ผลของการใช้คีเฟอร์ร่วมกับเอนไซม์บางชนิดต่อการตกตะกอนโปรตีนนม ในกระบวนการผลิตมอซซาเรลล่าชีส

ผู้แต่ง

  • สุวัฒน์ เนตรเจริญ
  • วรัญญา เฮงเจริญ
  • นัฐวุฒิ วิเศษโสภา

คำสำคัญ:

มอซซาเรลล่าชีส, เอนไซม์, คีเฟอร์, การตกตะกอน, โปรตีนนม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยในครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาระยะเวลาที่เหมาะสมในการหมักหัวเชื้อคีเฟอร์ ที่สร้างกรดแลคติก 4 ระดับ ได้แก่ 0, 24, 48 และ 72 ชั่วโมง 2) เพื่อศึกษาปริมาณกรดแลคติกที่เหมาะสมในการตกตะกอนของโปรตีนนมจำนวน 4 ระดับ ได้แก่ ร้อยละ 2, 4, 6 และ 8 3) เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของเอนไซม์ที่เหมาะสมในการตกตะกอนโปรตีนนม ได้แก่ เอนไซม์โปรติเอส และเอนไซม์เรนนินชนิดละ 4 ระดับ ปริมาณร้อยละ 0.02, 0.04, 0.06 และ 0.08 และ 4) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของมอซซาเรลล่าชีสกับมอซซาเรลล่าชีสทางการค้าด้วยวิธีแบบทดสอบความแตกต่างอย่างง่าย โดยใช้ผู้ทดสอบทั่วไปจำนวน 40 คน ผลการวิจัยพบว่า การหมักคีเฟอร์เป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิห้อง มีปริมาณกรดแลคติกร้อยละ 0.77 มีค่าความเป็นกรด-ด่าง เท่ากับ 4.02 และน้ำนมเกิดการแยกชั้นของเวย์โปรตีนอย่างชัดเจนมีกลิ่นเปรี้ยวรุนแรง ส่วนการเติมกรดแลคติกปริมาณร้อยละ 8 นมเกิดการตกตะกอนได้ก้อนเคิร์ด สูงสุดเท่ากับ 132 กรัม และผลการศึกษาชนิดและปริมาณของเอนไซม์เรนนินและเอนไซม์โปรตีเอสร่วมกับกรดแลคติกในปริมาณร้อยละ 0.6 ให้น้ำหนักมอซซาเรลล่าชีสสูงที่สุด เท่ากับ 92.33 กรัมต่อน้ำนมดิบ 1 ลิตรมีเปอร์เซ็นต์ yield เท่ากับ 9.23 เปอร์เซ็นต์ สำหรับผลการเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างมอซซาเรลล่าชีสกับมอซซาเรลล่าชีสทางการค้า พบว่า คุณลักษณะโดยรวมของผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ α = 0.05 ผู้ทดสอบไม่สามารถแยกความแตกต่างได้ จึงสามารถนำเอากรรมวิธีการผลิตมอซซาเรลล่าชีสมาใช้ผลิตในเชิงพานิชย์ได้

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2560). ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 209) พ.ศ 2543 เรื่อง เนยแข็ง. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก http://food.fda.moph.go.th/Rules/dataRules/600914_17type.pdf

จิรณัฐ ยูซูฟี, และภูริชญ์ บรรจบ. (2551). การศึกษาคุณสมบัติของเอนไซม์ที่ทำให้น้ำนมแข็งตัว. ปริญญาเภสัชศาสตรบัณฑิต. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปิยวรรณ ศุภวิทิตพัฒนา. (2555). เทคโนโลยีนมและผลิตภัณฑ์. [ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์]. สืบค้นจาก http://elearning.psru.ac.th/courses/104/บทที่%2012/29_บทที่%2012.pdf

ศานต์ เศรษฐชัยมงคล, และอัญชิสา กุลทวีสุข. (2561). นมเปรี้ยวคีเฟอร์ :เทคโนโลยีชีวภาพจากมุมมองวิทยาการด้านโอมิกส. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร, ปีที่ 13 (ฉบับที่ 1) มหาวิทยาลัยสยาม.

ศศิธร นนทา, สมพงศ โอทอง, และนุชนาถ แชมชอย . (2559). ผลผลิตกรดแลคติกจากการหมักเศษผลไม้. วารสาร มฉก1 วิชาการ., ปีที่ 20(ฉบับที่ 39) มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ.

สถาบันอาหาร. (2560). ตลาดชีสในประเทศไทย. ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร.[เว็บบล็อก]. สืบค้นจาก http://fic.nfi.or.th/MarketOverviewDomesticDetail.php?id=134

สามารถ สายอุต. (2561). การประยุกต์เอนไซม์สำหรับอุตสาหกรรมอาหารกลุ่มโปรตีน. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, ปีที่ 23 (ฉบับที่ 3), คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

สุรัตน์ วังพิกุล, วิรัชนีย์ แก่นแสนดี, สมพร มูลมั่งมี, ปริยาภรณ์ อิศรานุวัฒน์. (2558). การพัฒนาและเพิ่มศักยภาพผลิตภัณฑ์โยเกิร์ตน้านมข้าวโพดด้วยโปรไบโอติกแลคติกแอสิดแบคทีเรีย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.

Breene, W.M., Price, W.V., and Ernstrom, C.A. (1964). Manufacture of pizza cheese without starter. J. Dairy Sci. 47: 1173-1180.

Kosikowski, F.V., and Mistry, V.V. (1997). Cheese and Fermented Milk Foods. vols. 1-2. (3rded.). F.V. Kowsikowski, LLC. Westport.

Stiles, M.E,.and Holzapfel, W.H., 1997. Lactic acid bacteria of Food and their CurrentTaxonomy. Internationnal Journal of Food Microbiology. 36:1- 29.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-06-2021

How to Cite

1.
เนตรเจริญ ส, เฮงเจริญ ว, วิเศษโสภา น. ผลของการใช้คีเฟอร์ร่วมกับเอนไซม์บางชนิดต่อการตกตะกอนโปรตีนนม ในกระบวนการผลิตมอซซาเรลล่าชีส. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 มิถุนายน 2021 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];1(1):120-31. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3158