การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

ผู้แต่ง

  • สุธิสา ชูเชิด

คำสำคัญ:

การสอนแบบเพื่อนช่วยเพื่อน, แบบฝึกทักษะ, ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะ

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับ ชุดฝึกทักษะสำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้าง ชุดฝึกทักษะและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะ รายวิชาวิทยาศาสตร์ 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังจากใช้วิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนด้วยชุดฝึกทักษะรายวิชาวิทยาศาสตร์ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ รายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยกลุ่มเป้าหมาย ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 36 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดฝึกทักษะ วิชาวิทยาศาสตร์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 80.10/82.30 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้ ดังนั้น ชุดฝึกทักษะที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จึงมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดไว้ 2) คะแนน ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนที่มีการเสริมชุดฝึกทักษะ สูงกว่าก่อน เรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนที่มีคะแนนต่ำจำนวนทั้งสิ้น 18 คนมีผลการเรียนสูงขึ้น 18 คน คิดเป็นร้อยละ 100 และนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนต่ำ มีระดับผลการเรียนผ่านทุกคนและอยู่ในระดับดี 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนโดยใช้ชุดฝึกทักษะ ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ จำนวน 36 คน อยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{x} = 4.45)

References

อดุลย์ วังศรีคูณ. (2557), การศึกษาไทยในศตวรรษที่ 21. วารสารมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 8 (1), 1 - 17.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557), ความรู้เบื้องต้นสะเต็ม, กรุงเทพฯ : สถาบัน ส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561), รายงานการศึกษาไทย พ.ศ. 2561 สืบค้น 12 กรกฎาคม 2563 สืบค้นจาก https://pmnk.kkzone1.go.th/data/news3/24-02-2019-17-34-35 1344028011.pdf

สุรินทร์ แก้วมณี (2562). รายงานการวิเคราะห์ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านอาชีวศึกษา (V-NET) ระดับ ปวช.3 ปีการศึกษา 2562 กรณีศึกษากลุ่มจังหวัดภาคใต้ฝั่งอ่าวไทย สืบค้น 12 กรกฎาคม 2563 สืบค้นจาก http://www.reo5.moe.go.th/web/index.php/2010-07-23-05-43-57/174--2563/883-v-net-2562

ประนอม ตอนแก้ว. (2550). การใช้กลวิธีการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนาทักษะการค้นคว้า แบบอิสระ (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย), มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

ฉลอง ไตรแสง. (2554). การเปรียบเทียบผลการจัดการเรียนรู้วิชาเขียนแบบเรื่องการเขียนภาพไอโซเมตริก และภาพออบลึกของนักเรียน ม.3 โดยการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนกับแบบปกติ, วารสารวิจัย มสด. สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 177 - 187. สืบค้น 12 กรกฎาคม 2563 จาก http://www.rdi.rmutsb.ac.th/ 2011/digipro/002/proceedings/4-สาขาสังคมศาสตร์%20มนุษยศาสตร์และวิจัยสถาบัน/32. ทัศนีย์นารถ%20779-788.pdf

พงค์เทพ นันตาบุญ. (2556). การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อพัฒนากระบวนการคิด เรื่องการแก้โจทย์สมการ สืบค้น 6 กันยายน 2563 สืบค้นจาก https://academic.prc.ac.th/TeacherResearch/ ResearchDetail.php?ID=1241.

ณพัฐอร บัวฉุน และ สุพัตรา ถนอมวงษ์. (2559), การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะ เรื่อง แรงและการเคลื่อนที่ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม - สิงหาคม 2559). 157 - 166. สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2564 สืบค้นจาก https://s006. tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/65802/54332

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

Witkin, H.A. Moorre, C.A. Goodenough. D.R.< & Cox, P.W. (1997). Field-dependent and field- independent cognitive styles and their education implications. Review of Educational Research, 47,1-64.

นิภา อินทรเกษตร. (2550), การพัฒนาแบบฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานสำหรับ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน), นครสวรรค์: มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครสวรรค์, สืบค้น 16 พฤศจิกายน 2564 จาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi listDetail? Resolve DOI 10.14457/NSRU.the.2007.5.

Bandura, A., Cognitive Processes Mediating Behavioral Change. Journal of Personality and Social Psychology, 35, 125-139.

Kohn, J.J., &Vajda, P.G. Peer-mediated instruction and small group interaction In the ESL classroom.TESOL Quarterly, 4(9), 379-390.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

27-12-2021

How to Cite

1.
ชูเชิด ส. การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาวิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกับชุดฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 27 ธันวาคม 2021 [อ้างถึง 15 เมษายน 2025];1(2):73-84. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3204