การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี “สแก๊ฟโฟลดิง” เพื่อสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนสงขลา

ผู้แต่ง

  • ดารารัตน์ บางพระ
  • ยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์

คำสำคัญ:

การคิดริเริ่ม, สแก๊ฟโฟลดิ้ง, เครื่องมือจำลองธุรกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเสริมการคิดเชิงสร้างสรรค์ โดยการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี “สแก๊ฟโฟลดิง” สำหรับนักศึกษา ระดับอนุปริญญา กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนสงขลา ชั้นปีที่ 1 ที่ลงทะเบียนรายวิชาพื้นฐาน การประกอบธุรกิจ จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากเป็นห้องเรียนเดียวสำหรับสาขาการจัดการ ที่เปิดสอนตามข้อกำหนด ของสถาบันวิทยาลัยชุมชน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การเปรียบเทียบผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษา ระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ จากการศึกษาเครื่องมือจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่สร้างขึ้นตามทฤษฎีการคิดเชิงสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด กับเกณฑ์ร้อยละ 70 เปรียบเทียบ ผลการประเมินความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ พบว่า การประเมิน ความคิดสร้างสรรค์ ในส่วนของความคิดริเริ่ม จากการศึกษาเครื่องมือจำลองที่ใช้ในการวิเคราะห์ธุรกิจ โดยใช้เกณฑ์ การประเมินที่สร้างขึ้น ตามทฤษฎีการคิดเชิงสร้างสรรค์ของกิลฟอร์ด ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ สูงกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

References

เบญจกาญจน์ รุ่งโรจน์วณิชย์. (2559). การทูตพหุภาคีของประเทศไทยในกรอบ 677 กับแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง ระหว่างมกราคม-ธันวาคม ค.ศ. 2016. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานครฯ.

กรมวิชาการ. (2544). ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ

ทิศนา แขมมณี. (2554). ทักษะการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์และการคิดอย่างมีวิจารณญาณ : การบูรณาการในการจัดการเรียนรู้. วารสารราชบัณฑิตยสถาน. 188-204.

นพมาศ ปลัดกอง. (2561). เทคนิคนั่งร้านเสริมเรียนรู้ : องค์ความรู้และการประยุกต์ใช้กับบริบทอุดมศึกษาไทย. สมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามกุราชกุมารี ปีที่ 26 ฉบับที่ 1, 117-128. กรุงเทพมหานครฯ.

สริตา บัวเขียว. (2559). Scofolding...ช่วยเสริมสร้างการพัฒนาการเรียนรู้อย่างไร. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์ 18(1), 1-15.

สถาบันวิทยาลัยชุมชน. (2563). รายงานการจัดการเรียนการสอนประจำปีการศึกษา 2560-2562. สืบค้น เมื่อ 5/1/2563 จาก www.bc.ca.go.th

สถาบันวิทยาลัยชุมชน (2563). พระราชบัญญัติสถาบันวิทยาลัยชุมชน. สืบค้นเมื่อ 5/1/2563 จาก www.bcca.go.th

Guilford, J.P. (1967). The Nature of Human Intelligence. New York: McGraw-Hill Book Co.

อรพรรณ์ แก้วกันหา, จุฑามาส ศรีจำนงค์ และจุรีรัตน์ ประวาลลัญฉกร. (2560) การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนา ความคิดสร้างสรรค์ รายวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านน้ำคิว สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1. Journal of Education Naresuan University. Vol.19(2) April June, 289-304.

สมนึก ภัททิยธนี. (2544). การวัดผลการศึกษา. ประสานการพิมพ์. กาฬสินธุ์

ปาริชาติ ผาสุก. (2559). การพัฒนาการแก้ปัญหาแบบร่วมมือ เรื่อง ระบบย่อยอาหาร ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามแบบ DEEPER Scaffolding Framework. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชัยวัฒน์ บวรวัฒนเศรษฐ์. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีเสริมต่อการเรียนรู้. วารสารแพรวากาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์, 3(2) : 154-179.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-12-2022

How to Cite

1.
บางพระ ด, ศรีสวัสดิ์ ย. การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธี “สแก๊ฟโฟลดิง” เพื่อสร้างเสริมความคิดสร้างสรรค์ ของนักศึกษาระดับอนุปริญญา สาขาการจัดการ วิทยาลัยชุมชนสงขลา. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 6 ธันวาคม 2022 [อ้างถึง 5 กรกฎาคม 2025];2(2):31-40. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3228