แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสตรีพัฒนา ผลิตภัณฑ์แปรรูปส้มแขกบ้านหาดทราย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • เด่นศักดิ์ หอมหวล
  • ศจีมาศ พูลทรัพย์

คำสำคัญ:

เศรษฐกิจฐานราก, กลุ่มอาชีพ, การแปรรูปส้มแขก

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทศักยภาพชุมชนและเสนอแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก ชุมชนมุสลิม เป็นกรณีศึกษากลุ่มอาชีพสตรีผลิตภัณฑ์แปรรูปส้มแขกบ้านหาดทราย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา โดยใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 16 คน ประกอบด้วย ประธานกลุ่ม กรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ คือ การสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์กลุ่ม การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระดับบุคคล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสร้างข้อสรุปอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนบ้านหาดทรายมีบริบทและศักยภาพชุมชนที่เหมาะสมในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เนื่องจากมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมาก โดยเฉพาะส้มแขกเป็นพืชเศรษฐกิจที่สามารถสร้างรายได้เสริมแก่ ครัวเรือนและกลุ่มอาชีพสตรีในชุมชน แนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนมุสลิมกลุ่มอาชีพสตรีผลิตภัณฑ์ แปรรูปส้มแขกบ้านหาดทราย คือ กลุ่มควรจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชนเพื่อเรียนรู้การพัฒนากลุ่มของตนเอง ให้มีความเข้มแข็งควบคู่กับการสนับสนุนชุดความรู้จากภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อยกระดับห่วงโซ่คุณคำของส้มแขก ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำและปลายน้ำ เช่น การเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างมีคุณภาพ การแปรรูปส้มแขกโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เหมาะสม การสร้างแบรนด์ตราสินค้า การตลาดผ่านช่องทางที่หลากหลาย เพื่อพัฒนากลุ่มอาชีพสตรีมุสลิมให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

References

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). เศรษฐกิจฐานราก : แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ. สืบค้น 12 เมษายน 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wpcontent/uploads/2022/02/22NS-16140265.pdf.

หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2020). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. Journal of MCU Peace Studies. 8(2). 475-487.

คณะกรรมการบริหารงานจังหวัดแบบบูรณาการจังหวัดสงขลา. (2564) แผนพัฒนาจังหวัดสงขลา (พ.ศ. 2566-2570) สงขลา: มปท.

องค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี. (ม.ป.ป.). แผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลธารคีรี (พ.ศ. 2566-2570). งานวิเคราะห์นโยบายและแผน, มปท.

กอบกุลณ์ คำปลอด และทศพล พงษ์ต๊ะ. (2565). การวิเคราะห์ศักยภาพชุมชนเพื่อสร้างนวัตกรรมการพัฒนา เศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในอำเภอป่าแดด จังหวัดเชียงราย. วารสารสังคมวิชาการ. 15(1). 1-16.

ฮามีเสาะ เจ๊ะเด็ง และชนิษฎา. (2558). แนวทางการพัฒนากลุ่มอาชีพสตรีเครื่องแกงขององค์การบริหาร ส่วนตำบลบ้านโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ระดับชาติ ครั้งที่ 6 26 มิถุนายน 2558 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. 356-367.

สุภางค์ จันทวานิช. (2551). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ. (2553). โครงการศึกษาสถานการณ์การประกอบ อาชีพของผู้หญิง กับการสร้างและพัฒนาอาชีพของผู้หญิงในจังหวัดชายแดนภาคใต้, สัญญาเลขที่ RDG52L003.

กำจร หลุยยะพงศ์. (2559). การศึกษาและวิเคราะห์ชุมชนเพื่อการวิจัยการสื่อสารชุมชน ในเอกสารการสอนชุด วิชาการศึกษาชุมชนเพื่อการวิจัยและพัฒนา. หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สถาบันพระปกเกล้า. (2563). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. รายงานวิจัย สำนักงานศูนย์วิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมาลิน ขุนทอง และวงศ์สถิตย์ วิสุภี. (2563). การเสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มอาชีพสตรีการทำสมุนไพร ใช้ในครัวเรือนบ้านทุ่งกลับใหญ่ ตำบลพักทัน อำเภอบางระจัน จังหวัดสิงห์บุรี. วารสาร มจร. การพัฒนาสังคม. 5(3). 184-194.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

How to Cite

1.
หอมหวล เ, พูลทรัพย์ ศ. แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนมุสลิม : กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสตรีพัฒนา ผลิตภัณฑ์แปรรูปส้มแขกบ้านหาดทราย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา . KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];3(1):71-80. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3258