ผลของแป้งมันเทศสีส้มต่อคุณภาพแพนเค้กญี่ปุ่นแช่เยือกแข็ง
คำสำคัญ:
แป้ง, มันเทศสีส้ม, แพนเค้กญี่ปุ่น, แช่เยือกแข็งบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของแป้งมันเทศสีส้มต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์แพนเค้กญี่ปุ่น แช่เยือกแข็ง ทำการทดลองโดยการใช้แป้งมันเทศสีส้มที่แตกต่างกัน ได้แก่ ร้อยละ 0, 25, 50, 75 และ 100 ของปริมาณแป้งทั้งหมด จากนั้น นำผลิตภัณฑ์ที่ได้มาทำการทดสอบคุณภาพทางกายภาพ ได้แก่ การขึ้นฟู และความคงตัวของแพนเค้ก และประเมินคุณภาพทางประสาทสัมผัสด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ เนื้อ สัมผัส และความขอบโดยรวม ด้วยวิธีให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ พบว่า ปริมาณแป้งมันเทศสีส้มที่ร้อยละ 25 ลักษณะของแพนเค้กญี่ปุ่นมีสีเหลือง มีกลิ่นมันเทศสีส้มเล็กน้อย และมีปริมาณแป้งมันเทศสีส้มที่พอดี มีค่าการขึ้นฟู ร้อยละ 113.75±1.25 และความคงตัวเท่ากับร้อยละ 97.80±0.03 และผู้ทดสอบชิมให้คะแนนความชอบสูงที่สุด ในด้านลักษณะปรากฏ 8.27±0.87 สี 8.30±0.75 กลิ่น 8.30±0.79 รสชาติ 8.37±0.72 เนื้อสัมผัส 8.47±0.68 และความชอบโดยรวม 8.50±0.51 ตามลำดับ จากนั้น นำแพนเค้กญี่ปุ่นที่มีการใช้แป้งมันเทศสีส้มร้อยละ 25 มาทำการแช่เยือกแข็งที่อุณหภูมิ -18 องศาเซลเซียส นาน 24 ชั่วโมง ทำการศึกษาผลของระยะเวลาในการ ให้ความร้อนโดยใช้ไมโครเวฟ ต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์แพนเค้กญี่ปุ่นจากแป้งมันเทศสีส้ม โดยให้ความร้อน ระดับ 650 วัตต์ ที่ระยะเวลาแตกต่างกัน 3 ระดับ ได้แก่ 1, 2 และ 3 นาที ทำการทดสอบคุณภาพทางประสาทสัมผัส ในด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม ด้วยวิธีให้คะแนนความชอบ 9 ระดับ โดยใช้ผู้ทดสอบซิม ที่ไม่ผ่านการฝึกฝน จำนวน 30 คน จากการศึกษา ระยะเวลาในการให้ความร้อนโดยใช้ไมโครเวฟ ต่อกระบวนการ คืนรูปผลิตภัณฑ์แพนเค้กจากแป้งมันเทศสีส้ม พบว่า การให้ความร้อนที่ระยะเวลานาน 2 นาที ทำให้แพนเค้กญี่ปุ่น ที่ได้มีความนุ่มฟูมากที่สุด ส่งผลให้ได้รับคะแนนความชอบมากที่สุดในทุกปัจจัย โดยมีคะแนนความชอบ ด้านลักษณะปรากฏ เนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมเท่ากับ 8.67±0.55, 8.73±0.45 และ 8.70±0.53 ตามลำดับ
References
Greene, J.L. and Bovell-Benjamin, A.C. (2004). Macroscopic and Sensory Evaluation of Bread Supplemented with Sweet-potato Flour. Journal of Food Science, 69(4) : 167-173.
โตมร ศุขปรีชา. (2561). ความแบนของแพนเค้ก ประวัติศาสตร์สงครามความอร่อย จากยุโรปถึงอเมริกา และล่าสุดคือแพนเค้กฟู ๆ จากญี่ปุ่น, The momentum. สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2563 https://themomentum.co/morning-after-history-of-pancake/.
ณรงค์ แดงเปี่ยม. (2558). รายงานโครงการวิจัย วิจัยและพัฒนาการผลิตมันเทศ. กรมวิชาเกษตร. น.4.
Sukboonyasatit, D., Ruangsak, B., Srithong, W. and Cheungkuntod, S. (2017). Effect of sweet potato flour as wheat flour substitution on the characteristics of cookies. Khon Kaen Agriculture journal (supplement). 45(1) : 1060-1065.
นรินทร์ เจริญพันธ์. (2561). การพัฒนาผลิตภัณฑ์คุกกี้จากมันเทศ. ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยบูรพา วิทยาเขตสระแก้ว. สระแก้ว. วารสารเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยสยาม ปีที่ 13 ฉบับที่ 1.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.