การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • กฤษณวรรณ เสวีพงศ์
  • ศุภพิชญ์ ดำนวล
  • สุธี เทพสุริวงค์

คำสำคัญ:

การพัฒนาผลิตภัณฑ์, เชือกกล้วย, มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย 2) เพื่อประเมินผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน โดยใช้กระบวนการวิจัยแบบผสมผสาน 1) การสนทนากลุ่ม (Focus Group) และศึกษาข้อมูลจากงานวิจัยและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องในลักษณะของข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) 2) การพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย 3) การอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย และ4) การประเมินผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ตำบลบ้านขาว จำนวน 25 คน ด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ผลการวิจัย พบว่า 1. ผลการพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยในพื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้หลักสูตรการพัฒนาเชือกกล้วย จำนวน 30 ชั่วโมง นำไปใช้ในการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย ได้ 5 ประเภท ได้แก่ หมวก กระเป๋าทรงสี่เหลี่ยม กระเป๋าทรงกลม ภาชนะมีฝาปิด กระเป๋าสะพายข้าง ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย (𝑥̅= 4.16, SD = 0.51 ) 2. ผลการประเมินผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยในพื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ระดับดี ค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅= 2.40 ) เมื่อพิจารณาจากประเภทของผลิตภัณฑ์เชือกกล้วย พบว่า กระเป๋าสะพายข้างมีผลการประเมินตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน มากที่สุด อยู่ที่ระดับดี ค่าเฉลี่ย ( 𝑥̅ = 2.48)

References

สมชาย บูญพิทักษ์. (2553). ศึกษาและพัฒนาหัตถกรรมเชือกกล้วย สำหรับผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตกแต่งบ้านพักอาศัย (รายงานผลการวิจัย). ตาก: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตตาก.

วารี กาลศิริศิลป์. (2556). การพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเป๋าจากเชือกกล้วยมัดย้อม (วิทยานิพนธ์ คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

สำนักงานเกษตรอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. (2562). ข้อมูลพืชเศรษฐกิจอำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. สงขลา.

Dudovskiy,J. (2018). Apple Value Chain Analysis. Research Methodology.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. (2546) มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์จากเชือกกล้วย. สืบค้น 15 มกราคม 2564, จาก www.http://tcps.tisi.go.th/pub%5Ctcps56_46.pdf

จิราพร มะโนวัง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเพื่อสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน ตำบลดงมะดะ อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย (รายงานผลการวิจัย). เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

พจน์ธรรม ณรงค์วิทย์และราชัน แพ่งประเสริฐ. (2560). เชือกกล้วยฟั่น จากหัตถกรรม สู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์. สืบค้น 8 กรกฎาคม 2562 จาก https://research.kpru.ac.th/research2/pages/filere/26562018-05-16.pdf

พรพิมล ศักดา และบวร เครือรัตน์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภทของใช้จากวัสดุธรรมชาติของกลุ่มอาชีพเสริมบ้านสุขเกษม ตำบลบางเลน อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม (รายงานผลการวิจัย). นครปฐม: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2021

How to Cite

1.
เสวีพงศ์ ก, ดำนวล ศ, เทพสุริวงค์ ส. การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชือกกล้วยสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน พื้นที่ตำบลบ้านขาว อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 มิถุนายน 2021 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];1(1):99-109. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3156