เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศด้วยระบบ UVGI ที่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องปรับอากาศ

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร อิ่นคำ
  • ปิติ นันทขว้าง
  • สมศักดิ์ แข็งแรง

คำสำคัญ:

เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศ, ระบบ UVGI, เชื้อโรค

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ เพื่อศึกษาการออกแบบอุปกรณ์ช่วยฆ่าเชื้อโรคร่วมกับเครื่องปรับอากาศ ด้วยระบบ Ultraviolet Germicidal Irradiation (UVGI) โดยใช้แสง UVC และการทดสอบประสิทธิภาพ ของหลอด UVC ขนาด 6 W การศึกษาในครั้งนี้ มีวิธีการดำเนินงานโดยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลการออกแบบ และสร้างอุปกรณ์ช่วยฆ่าเชื้อโรคในอากาศจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อของแสง UVC เครื่องทดสอบความเข้มของแสง UVC UV Light Meter รุ่น YK-37UVSD และการทดสอบความสามารถ ในการฆ่าเชื้อของแสง UVC ด้วยวิธีการ Swap Test สถานที่ทดสอบ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่ เป็นการทดสอบไข้และไม่ใช้แสง UVC ในเครื่องทดสอบ เป็นเวลา 72 ชั่วโมง ผลของการวิจัย พบว่า โครงสร้างของอุปกรณ์ช่วยฆ่าเชื้อเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อ มีความยาวภายนอก 1.2 m ออกแบบโครงสร้างภายในให้มีความยาวของช่องระยะการไหลของอากาศในอุปกรณ์โดยทำให้เป็นขดขึ้นลง มีระยะการไหลของอากาศที่มีความยาว 1.7 m เพื่อเพิ่มระยะเวลาของอากาศที่ไหลสัมผัสกับแสง UVC ได้นานขึ้น ที่อัตราการไหลของอากาศ 3 m/s ส่งผลทำให้ประสิทธภาพการฆ่าเชื้อในอากาศได้ดี การทดสอบหลอดไฟ UVC ที่มีขนาดกำลังไฟ 6 W มีความยาวของหลอด 30 cm ที่สามารถหาซื้อได้ตามท้องตลาด นำมาทดสอบ หาค่าความเข้มของคลื่นแต่ละหลอดเท่ากับ 0.381 mW/cm2 (3.81 W/m2) มีความสามารถในการฆ่าเชื้อ ในอากาศ คือ ค่า UV dose 3.81 J/m2 สามารถกำจัดเชื้อไวรัส ในอากาศที่อยู่ในอุปกรณ์ได้ ผลการทดสอบ ประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อโดยวิธีการ Swab Test พบว่า ประมาณของเชื้อโรคลดลง 23% หลังจากเครื่องทดสอบ กรองอากาศทำงาน 72 ชั่วโมง งานวิจัยชิ้นนี้ การออกแบบเครื่องต้นแบบมีต้นทุนราคาต่ำ อุปกรณ์ราคาถูก สามารถปรับปรุงคุณภาพอากาศ ภายในอุปกรณ์สามารถลดการเจริญเติบโตของเชื้อราและความชื้นสัมพัทธ์ ซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโต ของเชื้อรา และลดความเสี่ยงการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสหรือเป็นโรคอุบัติใหม่มีการกลายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ส่งผลต่อระบบทางเดินหายใจ

References

จริยา แลงสัจจาและคณะ. (2550). คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายในอาคารสถานพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

PI, S., SENG-LIBI, L. R., & XAO-PING, D. O. N. G. (2003). Stability of SARS coronavirus in human specimens and environment and its sensitivity to heating and UV irradiation. Biomed. Environ. Sci, 16, 246-255.

Al-Rawi, M., Lazonby, A., & Smith, C. (2022). Prototyping a low-cost residential air quality device using ultraviolet germicidal irradiation (UVGI) light. HardwareX, 11, e00251.

Luo, H., & Zhong, L. (2021). Ultraviolet germicidal irradiation (UVGI) for in-duct airborne bioaerosol disinfection: Review and analysis of design factors. Building and environment, 197, 107852.

คณะกรรมการ COVID 19 ราชวิทยาลัยรังสีแพทย์แห่งประเทศไทยและรังสีวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทย. (2020). Ultraviolet Germicidal Irradiation.

สุนทร ธีรพัฒนพงศ์, เยาวเรศ ก้านมะลิ, จารุพล ตวงศิริทรัพย์, วีรยุทธ์ ภูมุลเมือง, นิกรเดช พรรณา และอรุณี พัวโสพิศ. (2022). แสงสีฟ้าเคลื่อนที่ UV-C ฆ่าเชื้อโรค. วารสารวิชาการทางการพยาบาล และ วิทยาศาสตร์สุขภาพ, 2(2), 81-88.

D.T. Stevens, P. Francisco, S.J. Emmerich, D.A. Baylon, T.M. Brennan, R.R. Crawford, D.C. Delaquila, L.L., Delaura, S.C. Drumheller, P.W. Fairey, D.H. Heberer, RL. Hedrick, T.P. Heidel, M.C. Jackson, D.E. Jacobs, G.P. Langan, J.W. Lstiburek, J. Malone, S.I. Mason, J.C. Moore, A.B. Musser, J.P. Proctor, P.H. Raymer, M.H. Sherman, I.S Walker, E.D. Werling, C.S. Barnaby, ASHRAE 62.1 Ventilation and Acceptable Indoor Air Quality, 2019, p. 58, 2019.

S.E. Beck, R.A. Rodriguez, M.A. Hawkins, T.M. Hargy, T.C. Larason, K.G. Linden. (2016). Comparison of UV-induced inactivation and RNA damage in MS2 phage across the germicidal UV spectrum, App Environ Microbiol 82 (2016) 1468-1474.

W. Kowalski. (2009). Ultraviolet Germicidal Irradiation Handbook.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

How to Cite

1.
อิ่นคำ เ, นันทขว้าง ป, แข็งแรง ส. เครื่องฆ่าเชื้อในอากาศด้วยระบบ UVGI ที่สามารถใช้ร่วมกับเครื่องปรับอากาศ. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];3(1):49-58. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3256