การพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติในเขตจังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การพัฒนาผลิตภัณฑ์, ผ้าทอจากเส้นใยกล้วย, การย้อมสีธรรมชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนากระบวนการผลิตเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ 2) เพื่อพัฒนา กระบวนการทอผ้าโดยการใช้เส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ 3) เพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยกล้วย ย้อมสีธรรมชาติ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยกล้วย ย้อมสีธรรมชาติ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research: PAR) กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง ได้แก่ สมาชิกกลุ่มหัตถกรรมจักสานเชือกกล้วยบ้านดอน ตำบลคูเต่า อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มอาชีพทอผ้าบ้านล่องมุด ตำบลลำไพล อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน และผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ จำนวน 50 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และแบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีทางสถิติ และสถิติที่ใช้ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการผลิตเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ ประกอบด้วย ขั้นตอน 1) การคัดเลือกต้นกล้วยที่มี ความสมบูรณ์ 2) การลอกกาบกล้วย 3) การขูดเยื่อขาวด้านในกาบกล้วย 4) การฉีกให้เป็นเส้นใย 5) การล้างความมัน และฝั่งเส้นใยให้แห้งพอหมาด 6) การเตรียมสีย้อมธรรมชาติ 7) การย้อมสีธรรมชาติ 8) การใช้สารช่วยย้อม หรือสารกระตุ้นสี และ 9) การนำเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติล้างน้ำ และฝั่งในที่ร่มจนแห้ง 2. กระบวนการทอผ้าจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ ประกอบด้วยขั้นตอน 1) การเตรียมกี่กระทบ 2) การเตรียมเส้นยืนด้วยเส้นฝ้าย และ 3) การทอผ้าจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ โดยใช้เส้นใยกล้วยย้อม สีธรรมชาติเป็นเส้นพุ่งและใช้เส้นฝ้ายเป็นเส้นยืน และก่อนทอพรมน้ำเส้นใยกล้วย เพื่อให้นุ่มง่ายต่อการทอ 3. ผลการพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติโดยผสมผสานกับวัสดุหนัง จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ ได้แก่ 1) ปกใส่สมุดโน้ต 2) กระเป๋าสะพายไหล่ 3) กระเป๋าสะพายข้างผู้หญิง (Crossbody) 4) กระเป๋าสะพายข้างผู้ชาย (Crossbody) และ 5) กระเป๋าสะพายสำหรับใส่โทรศัพท์มือถือ 4. ผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีต่อต้นแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยกล้วยย้อมสีธรรมชาติ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก = 4.49, S.D. = 0.58
References
ทรงวุฒิ เอกวุฒิวงศา. (2552). การศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตวัสดุทดแทนไม้จากเศษเหลือทิ้ง ทางเกษตรกรรม. (วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์), มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
วัฒนะ วัฒนาภัณฑ์. (2552). ผลงานผลิตเส้นใยถักจากต้นกล้วย เชียงใหม่ : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุวีริยาสาส์น
Best, John W. (1986). Research in Education. (5th ed). New Jersey: Prentice Hall, Inc.
มัณฑนา ชำหาญ, นวนพ สุวรรณภูมิ และปิยะภรณ์ ณรงค์ศักดิ์. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์งานหัตถกรรม เครื่องเรือนจากเส้นใยต้นกล้วย, วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 7(2), 39-54.
อรนุช นาคชาติ, ธีรพงษ์ แกมแก้ว, รัตนา แสนแสง, นวรัตน์ พัวพันธ์ และศิริกุล อัมพะสิริ. (2560). การย้อมสีไหม ด้วยเมล็ดมะขามและเปลือกหุ้มเมล็ดมะขามเพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์, วารสารวิชาการเทคโนโลยี อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(2), 59-70.
มาโนชย์ นวลสระ, จารุวรรณ เพ็งศิริ, น้ำเพชร เตปินลาย และชัชชญา ชุติณัฐภูวดล. (2564). การพัฒนา ผลิตภัณฑ์ผ้าทอจากเส้นใยธรรมชาติ จังหวัดเชียงราย, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่, 3(2), 42-58.
อเนก ชิตเกสร และพรรณนุช ชัยปืนชนะ. (2564). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากเส้นใยกล้วยและกลุยุทธ์การจัดการ ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนทอผ้าบ้านเฮี้ย อำเภอปัว จังหวัดน่าน, วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 41(4), 141-153.
จุรีวรรณ จันพลา. (2554). การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ผ้าทอไทยทรงดำเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มตามแนวทาง เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (รายงานผลการวิจัย), กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมวัฒนธรรม.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.