การศึกษาปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ Shopee ของลูกค้า ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • จิตรกัญญา ศรีสนิท
  • สมหมาย เสถียรธรรมวิทย์
  • พิศมัย บุณยโสภณ
  • ธัญรดา สาคำไมย

คำสำคัญ:

ปัจจัยทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ออนไลน์

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทาง
เว็บไซต์ Shopee ของลูกค้าในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ Shopee ของลูกค้าในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากการใช้สูตร (Taro Yamane) ในการคำนวณหา ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ) ทดสอบค่าสถิติt – test ใช้สถิติทดสอบ F-test วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way – ANOVA) กรณีพบความแปรปรวนมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทำการทดสอบรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ (Scheffe)
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าเว็บไซต์ Shopee ของลูกค้าในเขต
สัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการยอมรับทางเทคโนโลยี ด้านการให้บริการส่วนบุคคล ด้านผลิตภัณฑ์ด้านความปลอดภัย ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านการกำหนดราคา ด้านการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่าย ผลการเปรียบเทียบปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ Shopee ของลูกค้าในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล พบว่า ลูกค้าที่มีเพศ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าในทุกด้านไม่แตกต่างกัน แต่กลับพบว่า ลูกค้าที่มีอายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านการเข้าถึงช่องทางการจัดจำหน่ายแตกต่างกัน อีกทั้งพบว่า ลูกค้าที่มีสถานภาพต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าในด้านการยอมรับทางเทคโนโลยีต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

สำนักพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ รวบรวมโดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2560). การปรับตัวของ SME. เพื่อรับมือกับการแข่งขันในยุคค้าปลีกออนไลน์ 4.0.

ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา. (2562). สรุปภาพรวม E – Commerce ปี 2019. สืบค้นจาก https://techsauce.co/news/priceza-e-commerce-2020-trends

อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธานินทร์ศิลป์จารุ. (2553). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ(พิมพ์ครั้งที่ 11). นนทบุรี : บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้ง แมสโปรดัสก์ จำกัด.

จุฑารัตน์ เกียรติรัศมี. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อสินค้าผ่านทางแอปพลิเคชันออนไลน์ของผู้บริโภค ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อาร์มสตรอง และ ฟิลิป คอตเลอร์. (2555). หลักการตลาด. Marketing An Introduction. นันทสารี สุขโต และคณะ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า

ศุภชาต เอี่ยมรัตนกูล. (2557). หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เพียร์สัน แสงดาว.

ทวีศักดิ์ กาญจสุวรรณ. (2552). พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-commerce). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

เสาวลักษณ์ ชาญเชี่ยว. (2553). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ราชภัฏธนบุรี.

วุฒิ สุขเจริญ. (2555). พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพมหานคร : จี.พี. ไซเบอร์พริ้นท์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2021

How to Cite

1.
ศรีสนิท จ, เสถียรธรรมวิทย์ ส, บุณยโสภณ พ, สาคำไมย ธ. การศึกษาปัจจัยทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านทางเว็บไซต์ Shopee ของลูกค้า ในเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 มิถุนายน 2021 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];1(1):110-2. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3157