แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพไชยา
คำสำคัญ:
บริหารจัดการ, วิจัยนวัตกรรม, สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาสภาพการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ อาชีวศึกษา ของวิทยาลัยการอาชีพไชยา 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและ สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพไชยา ตามความคิดเห็นของบุคลากรวิทยาลัยการอาชีพไชยา โดยจำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งหน้าที่ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะ และเสนอแนวทางในการพัฒนาการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ของวิทยาลัย การอาชีพไชยา กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน วิทยาลัยการอาชีพไชยา จำนวน 65 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.952 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า สภาพการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษาของวิทยาลัย การอาชีพไชยา โดยรวมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบการบริหารจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ อาชีวศึกษาของวิทยาลัยการอาชีพไชยา ในแต่ละด้านไม่แตกต่างกัน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้เสนอแนวทางการพัฒนา การบริหารจัดการดังนี้ โครงสร้างการบริหารงานในรูปแบบคณะกรรมการบริหารจัดการ งานวิจัยนวัตกรรม และสิ่งประดิษฐ์ระดับสถานศึกษา ซึ่งจะเป็นคณะกรรมการที่กำกับดูแลระดับนโยบายและการบริหารจัดการ มีการกำหนดเป็นนโยบาย พันธกิจ กลยุทธ์ และแผนงานโครงการให้ชัดเจนเพื่อนำสู่การปฏิบัติ สอดคล้องกับ นโยบายของประเทศ ส่งเสริม และสนับสนุนการพัฒนาครู ด้านการวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ อย่างต่อเนื่อง ควรขอสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น ๆ เพิ่มเติมในการต่อยอด ขยายผล พัฒนาสู่เชิงเชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม
References
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรุงเทพฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2561). มาตรฐานการศึกษาของชาติ พ.ศ. 2561. สำนักงานเลขาธิการ สภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.
ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ. (2561). เรื่อง มาตรฐานการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : กระทรวง ศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2564). วิสัยทัศน์และพันธกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักวิจัยและพัฒนาการอาชีวศึกษา. (2564). การจัดการด้านวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา. จาก https://ver.vec.go.th/
สองเมือง กุดั่น และเสาวนีย์ สิกขาบัณฑิต. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการสู่สิ่งประดิษฐ์อาชีวศึกษา ด้านการประกอบอาชีพของสถาบันอาชีวศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 305-320.
สิรวิชญ์ ธนเศรษฐ์วงศ์. (2562). กลยุทธ์การบริหารจัดการสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของวิทยาลัยเทคนิค
สุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนาศักยภาพสู่วิทยาลัยนวัตกรรม. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 6(2), 23-33.
พลฤทธิ์ จินดาหลวง. (2562). การพัฒนารูปแบบการขับเคลื่อน นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์คนรุ่นใหม่ ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาลำปางสู่มาตรฐานการอาชีวศึกษาด้วย 6M และ PDCA. จาก http://lampangvc.ac.th/2021/news/1674.
ณัฐนันท์ ชุมแก้ว. (2560). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิจัยนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์สู่ความเป็นเลิศ. (ปริญญาดุษฎีนิพนธ์), มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น.
ธวัชไชย ลิ้มสุวรรณ และปรีชา วิหคโต. (2563). การพัฒนาระบบการบริหารสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม อาชีวศึกษาสู่เชิงพาณิชย์ ในยุคดิจิทัลด้วยแพลตฟอร์ม. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(2), 459-473.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.