การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT สำหรับนักศึกษาที่ออกฝึกงานในสถานประกอบการ

ผู้แต่ง

  • ขรรค์ชัย กาละสงค์
  • ธีระ นัคราบัณฑิตย์
  • บวรศักดิ์ คงเสน

คำสำคัญ:

ชุดฝึกอบรม, การหยั่งรู้ระวังภัยแบบ KYT, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ดัชนีประสิทธิผล, ความคิดเห็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนมวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT 2) เพื่อหาคุณภาพ ชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาก่อนทำ กิจกรรมและหลังทำกิจกรรมจากการใช้ชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT 4) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผล การเรียนรู้ ด้วยชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT และ 5) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ การสร้างชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT จำนวน 5 คน และกลุ่มนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาเทคนิคการผลิต วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินคุณภาพชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT แบบทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT และแบบประเมินความคิดเห็นของนักศึกษา ที่มีต่อชุดฝึกอบรม เรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.726 สถิติที่ใช้ในงานวิจัยคือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน ค่าที (t - test) และดัชนีประสิทธิผล (Ε.Ι.) ผลวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ ตามแบบประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา หลังทำกิจกรรม โดยใช้ชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัยแบบ KYT นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ดัชนีประสิทธิผลการเรียนรู้ ด้วยชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT มีค่าเท่ากับ 0.75 และ 4) ความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT อยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุด

References

วิทยาลัยการอาชีพพระสมุทรเจดีย์. (2561), หลักการฝึกงาน, สืบค้น 20 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก http://prasamutjd.webs.com/a3.html.

ดร. ชัยยุทธ ชวลิตนิธิกุล. (2552). อุบัติเหตุเป็น 0 โดย KYT. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2563, สืบค้นจาก http://www.jorpor.com/D/KYT.pdf. [3] ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2544), เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคระ เทพเนรมิตการพิมพ์.

สุวิมล ติรกานันท์. (2548). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคม : แนวทางสู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย5(1), 7 - 19. สืบค้นจาก https://s005.tcithaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/ download/28419/24439/

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สุวิริยาสาส์น.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2549), ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์, พิมพ์ครั้งที่ 9 กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550), เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย, นนทบุรี : บริษัท ไทยเนรมิตกิจอินเตอร์ โปรเกรสซีฟ จำกัด.

สายชล สังข์เงิน. (2557). แนวทางการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรม KYT สำหรับพนักงานโฟล์คลิฟท์ กรณีศึกษา บริษัท เอ็น วาย เค โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด. สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, สืบค้นจาก https://eoffice.chonburi.spu.ac.th/spuc-knowledge/sub_km_community_list.php?ref=&kb_id=4118cm_id=0&scm_id=80&page=.

โชคชัย อลงกรณ์ทักษิณ, (2560), การพัฒนาชุดฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยสำหรับผู้ให้สัญญาณจราจร สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, สืบค้นจาก https://s006.tcithaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/ article/view/85220.

ธรรมรักษ์ ศรีมารุต. (2555) พฤติกรรมความปลอดภัยในการปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการฝ่ายผลิต สืบค้น 15 สิงหาคม 2563, จาก http://www.ssruir.ssru.ac.th/handle/ssruir/776.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2021

How to Cite

1.
กาละสงค์ ข, นัคราบัณฑิตย์ ธ, คงเสน บ. การพัฒนาชุดฝึกอบรมเรื่องการหยั่งรู้ระวังภัย แบบ KYT สำหรับนักศึกษาที่ออกฝึกงานในสถานประกอบการ. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2021 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];1(2):61-72. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3203