ้าต่อเดือน ชุดมอเตอร์เครื่องสูบน้ำไฟฟ้ากระแสสลับ 3 เฟส จะประหยัดกว่าทั้งปริมาณน้ำและปริมาณไฟฟ้า กรณีที่ปรับสวิตช์เลือกการทำงานไปที่โหมดการทำงานโหมดการทำงานแบบธรรมดาและโหมดการทำงานแบบอัตโนมัติ สามารถตั้งเวลาเปิด-ปิด การทำงานได้เองโดยอัตโนมัติทุกครั้ง และสามารถประหยัดน้ำ ประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้คงเดิม 3) ความพึงพอใจของประชาชนกลุ่มตัวอย่างมีค่าระดับ 4.82 ซึ่งมีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ระดับความพึงพอใจมากที่สุด

References

การประหยัดพลังงานไฟฟ้าสำหรับมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ 3 เฟส (2545). กรุงเทพมหานคร: กองส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน.

โครงการชีววิถีเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสู่เศรษฐกิจพอเพียง (2562). กรุงเทพมหานคร: การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย.

เฉลิมพล เรืองพัฒนาวิวัฒน์. (2545). วิจัยเรื่องการสร้างและหาประสิทธิภาพชุดทดลองอินเวอร์เตอร์สามเฟส. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2021

How to Cite

1.
อุมาบล ก, หลีหมัด ย, ยวงนาค ว. ชุดควบคุมสำหรับโครงการชีววิถีแบบประหยัดพลังงานควบคุมผ่านสมาร์ตโฟน. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 มิถุนายน 2021 [อ้างถึง 1 พฤษภาคม 2025];1(1):53-64. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3152