ศึกษาระยะบังคับ น้ำหนักบรรทุก และความพึงพอใจของรถเข็นส่งของ ควบคุมระยะไกลสำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ
คำสำคัญ:
รถเข็น, ระบบทางเดินหายใจ, บังคับระยะไกลบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อหาระยะบังคับ น้ำหนักบรรทุก และความพึงพอใจของผู้ใช้รถเข็นบังคับระยะไกล สำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เจ้าหน้าที่ส่งยาและอาหาร จำนวน 10 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกผลการทดลองและแบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจับพบว่า การรับสัญญาณ จากรีโมทบังคับวิทยุของรถเข็น สามารถรับสัญญาณได้ในระยะทางตั้งแต่ 10 - 50 เมตร โดยรถเข็นส่งของ มีการเคลื่อนที่ได้ปกติ แต่เมื่อระยะทางเพิ่มขึ้น (50 - 60 เมตร) รถเข็นส่งของไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ขณะที่ผล การทดสอบน้ำหนักบรรทุก พบว่า น้ำหนักบรรทุก 5 - 10 กิโลกรัม การทำงานของรถเข็นสามารถเคลื่อนที่ได้ปกติ แต่เมื่อเพิ่มน้ำหนักบรรทุก 15 และ 20 กิโลกรัม รถเข็นส่งของเคลื่อนที่ได้ช้าลง และหยุดการเคลื่อนที่ตามลำดับ สำหรับผลความพึงพอใจของผู้ใช้รถเข็นส่งของบังคับระยะไกล พบว่า มีค่าคะแนนเฉลี่ยโดยรวม 4.52±0.49 ซึ่งมีระดับความพอใจมากที่สุด ดังนั้น รถเข็นส่งของบังคับระยะไกลสำหรับผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจสามารถ บังคับได้ไกลในระยะ 50 เมตร และบรรทุกสิ่งของได้ไม่ควรเกิน 15 กิโลกรัม โดยมีความพึงพอใจของผู้ใช้ในระดับความพอใจมากที่สุด
References
จริยา แสงสัจจา, ภัทร วัฒนธรรม และวราภรณ์ เทียนทอง. (2560). คู่มือการปรับปรุงคุณภาพอากาศภายใน สถานพยาบาล. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข : อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์.
World Health Organization. (2020). Modes of transmission of virus causing COVID-19: implications For IPC precaution recommendations. https://www.who.int/news-room/commentaries/detail/modes-of-transmission-of-virus-causing-covid-19-implications-for-ipc- precaution-recommendations.
บริษัท กู๊ดเวิร์ค คิทเช่น โซลูชั่น จำกัด. (2561). รถเข็นส่งของ โรงพยาบาล สำหรับแพทย์ และผู้ป่วยมีมาตรฐานการใช้งานอย่างไรบ้าง. https://GoodworkKitchenSolution.com/hospital-food-cart/
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.). (2567). รถส่งของบังคับทางไกล “อารี” เพื่อบุคลากรทางการแพทย์. https://www.mtec.or.th/remote-control-cart/
กมลภพ มีแป้น, ไกรศักดิ์ โพธิ์ทองคำ และวิชชา อุปภัย. (2563). การออกแบบรถเข็นผู้ป่วยสำหรับการควบคุมระยะไกล. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 8 ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 8 (หน้า 1981-1989). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
Harshita R, Muhammad Hamem safwat Hussain. (2018). Surveillance Robot Using Raspberry Pi and loT. 2018 In International Conference on Design Innovations for 3CsCompute Communicate Control (pp.1679-1682). India. https://doi:10.1109/ICDI3C.2018.00018.
P.Manikandan, G. Ramesh, G. Likith, D. Sreekanth, G.Durga prasad. (2021). Smart Nursing Robot for COVID-19 Patients. 2021 In International Conference on Advance Computing and Innovative Technologies in Engineering (ICACITE) (pp.839-842). India. https://doi:10.1109/ICACITE51222.2021.9404698.
K. Velusamy, ME, MISTE, Kishore Kumar. M, Naveen Kumar. N, Nishanth. E, Ramanasarathi. A. T (2019). Design and Analysis of Voice Control Wheel Chair, International Journal of Engineering Science and Computing, 4. (pp.32-38). IRAQ.
Bader Dakhilallah Samran Alrashdi, K. Prahlad Rao, Naif D. Alotaibi. (2019). Smart Navigation and Control System for Electric Wheelchair. American Journal of Engineering Research (AJER), 8, pp 90-94. Saudi Arabia.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.