กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์ มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก
คำสำคัญ:
กลยุทธ์, การบริหารจัดการ, การคงสภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา ให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้น เอเชียแปซิฟิก 2) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์ มาตรฐาน การประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน และรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก และ 4) เพื่อประเมินกลยุทธ์ การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพ สถานศึกษาด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้เชี่ยวชาญ ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา ตามมาตรฐานการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก จำนวน 15 คน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 11 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครูผู้สอน จำนวน 88 คน และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสนทนากลุ่ม และแบบสอบถาม ผลการวิจัยพบว่า 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการ ประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก ประกอบด้วย 6 ด้าน 2) การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน และรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 จำนวน 4 ด้าน และมีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.93 จํานวน 1 ด้าน และเท่ากับ 0.87 จำนวน 1 ด้าน 3) การพัฒนากลยุทธ์ การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก มีค่าดัชนี ความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 1.00 ทุกด้าน และ 4) ความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ที่มีต่อการใช้กลยุทธ์การบริหารจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลาให้คงสภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน และรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
References
กันยารัตน์ จันทร์สว่าง และสุภาวดี พรหมบุตร. (2562). ทุนมนุษย์กับการเปลี่ยนแปลง : กระบวนทัศน์ใหม่ ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์. วารสารวิทยาการจัดการ. 6 (2), 209-222.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2559). คู่มือการประเมินและรับรองคุณภาพสถานศึกษา ด้านการอาชีวศึกษา ระดับภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพฯ : สุวิริยาสาส์น.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. นนทบุรี : บุ๊คพอยท์.
ประชุม รอดประเสริฐ. (2547). นโยบายและการวางแผน : หลักการและทฤษฎี, กรุงเทพฯ : เนติกุลการพิมพ์.
จิราภรณ์ จันทา, ธิดารัตน์ จันทะหิน และจิณณวัตร ปะโคทั้ง. (2564). กลยุทธ์การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารสันติศึกษา ปริทรรศน์ มจร. 9(5) กรกฎาคม-สิงหาคม : 1964-1980.
Martinez, Mario & Wolverton, Mimi. (2009). Innovative Strategy Making in Higher Education. Charlotte, North Carolina: Information Age Publishing.
สุภาภรณ์ มั่นเกตุวิทย์. (2557). การพัฒนารูปแบบการบริหารเชิงกลยุทธ์แบบมีส่วนร่วมสำหรับ โรงเรียน ที่จัดการศึกษาร่วมกัน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ณัฏฐ์ธนัน ระวีพงษ์. (2557). กลยุทธ์การบริหารการคงสภาพของสถานศึกษาดีเด่น. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2547). การบริหารเชิงกลยุทธ์แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
ชลธิชา ร่มโพธิ์รี. (2561). การบริหารเชิงกลยุทธ์กับการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนสังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ภาควิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.