กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

ผู้แต่ง

  • มนัสฌาน์ ชูเชิด

คำสำคัญ:

กระบวนการพัฒนาสมรรถนะ, สมรรถนะของผู้เรียน, คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 2) เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 3) เพื่อพัฒนากระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ และ 4) เพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียน วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการ จัดการเรียนการสอนอาชีวศึกษา จำนวน 21 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการอาชีวศึกษา จำนวน 11 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จำนวน 88 คน ผู้ปกครอง จำนวน 86 คน และผู้บริหารสถานประกอบการ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามปลายปิด (แบบมาตรประมาณค่า) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าดัชนีความสอดคล้อง ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้มีคุณลักษณะ ที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 6 ด้าน 2) การสร้างกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษา สงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 จำนวน 4 ด้าน และมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.95 จำนวน 1 ด้าน และเท่ากับ 0.91 จำนวน 1 ด้าน 3) การพัฒนากระบวนการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกด้าน และ 4) ผลสัมฤทธิ์ของกระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ประกอบด้วย 1. ด้านความรู้ 2. ด้านทักษะและการประยุกต์ใช้ 3. ด้านคุณธรรม จริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ มีคุณภาพการศึกษาอยู่ในระดับดีถึงยอดเยี่ยม ในขณะที่ความพึงพอใจ ของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และผู้บริหารสถานประกอบการ ที่มีต่อกระบวนการพัฒนา สมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงาน เลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2551). พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

บุญชม ศรีสะอาด และคณะ. (2544). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 11. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

งานประกันคุณภาพมาตรฐานการศึกษา, วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา. (2562). รายงานการประเมินตนเอง ปีการศึกษา 2562. สงขลา : วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา.

ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.

สมพร วงศ์วิธูน. (2555). การบริหารงานแนะแนว โดยใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ของโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงราย เขต 2. พะเยา : สาขาวิชาการบริหาร การศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

กรมวิชาการ. (2545). การวิจัยเพื่อการพัฒนาการเรียนรู้ตามหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.

ทิศนา แขมมณี. (2560). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เขาวกีรติพงศ์. (2559). การพัฒนาแผนกลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพ. การศึกษา สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ (สทมส.). 22(1) มกราคม-เมษายน : 41-56.

สิริวิชญ์ ธนเศรษฐวงศ์. (2564). กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิค สุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1. 6(2) กรกฎาคม-ธันวาคม : 23-33.

สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2551). มุ่งสู่คุณภาพการศึกษา. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). เข้าใจสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับประชาชน และเข้าใจหลักสูตร ฐานสมรรถนะอย่างง่าย ๆ ฉบับครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ : 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ. (2547). Competency : เครื่องมือการบริหารที่ปฏิเสธไม่ได้. Productivity. 9(53) พฤศจิกายน-ธันวาคม : 44-48.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2022

How to Cite

1.
ชูเชิด ม. กระบวนการพัฒนาสมรรถนะของผู้เรียนวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 6 ธันวาคม 2022 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];2(2):17-30. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3226