แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้
คำสำคัญ:
แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา, กำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง, เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อพัฒนาแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 46 คน ครูผู้สอน จำนวน 165 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 211 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Sampling) การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ผู้บริหารระดับสูงในสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ผู้แทนจากสถานประกอบการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบบันทึกข้อมูล แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. แนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงรองรับอุตสาหกรรมสมัยใหม่ ในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประกอบด้วย จุดมุ่ง/เป้าหมายสุดท้ายของการพัฒนา 5 ประเด็นแนวทางการพัฒนา 5 เป้าประสงค์การพัฒนา 10 แนวทางการพัฒนา 26 ตัวชี้วัด และ 13 โครงการมุ่งผลสัมฤทธิ์ โดยแนวทางที่พัฒนาขึ้น ผ่านการประเมินด้าน ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด 2. ผลการประเมินผลการใช้แนวที่พัฒนาขึ้น พบว่า ทุกกิจกรรมของโครงการสำหรับทดลองใช้ ผ่านเกณฑ์ Baseline ตามที่ตัวชี้วัดกำหนดไว้ทุกตัวชี้วัด และผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
References
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2559). โครงการศึกษาเพื่อทบทวนความต้องการกำลังคนเพื่อใช้วาง แผนการผลิตและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ. พริกหวานกราฟฟิค. https://backoffice.onec.go.th/uploads/Book/1527-file.pdf
Holton, III and Trott Jr. (1996). Trends toward a closer integration of vocational education and human resource development. Journal of Career and Technical Education, 12(2). https://doi:10.21061/jcte.v12i2.502
ธนุ วงษ์จินดา. (2565). ผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูงเพื่อการพัฒนาประเทศ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 7(2), 3-10.
ภูวเรศ อับดุลสตา และวรรณดี สุทธินรากร. (2561). การพัฒนาระบบทวิภาคีของอาชีวศึกษา. สยาม.
ศูนย์ขับเคลื่อนการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2565). รายงานการพิจารณาศึกษา เรื่องการทบทวนนโยบายและผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาเพื่อแก้ปัญหาความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กระทรวงศึกษาธิการ.
ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2560). แผนยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). https://planning.pn.psu.ac.th/plan_doc/procedure/docs_procedure/200_1509510396.pdf
ชูสิน วรเดช. (2561). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาตามยุทธศาสตร์การศึกษาเขตพัฒนาเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579). สถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา.
คณิศ แสงสุพรรณ. (20 พฤษจิกายน 2558). 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย: กลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต. thaipublica. https://thaipublica.org/2015/11/kanis-boi/
ปริยาภรณ์ ตั้งคุณานันต์. (2561). อนาคตภาพของผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษาตามความต้องการของตลาดแรงงานและทิศทางการพัฒนาประเทศ. เซ็นจูรี่.
Abdullah Ismail Kandura. (2003). Planning for the development of the university's workforce in Tanzania. Delhi : Indian Institute of Technology.
วิบูลย์ จุง. (3 พฤษภาคม 2555). Business Model Generation : 9 Building Blocks. bloggang. https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wbj&group=50.
ภานุรุจ กลิ่นโพธิ์. (2562). การผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษากับแนวทางการพัฒนาประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.
วันพิชิต ศรีสุข. (2556). ยุทธศาสตร์ทางการศึกษาในสังคมพหุวัฒนธรรมของวิทยาลัยชุมชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยแม่โจ้. http://webpac.library.mju.ac.th:8080/mm/fulltext/thesis/2557/Wanpichit_Srisuk/fulltext.pdf
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2556). ภารกิจและนโยบาย. https://www.vec.go.th/Default.aspx?tabid=87.
สุมาวดี พวงจันทร์. (2559). ยุทธศาสตร์การจัดการอาชีวศึกษาของเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจ จังหวัดชายแดนภาคใต้ในทศวรรษหน้า (พุทธศักราช 2558 - 2567) [วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร ดุษฎีบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. https://kb.psu.ac.th/psukb/bitstream/2016/10622/1/TC1215.pdf
Ramsawroop. (2010). The transformation of vocational education that guides the transformation towards economic development of Trinidad and Tobago. Arizona University of Arizona Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.