การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแห้งเสริมแคลเซียมจากผงหัวปลาข้างเหลือง

ผู้แต่ง

  • นุรอาสิกิน มะแซสะอิ
  • จันทร์เพ็ญ ไชยนุ้ย
  • ฟารีดา ฮาแว
  • ปารีนะ บาและ

คำสำคัญ:

น้ำพริกแห้ง, ผงหัวปลา, ระดับความเผ็ด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปริมาณผงหัวปลาทดแทนเนื้อปลาคั่วที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ น้ำพริกแห้งต่อคะแนนการยอมรับของผู้บริโภค 2) ศึกษาปริมาณพริกขี้หนูปุ่นที่เหมาะสมในการผลิตผลิตภัณฑ์ น้ำพริกแห้งต่อคะแนนการยอมรับของผู้บริโภค โดยการประเมินคะแนนการยอมรับคุณลักษณะทางประสาท สัมผัส (7 - Point Hedonic Scale) ทางด้านลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ความเผ็ด ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวมของผู้บริโภค โดยใช้ผู้ทดสอบซิมจำนวน 30 คน วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อก สมบูรณ์ (RCBD) และนำผลมาวิเคราะห์ทางสถิติโดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นวิเคราะห์ ความแปรปรวนด้วย ANOVA และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยโดย DMRT โปรแกรมสำเร็จที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จากผลการวิจัย พบว่า ปริมาณผงหัวปลาทดแทนเนื้อปลาคั่วและปริมาณพริกขี้หนูป่นที่ต่างกันมีผลต่อระดับ คะแนนการยอมรับทางด้านประสาทสัมผัสของผู้บริโภคที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) กล่าวคือ น้ำพริกแห้งที่สูตรปริมาณผงหัวปลาทดแทนเนื้อปลาคั่วร้อยละ 20 ได้คะแนนการยอมรับทางด้านประสาทสัมผัส จากผู้บริโภคสูงสุดในทุก ๆ ด้านของการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับทุกชุดการทดลอง โดยมีคะแนนเฉลี่ย ในคุณลักษณะปรากฏ สี กลิ่น รสชาติ ลักษณะเนื้อสัมผัส และความชอบโดยรวม เท่ากับ 5.6±1.2 5.8±1.2 5.6±1.2 6.1±0.9 6.0±1.0 และ 6.0±0.9 ตามลำดับ รองลงมา คือ สูตรมาตรฐาน (ชุดควบคุม) ปริมาณร้อยละ 40 และปริมาณร้อยละ 60 และพบว่าน้ำพริกที่สูตรปริมาณพริกขี้หนูป่นร้อยละ 5 ได้คะแนนการยอมรับทาง ด้านประสาทสัมผัสจากผู้บริโภคสูงสุดในทุก ๆ ด้านของการประเมินเมื่อเปรียบเทียบกับทุกชุดการทดลอง รองลงมา คือ ปริมาณพริกร้อยละ 10 และปริมาณพริกร้อยละ 15

References

อุไรวรรณ จีโน่ ตวงสิน. (2556). การทำปลาหวานของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรบ้านบุโบย อ.ละงู จ.สตูล. จาก : https://www.gotoknow.org/posts/484785

นพรัตน์ จันทร์ไชย และวิไลพร จันทร์ไชย. (2561). การสร้างมูลค่าเพิ่มจากก้างปลานิลเป็นผลิตภัณฑ์ อาหารทางเลือกสำหรับเสริมแคลเซียม. วารสารวิจัยเทคโนโลยีนวัตกรรม, 2(2), 54-61.

ศูนย์อัจฉริยะเพื่ออุตสาหกรรมอาหาร. (2558). แคลเซียมเสริมอาหารจากกระดูกปลา. จาก : http://fic.nfi.or.th/ technologyandinnovationdetail.php?smid=101

Kuna, A., Devi, N.L and Kalpana, K. 2013. Utilization of fish powder in ready-to-eat extruded snacks. Fishery Technology, 50(1), 245-250.

ไทย-ไทยฟูด. (2559), พริกแห้ง. จาก : https://www.thai-thaifood.com/th

ครูบ้านนอกดอทคอม. (2552). น้ำพริก. จาก : https://www.kroobannok.com/19591

วรรณวิภา ทิพรส และลิตา ทิพรส. (2559) ประวัติความเป็นมาของน้ำพริก และคุณประโยชน์, จาก. https://sites. google.com/site/khxngfakxuthay/prawatikar-suksa

พรเพ็ญ อาสนศักดิ์, สุธาสินี คงทอง และสุภาษิต ชูกลิ่น. (2564). การใช้ประโยชน์จากวัสดุเศษเหลือ หัวปลากะตักเสริมโปรตีนและแคลเซียมในผลิตภัณฑ์อาหาร. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ศรีวิชัย, 13(1), 201-215.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2023

How to Cite

1.
มะแซสะอิ น, ไชยนุ้ย จ, ฮาแว ฟ, บาและ ป. การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกแห้งเสริมแคลเซียมจากผงหัวปลาข้างเหลือง. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 30 ธันวาคม 2023 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];3(2):75-84. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/3294