การพัฒนาเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม
คำสำคัญ:
หอยนางรม, เครื่องบำบัดและกำจัดสิ่งปนเปื้อน, แบคทีเรียบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม 2) หาสมรรถนะของเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม 3) หาประสิทธิภาพของเครื่องล้าง และกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ต่อเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อน ในเนื้อหอยนางรม กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย หอยนางรมในบริเวณอ่าวบ้านดอน จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 ตัว โดยการการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และเกษตรกรเพาะเลี้ยงหอยนางรม จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 15 คน โดยการใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ผู้บริโภคหอยนางรมในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 15 คน โดยการเลือกแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกผลการทดลองและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย (Mean : X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลจากการวิจัย พบว่า การพัฒนาเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรมจากเครื่องต้นแบบ โดยออกแบบและพัฒนาโครงสร้าง นำไปใช้งานจําหน่ายหอยนางรมสดริมทาง (Street Food) สำหรับล้าง หอยนางรมครั้งละ 200 ตัว มีระบบสเปรย์น้ำเพื่อล้างทำความสะอาดขณะหอยนางรมอ้าปาก ส่วนหลังคา ออกแบบให้มีโซล่ารูฟท็อปแบบอ่อนตัวขนาด 150 Watt สำหรับเป็นต้นพลังงานและที่สำคัญน้ำที่ผ่านการใช้งาน ยังสามารถบำบัดน้ำนำกลับมาใช้ใหม่โดยกระบวนการทำงานแบบอัตโนมัติ เมื่อทดลองหาสมรรถนะของเครื่องล้าง และกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม พบว่าปริมาณแบคทีเรียทั้งหมดในหอยนางรมก่อนล้างเท่ากับ 19,000 CFU/g และหลังล้างเท่ากับ 7,600 CFU/g โดยมีปริมาณเชื้อโรคหลังล้างลดลงกว่าก่อนล้างร้อยละ 60 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย ประสิทธิภาพของเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรม สูงกว่าเครื่องล้างและกำจัดสิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรมเครื่องต้นแบบ ทุกรายการ โดยหลังล้างหอยนางรม พบว่ามีเชื้อวิบรีโอน้อยกว่า ร้อยละ 87.34 ส่วนเชื้อ Escherichia coli น้อยกว่า 51.14 และมีเชื้อ Fecal coliform น้อยกว่า 70.94 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย และผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจต่อ เครื่องล้างและกำจัด สิ่งปนเปื้อนในเนื้อหอยนางรมรวมในระดับมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานการวิจัย
References
สุรชาติ วิชัยดิษฐ์. (2559). การประเมินความเสี่ยงของหอยนางรมจากแหล่งเลี้ยงในอ่าวบ้านดอน อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ วท.ม. การจัดการเทคโนโลยีอุตสาหกรรมเกษตร), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.
อนันต์ ตันสุตะพานิช. (2551), การออกแบบเครื่องมือกลเพื่อบำบัดน้ำและเลน ลดการใช้พลังงานและสารเคมี ในฟาร์มหมุนเวียนน้ำระบบปิด, กองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง: กรมประมง.
พงษ์เทพ วิไลพันธ์, อรษา สุดเธียรกุล, มณีย์ กรรณรงค์, ธีรยา สรรพวรพงษ์, ประทุมวัลย์ เจริญพร, ดาวริน สุขเกษม. (2556). หอยนางรมปลอดภัย สถานการณ์และแนวทางบริหารจัดการตลอดห่วงโซ่ การผลิต กรณีศึกษาจังหวัดสุราษฎร์ธานี (รายงานผลการวิจัย), สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย, กรุงเทพฯ : บริษัท ซีโน พับลิชชิ่ง แอนด์ แพคเกจจิ้ง จำกัด.
ลดาพรรณ แสงคล้าย, ดวงดาว วงศ์สมมาตร์, อารุณี ศรพรหม, สมภพ วัฒนมณ, มัณฑนา พันธ์บัวหลวง รัชฎาพร สุวรรณรัตน. (2560). เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2560), กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: โรงพิมพ์บริษัทพีทู ดีไซน์ แอนด์ พริ้นท์ จำกัด.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.