การพัฒนาระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm
คำสำคัญ:
ระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์ม, ฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm, บริหารจัดการฟาร์มด้วย IOTบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm 2) ศึกษาความเหมาะสมขององค์ประกอบระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ I-Smart และ 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm ประชากร และกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาระดับคุณภาพของระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์ม อัจฉริยะ I-Smart Farm คือ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญหรือผู้มีความรู้ ความสามารถทักษะทางด้านเทคโนโลยี สารสนเทศหรือทางด้านคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 คน 2) ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาความพึงพอใจ ที่มีต่อระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm คือ ครูผู้สอนทางด้านการงานอาชีพหรือ ทางด้านการเกษตร ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1 อำเภอเมือง จังหวัดยะลา โดยใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบประเมิน ความเหมาะสม และ 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย 1) ผลการสร้างและพัฒนาระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ i-Smart Farm ทั้ง 5 ระบบ ควบคุมและแสดงผลการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมและสั่งงานผ่านทางโมบายแอพพลิเคชั่น และนำไปประยุกต์ใช้กับระบบงานฟาร์มได้อย่างมีคุณภาพ 2) ผลการประเมินความเหมาะสมขององค์ประกอบ ของระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์มอัจฉริยะ I-Smart Farm โดยผู้เชี่ยวชาญในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (= 4.35, S.D. = 0.53) และ 3) ผลการประเมินระดับความพึงพอใจของผู้ใช้ที่มีต่อระบบบริหารจัดการสมาร์ทฟาร์ม อัจฉริยะ i-Smart++ ในภาพรวม อยู่ในระดับ มาก (
= 4.47, S.D. = 0.14)
References
กาญจนาพร เตียวเจริญกิจ และนฤมล อ่อนเมืองดง. (2561). การพัฒนาระบบควบคุมเกษตรอัจฉริยะ โดยใช้คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว. พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ณัฏฐกิตติ์ ปัทมะ. (2563). การพัฒนาระบบเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย. สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการ วุฒิสภา, 10.
ธิติศักดิ์ โพธิ์ทอง. (2562). การพัฒนาระบบฟาร์มอัจฉริยะสำหรับเกษตรกรยุคใหม่ด้วยซอฟต์แวร์รหัสเปิด และเทคโนโลยีเครือข่ายไร้สาย. [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัย นเรศวร.
บัณฑิตพงษ์ ศรีอำนวย, สราวุธ แผลงศร, วีระสิทธิ์ ปิติเจริญพร และพิมพ์ใจ สีหะนาม. (2562). การออกแบบ ระบบสมาร์ทฟาร์มโดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งสำหรับมะนาว จังหวัดเพชรบุรี. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ “สังคมผู้สูงวัย โอกาสและความท้าทายของอุดมศึกษา” ครั้งที่ 6 “NMCCON 2019 National Conference Nakhonratchasima College”. วิทยาลัยนครราชสีมา. http://journal.nmc.ac.th/th/admin/Journal/2562Vol9No1_89.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.