สาเหตุการออกกลางคันของผู้เรียน วิทยาลัยเทคนิคสตูล สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3
คำสำคัญ:
ออกกลางคัน, พฤติกรรมผู้เรียน, สถานศึกษาและสภาพแวดล้อม, สถานภาพครอบครัวบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสาเหตุการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา 2565 2) หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาและลดอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา 2565 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลรวบรวมข้อมูล คือ แบบแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 25 คน ระยะเวลาพฤษภาคม 2565 - มีนาคม 2566 โดยให้ครูที่ปรึกษาและผู้ปกครองเป็นผู้ตอบ แบบสอบถามสาเหตุของการออกกลางคันในระดับชั้นเรียนที่รับผิดชอบ พื้นที่ในการศึกษาวิทยาลัยเทคนิคสตูล ผลของการศึกษา พบว่า 1) สาเหตุการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา 2565 มีทั้งหมด 3 ด้าน เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านพฤติกรรมนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 2.49 S.D. = .107 คิดเป็นร้อยละ 37 (ขาดเรียนบ่อย เบื่อหน่ายต่อการเรียน ค่าเฉลี่ยสูงสุด 3.57 รองลงมาปัญหา เรื่องอบายมุขหรือยาเสพติด ค่าเฉลี่ย 3.31 และมีความบกพร่องทางร่างกาย ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.33) รองลงมา ด้านครอบครัว ค่าเฉลี่ย 2.43 S.D. = .100 คิดเป็นร้อยละ 35 (ปัญหาทางเศรษฐกิจของครอบครัว ค่าเฉลี่ย สูงสุด 3.77 รองลงมาครอบครัวมีฐานะค่อยข้างลำบากต้องช่วยหารายได้ ค่าเฉลี่ย 2.61 และรักและตามใจมากไป หรือเลี้ยงดูแบบปล่อยปะละเลย ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.12) และด้านสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย น้อยที่สุด 1.94 S.D. = .092 คิดเป็น ร้อยละ 28 (บริเวณโดยรอบสถานศึกษามีสิ่งเร้าเป็นจำนวนมากทำให้ ไม่อยากเข้าเรียน ค่าเฉลี่ยสูงสุด 4.23 รองลงมาระเบียบข้อบังคับและกฎเกณฑ์ที่เคร่งครัด ค่าเฉลี่ย 3.72 และการบริหารสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 1.46) 2) แนวทางในการแก้ไขปัญหา และลดอัตราการออกกลางคันของผู้เรียนวิทยาลัยเทคนิคสตูล ปีการศึกษา 2565 แนวทางด้านพฤติกรรมผู้เรียน (จัดทำแผนการเรียนที่มีรูปแบบหลากหลาย ที่สอดคล้องกับสภาพปัญหาของผู้เรียน จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่ตอบสนองต่อความสนใจต่อผู้เรียนอย่างหลากหลาย) แนวทางด้านสภาพครอบครัว (จัดหาทุนการศึกษาให้ความรู้ประชาสัมพันธ์ ก.ย.ศ. โครงการหารายได้ระหว่างเรียน โครงการเยี่ยมบ้านและให้คำปรึกษารายบุคคล) แนวทางด้านสถานศึกษาและสภาพแวดล้อม (สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดโปรแกรม การเรียนการสอนให้น่าสนใจหรือสนองความต้องการของผู้เรียน)
References
พุทธชาด สร้อยสน. (2559). การศึกษาสภาพปัญหาและแนวทางการลดปัญหาการออกกลางคันของนักเรียน ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพในสถานศึกษาวิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือหนองคาย. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมทางวิชาการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 55 สาขาศิลปศาสตร์. (น 170 - 180). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. จาก https://shorturl.asia/quxZG.
งานทะเบียน. (2565). อัตราการออกกลางคันของนักเรียน นักศึกษา. (รายงานผลการวิจัย). วิทยาลัยเทคนิคสตูล
คู่มือการใช้ระบบ. (ปี มปป. ระบุ). แนวทางการดำเนินโครงการส่งเสริมโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียม ทางการศึกษา “พาน้องกลับมาเรียน” กระทรวงศึกษาธิการ, จาก https://shorturl.asia/AoRvu
สุรพงษ์ คงสัตย์. (2558). การหาค่าความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม (IOC). จาก https://shorturl.asia/x8EAO
ภริณ ธนะโชติภณ (2564). สาเหตุการออกกลางคันของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 25 จังหวัดขอนแก่น, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, วารสาร Journal of Modem Learning Development, 6(3), 58-68.
สุดารัตน์ พิมลรัตนกานต์. (2558), การศึกษาสาเหตุการลาออกกลางคันของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพและหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง, วารสารวิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลาเซน, 1(1), 67-71 วิทยาลัยโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. จาก https://shorturl.asia/CPQe5
โกมล จันทวงษ์. (2558). ปัจจัยสาเหตุการออกกลางคันของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ศูนย์สระแก้ว. วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ 5(1), 127-128. จาก http://acad.vru.ac.th/Journal/journal%205-1/5_1_9.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.