ศึกษาการควบคุมความชื้นด้วยแก๊สไนโตรเจนในตู้เก็บชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์
คำสำคัญ:
ความชื้น, การควบคุมความความชื้นด้วยแก๊สไนโตรเจน, ตู้เก็บชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์บทคัดย่อ
นิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ สถานที่ตั้ง ณ จังหวัดลำพูน นั้น เป็นโรงงานผู้ผลิตและส่งออกอุปกรณ์และชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งโนระหว่างขั้นตอนการจัดทำหรือรอประกอบชิ้นส่วนในงานอิเล็กทรอนิกส์นั้น จะมีองค์ประกอบหนึ่งที่ต้องควบคุมในงานสร้างและประกอบชิ้นส่วน คือ “ความขึ้น” เพราะความชื้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันเป็นผลทำให้คุณภาพของชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ไม่ได้มาตรฐานและอาจส่งผล ต่อการส่งออกสินค้าเพราะผู้บริโภคไม่รับหรือเคลมขึ้นงาน การใช้แก๊สไนโตรเจนบรรจุภายในตู้เก็บขึ้น เพื่อรักษาคุณภาพชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ทำหน้าที่ไล่ความชื้นให้กับตู้เก็บชิ้นงานเป็นวิธีที่ใช้ในการแก้ปัญหานี้ ทั้งยังทำให้ชิ้นงานที่สะอาดรักษาคุณภาพของอุปกรณ์หรือชิ้นส่วนในงานอิเล็กทรอนิกส์ก่อนส่งมอบให้กับผู้บริโภค แต่การจ่ายแก๊สไนโตรเจนเข้าภายในตู้เก็บชิ้นงานตลอดเวลา ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณ ดังนั้น การควบคุมปริมาณ แก๊สไนโตรเจนให้เหมาะสมกับความขึ้นที่ต้องการจึงเป็นการแก้ปัญหาดังกล่าว การวิจัยครั้งนี้ ใช้ไมโครคอนโทรลเลอร์เป็นตัวหลักในการควบคุมผ่านเซนเซอร์ความขึ้นตรวจสอบอัตราการใช้ปริมาณแก๊สและบันทึกระยะเวลาการจ่ายแก๊ส โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการควบคุมความชื้นด้วยแก๊สไนโตรเจนในตู้สุญญากาศเก็บชิ้นงานอิเล็กทรอนิกส์ขนาด 1,200 x 500 x 1,930 มิลลิเมตร พบว่าการควบคุมความชื้นที่ 22% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 4.61 ใช้แก๊สไนโตรเจน 5.34 ลูกบาศก์เมตร การควบคุมขึ้นที่ 23% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 4.37 ใช้แก๊สไนโตรเจน 5.00 ลูกบาศก์เมตร การควบคุมขึ้นที่ 24% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 4.17 ใช้แก๊สในโตรเจน 4.84 ลูกบาศก์เมตร การควบคุมขึ้นที่ 25% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 3.99 ใช้แก๊สไนโตรเจน 4.61 ลูกบาศก์เมตร การควบคุมขึ้นที่ 26% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 3.67 ใช้แก๊สไนโตรเจน 4.27 ลูกบาศก์เมตร การควบคุมขึ้นที่ 27% RH ใช้เวลาเฉลี่ย 3.09 ใช้แก๊สในโตรเจน 3.65 ลูกบาศก์เมตร จากการศึกษาพบว่า หากต้องการค่า% RH จึงสรุปได้ว่าปริมาณการใช้แก๊สไนโตรเจนและเวลาแปรผกผันกับค่าความขึ้นที่กำหนด
References
ชาตรี เกียรติจรูญศิริ, สุดาภรณ์ กุ้งสู้, พรรณจิรา ทิศาวิภาต, บัณฑิต ลิ้มมีโชคชัย. (2561). การลดภาระ การทำความเย็นของระบบปรับอากาศโดยใช้สารดูดความชื้นเพื่อการประหยัดพลังงาน. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. วารสารวิจัยพลังงาน ปีที่ 7, 25-43.
ธนากรณ์ อุ่นพินิจ, วรินรำไพ เศรษฐ์ธณบุตร, ทินกร คำแสน, พนมกร ขวาของ, อภิชาติ อาจนาเสียว. (2560). การลดความชื้นข้าวเปลือกด้วยคลื่นไมโครเวฟแบบอัตโนมัติ. มหาวิทยาลัยขอนแก่น. จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิศวกรรมสารเกษมบัณฑิต ปีที่ 7, 124-135.
นินนาท ราชประดิษฐ์. (2554). การวิจัยเรื่องการควบคุมความชื้นโดยการปรับอัตราการไหลของอากาศผ่าน เครื่องระเหยสำหรับเครื่องปรับอากาศแบบอินเวอร์เตอร์. มหาวิทยาลัยนเรศวร. จังหวัดพิษณุโลก. วารสารการประชุมวิชาการนเรศวรวิจัย ครั้งที่ 7, 1-7.
มานพ พิพัฒหัตถกุล. (2557). การประยุกต์ใช้ก๊าซร้อนจากคอนเดนเซอร์เพื่อควบคุมความชื้นในการปรับอากาศ สถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน, กรุงเทพฯ. วารสารเครือข่ายวิศวกรรมเครื่องกลแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 28. 1540-1550.
ระวิน สืบค้า. (2557). เทคโนโลยีการลดความชื้น. มหาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. กรุงเทพฯ. วารสาร วิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือปีที่ 23 ฉบับที่ 2, 500-512.
วิเชียร ดวงสีเสน, เทวรัตน์ ตรีอำนรรค, นัยวัฒน์ สุขทั่ง, วีรชัย อาจหาญ. (2556). การศึกษาการอบแห้ง กากมันสำปะหลังโดยใช้เครื่องอบแห้งแบบตะแกรงหมุน. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. จังหวัดนครราชสีมา. วารสารสมาคมวิศวกรรมเกษตรแห่งประเทศไทย ปีที่ 19, 7-19.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.