แบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุน

ผู้แต่ง

  • จิโรษม์ วัฒนา วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
  • เอกชัย แทนโป วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
  • เฉลิมวุฒิ โพธิ์เงิน วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี
  • สมพร บุญริน วิทยาลัยเทคนิคลพบุรี

คำสำคัญ:

แบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุน

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันแขนกลได้ถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายมากขึ้นและไม่ได้จำกัดเฉพาะในวงการอุตสาหกรรม เท่านั้นสำหรับแขนกลในงานอุตสาหกรรมเป็นอุปกรณ์หลักของระบบ Flexible Production System (FPS) ซึ่งเป็นระบบการผลิตที่ทำงานอย่างอัตโนมัติง่ายในการทำโปรแกรมและ ปรับแต่งเพื่อให้ใช้ได้กับกระบวนการผลิตที่มีความต่อเนื่องแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แบบจำลองแขนกลแบบ 6 แกนหมุนโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ศึกษาระบบ การทำงานของแขนกลแบบ 6 แกนหมุน การเขียนโค้ดผ่านโปรแกรม Arduino IDE  ควบคุมการทำงานของ Servo motor ศึกษาประสิทธิภาพ โดยมีค่าความผิดพลาดได้ไม่เกินร้อยละ 10 และศึกษาความพึงพอใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือตารางบันทึกผลการทดลอง และแบบประเมินความพึงพอใจ ผลการวิจัยผลการออกแบบและสร้างแบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุน ตัวฐานของแบบจำลองทำจากพาสวูดหนา 8 mm ซึ่งสามารถทนแรงกดทับ ความชื้นและความร้อนได้ดี และตัวสายพานได้ทำมาจากเหล็กประกอบก่อนและติดตั้งมอเตอร์ปัดน้ำฝนพร้อมกับสายพานลำเลียงชนิด PVC ที่สามารถทนความร้อนและเย็นได้ดี มีความยืดหยุน ทนต่อแรงขีดข่วนและตัวทำลาย และตัวแขนกลเป็นแขนกลอลูมิเนียม มีน้ำหนักมาและแข็งแรงทนทานที่ยึดกันด้วยสกรู พร้อมติดตั้งเซอร์โวไว้บนตัวแขนกลทั้งหมด 6 แกน ประสิทธิภาพของแบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกล  แบบ 6 แกนหมุนมีผลการทดลองดีมาก เพราะมีค่าความผิดพลาดเฉลี่ย ร้อยละ 4 ซึ่งไม่เกินร้อยละ 10 ความพึงพอใจของแบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุน อยู่ในระดับความพึงพอใจด้านการออกแบบและโครงสร้างของแบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุนความพึงพอใจอยู่ในระดับดีมาก มีค่าเฉลี่ย (equation) เท่ากับ 4.69 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เท่ากับ 0.55

References

นิติ นาชิต. (2566). แนวทางการสร้างพลังร่วมขับเคลื่อนอาชีวศึกษาสมรรถนะสูง ตอบโจทย์ภาคประกอบการ ด้วยนวัตกรรมและรูปแบบที่หลายหลาย ครอบคลุมทุกช่วงวัยเพื่อการมีรายได้และการมีงานทำอย่างมีความสุข. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3, 3(2). 1-13.

สุรพงษ์ เอิมอุทัย. (2567). แนวทางการพัฒนาครูและบุคลากรอาชีวศึกษาเพื่อขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของกระทรวงศึกษาธิการ. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3. ปีที่ 4(1). 1-9.

พงศ์แสน พิทักษ์วัชระ. (2557). จลศาสตร์ผกผันของหุ่นยนต์แบบอนุกรม, พื้นฐานของหุ่นยนต์ : กลศาสตร์ของหุ่นยนต์แบบอนุกรม. (หน้า 111-124). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

1.
วัฒนา จ, แทนโป เ, โพธิ์เงิน เ, บุญริน ส. แบบจำลองการคัดแยกสีด้วยแขนกลแบบ 6 แกนหมุน. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 21 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 8 เมษายน 2025];4(2):139-52. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/4143