การออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมความชื้นสัมพัทธ์สำหรับ ห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศที่มีความดันลบ
คำสำคัญ:
ความชื้นสัมพัทธ์, ห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศที่มีความดันลบ, การลดความชื้น, สารดูดความชื้น, ห้องความดันลบบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศที่มีความดันลบตามแบบของ วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ. 2) สร้างระบบควบคุมอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ภายในห้องแยก โรคผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศที่มีความดันลบให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 3) สร้างระบบตรวจวัดค่าสภาวะอากาศ และแสดงผลพร้อมแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน ขั้นตอนการทดลองผู้วิจัยได้สร้างห้องแยกโรคผู้ป่วยติดเชื้อทางอากาศ ที่มีความดันลบตามมาตรฐานของวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ และมีระบบตรวจวัดค่าสภาวะอากาศแล้ว แสดงผลแบบเวลาจริงผ่านสมาร์ทโฟนและตัวแสดงผล LCD หากมีค่าต่ำหรือสูงกว่ามาตรฐานก็จะมีการแจ้งเตือน ผ่านทางเสียงและไฟกระพริบที่หน้าห้อง และแจ้งเตือนผ่านทางสมาร์ทโฟน การควบคุมอุณหภูมิอากาศทำได้ โดยปรับตั้งค่าอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศอยู่ที่ 21 – 24 °C การลดความชื้นสัมพัทธ์อาศัยหลักการดูดความชื้น ด้วยเม็ดซิลิกาเจล ในระบบลดความชื้นบรรจุเม็ดซิลิกาเจล จำนวน 2 กิโลกรัม ผลปรากฏว่าสามารถควบคุม ความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในช่วง 40 – 60% RH มีปริมาตรอากาศไหลผ่านสารดูดความชื้นที่ 156 CFM ความเร็วลม 8.76 m/s. ค่าประสิทธิภาพในการดูดซับไอน้ำเฉลี่ยคือ 9.9%. ความสามารถในการดูดซับไอน้ำในอากาศ 0.5 kg/h. การถ่ายเทอากาศมีค่า 16.57 ACH
References
จริยา แสงสัจจา, ภัทร วัฒนธรรม และวราภรณ์ เทียนทอง. (2560). คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายใน สถานพยาบาล. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข : อักษากราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
พรรักษ์ หวังน้ำใจ. (2560). ผลของการใช้เครื่องดูดความชื้นชนิดของแข็งร่วมกับเครื่องปรับอากาศที่มีต่อ การใช้พลังงาน [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์], มหาวิทยาลัยศิลปากร.
คู่มือผู้ใช้ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet). (2563). คู่มือผู้ใช้ตู้ความดันลบ (Negative Pressure Cabinet). ศูนย์วิศวกรรมสนับสนุนต้านภัย Covid-19 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร.
ASHRAE STD 170 Handbook. (2017). Fundamentals American Society of Heating Refrigerating and Air-Conditioning Engineers: Inc., Atlanta, GA.
T. Sookchaiya, V. Monyakul, S. Thepa. (2010). Assessment of the thermal environment effects on human comfort and health for the development of novel air conditiong system in tropical regions. Energy and Buildings 2010 (42), 1692-1702.
T. Matung, T. Sookchaiya, P. Nangtin. (2021). Assessment of the Indoor Air Quality and Energy Consumption of the AllR Betong Hospital. 2021 18th International Conference on Electrical/Electronics, Engineering Computer, and Information Technology (ECTI-CON) IEEE, 733-736.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.