กลยุทธ์การบริหารการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร, วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรีบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการสภาพแวดล้อมภายในภายนอก และสภาพการบริหาร การขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี 2) เพื่อพัฒนากลยุทธ์ การบริหารการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร 3) เพื่อประเมินกลยุทธ์การบริหาร การขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร ผู้วิจัยได้การศึกษาสภาพ แนวทาง และปัจจัย ที่เกี่ยวข้อง จากผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 16 คน และสัมภาษณ์แนวการบริหารการขยายโอกาส ทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน รวมทั้งผลการวิเคราะห์ SWOT ตรวจสอบกลยุทธ์โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ทดลองใช้กับผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน และผู้เรียน วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรี และประเมินกลยุทธ์โดยผู้ใช้กลยุทธ์และผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 34 คน วิเคราะห์ข้อมูล ด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การบริหารการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร วิทยาลัยสารพัดช่างลพบุรีที่พัฒนาขึ้นมี 7 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ส่งเสริมการบริหารการขยายโอกาสทางการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร 2) พัฒนาโครงสร้างและกลไกการกลยุทธ์การขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร 3) สร้างเครือข่ายความร่วมมือการขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพกับชุมชนและหน่วยงานภายนอกสถานศึกษา 4) เสริมสร้างความสามารถของผู้เรียนในการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสู่มาตรฐานสากล 5) พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาและการใช้ทักษะชีวิต 6) พัฒนาระบบและกลไกการติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานโดยใช้กลยุทธ์การขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร และ 7) เร่งรัดให้มีการปรับปรุงและพัฒนาผลการดำเนินงานโดยใช้กลยุทธ์การขยายโอกาสการศึกษาวิชาชีพด้วยเครือข่ายพันธมิตร ผลการทดลองใช้กลยุทธ์ พบว่า ความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก ความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการใช้กลยุทธ์มีค่าเฉลี่ย สูงกว่าค่าเฉลี่ยก่อนการใช้กลยุทธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินพบว่า กลยุทธ์ส่วนใหญ่มีความสอดคล้องในระดับมากที่สุด ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในระดับมาก และความเป็นประโยชน์ในระดับมากที่สุด
References
อภิสิทธิ์ กฤษเจริญ. (2554). รูปแบบการพัฒนาสถานศึกษาขึ้นพื้นฐานคาทอลิก สังกัดสังฆมณฑลในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้. (ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
พลสัณห์ โพธิ์ศรีทอง. (2555). ประสิทธิภาพของการสอนและการพัฒนาครูในศตวรรษใหม่. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวาน กราฟฟิคจำกัด.
สันติ บุญภิรมย์. (2553). การบริหารงานวิชาการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.
รุ่ง แก้วแดง. (2549). โรงเรียนนิติบุคคล. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565 จาก http://www.onec.go.th/onecmain/
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
จิรวิทย์ มั่นคงวัฒนะ. (2555). การบริหารงานวิชาการ. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/344746
สุนีย์ ชัยสุขสังข์. (2557). กลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนทางเลือก. ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จารุณี ไกรแก้ว. (2557). การจัดทำแผนกลยุทธ์. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2558
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี : ธิงค์ บียอนด์บุ๊คส์.
เรวัตร์ ชาตรีวิศิษฎ์. (2553). การจัดการเชิงกลยุทธ์. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : ถังทรัพย์การพิมพ์.
จิรวัฒน์ โคตรสมบัติ. (2556). สมรรถนะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://sites.google.com/site/mrjis
สคราญ วิเศษสมบัติ. (2558). การพัฒนาผู้เรียน. ค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2565, จาก https://www.gotoknow.org/posts/519752
สงวน หอกคำ. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาการประกันคุณภาพภายในของวิทยาลัยเทคนิคในกลุ่มภาคเหนือ ตอนล่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.