การพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมช โปรโตคอล ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษา

ผู้แต่ง

  • นรินทร์ ดำนุ้ย
  • ขนิษฐา ประเสริฐ
  • สุธิสา ชูเชิด
  • ฐานันญา นิจจำรูญ
  • ปิยะทิพย์ หนูแก้ว

คำสำคัญ:

นักดับเพลิง, อีเอสพี-เมช โปรโตคอล, สะเต็มศึกษา

บทคัดย่อ

ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมข โปรโตคอล [1] เป็นชุดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน ของเจ้าหน้าที่นักดับเพลิง เนื่องจากอาชีพนักดับเพลิงจะมีความเสี่ยงสูงและได้รับอันตรายอย่างรวดเร็วในขณะ ปฏิบัติงาน จากปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการประดิษฐ์ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมช โปรโตคอล โดยมีการบูรณาการเชื่อมโยงความรู้สะเต็มศึกษา (STEM Education) และดำเนินการ ตามขั้นตอนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering Design Process: EDP) มีวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อสร้างชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมซ โปรโตคอล โดยใช้กระบวนการออกแบบ เชิงวิศวกรรม (EDP) 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมช โปรโตคอล 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมข โปรโตคอล ผลการวิจัยพบว่า ผลการตรวจสอบระยะการรับ-ส่งสัญญาณภายในเมช จะอยู่ที่ระยะ 0 - 80 เมตร สัญญาณ จะเสถียร เมื่อทดสอบประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์ โดยใช้เงื่อนไขการทดสอบที่อุณหภูมิต่ำกว่า 60 °C และ อุณหภูมิสูงกว่า 60 °C เมื่อทำการตรวจสอบการแจ้งเตือนอุณหภูมิแจ้งเตือนตำแหน่ง สถานะไฟแจ้งเตือน สถานะเสียงแจ้งเตือน พบว่า ประสิทธิภาพการทำงานของชุดอุปกรณ์ อยู่ในเกณฑ์ประสิทธิภาพสูง โดยเป็นไป ตามเกณฑ์ ค่าเฉลี่ย คือ ร้อยละ 100 จากการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตาม นักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมข โปรโตคอล พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจต่อการทำงานของชุดอุปกรณ์ตรวจสอบ และติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมช โปรโตคอล เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ความพึงพอใจด้านมีความคุ้มค่า ในการลงทุนจะมีความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.90, S.D.=0.30) รองลงมาคือ ด้านประสิทธิภาพในการทำงาน และด้านใช้งานง่ายสะดวก ขั้นตอนไม่ยุ่งยาก จะมีความพึงพอใจมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.80, S.D.=0.40) และความพึงพอใจ โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด(gif.latex?\bar{x}=4.71, S.D.=0.46)

References

Yoppy Arjadi, R.H.; Setyaningsih, E.; Wibowo, P.; Sudrajat, M.I. (2019). Performance Evaluation of ESP8266 Mesh Networks. J. Phys. Conf. Ser., 1230, 012023.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2557), สะเต็มศึกษา, กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริม การสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี.

ชัยกฤต ยกพลชนชัย, ญาณิฐา แพงประโคน และจารุพร ดวงศรี. (2564). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับ พฤติกรรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ในครัวเรือน. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 414-427.

กบิล สุขแสง และวัชระ ภากรถิรคุณ. (2553). เครื่องวัดอุณหภูมิแบบไม่สัมผัส. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้า พระนครเหนือ.

กิตติพงศ์ พิทักษ์สกุลถาวร, นิคม ลนขุนทดม, อัษฎา วรรณกายนต์. (2563). การออกแบบและพัฒนาระบบ กำหนดตำแหน่งยานพาหนะแบบอัตโนมัติในการติดตามการเดินทางขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ทรงพล นามคุณ. (2557). ระบบการแจ้งเตือนและติดตามการบุกรุกที่พักอาศัยด้วยการประมวลผลภาพ. วิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 1(1), หน้า 33-38.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2023

How to Cite

1.
ดำนุ้ย น, ประเสริฐ ข, ชูเชิด ส, นิจจำรูญ ฐ, หนูแก้ว ป. การพัฒนาชุดอุปกรณ์ตรวจสอบและติดตามนักดับเพลิงด้วย อีเอสพี-เมช โปรโตคอล ด้วยกระบวนการสะเต็มศึกษา. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 30 มิถุนายน 2023 [อ้างถึง 13 เมษายน 2025];3(1):103-14. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3261