ความสัมพันธ์ของปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม
คำสำคัญ:
ปัจจัยทางการตลาด, อุปกรณ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพร, กลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม 2) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลของคนในจังหวัดสตูลกับปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนวัยทำงานในอำเภอเมือง จังหวัดสตูล ที่มีอายุระหว่าง 30-80 ปีขึ้นไป จำนวน 398 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม สถิติที่ใช้ในงานวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความสัมพันธ์ด้วยไคสแควร์และค่าสหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรมจากมากไปหาน้อย คือ ปัจจัยด้านการส่งเสริมการขาย (4.79±0.43) ปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อ (4.73±0.47) และปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ (4.67±0.54) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลมีผลต่อ การตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์แผ่นความร้อนเสริมสมุนไพรสำหรับบรรเทากลุ่มอาการออฟฟิศซินโดรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ทุกด้าน ยกเว้นด้านราคาและสถานที่จัดจำหน่าย สำหรับปัจจัยส่วนบุคคลรายได้ต่อเดือน และลักษณะการทำงาน มีความสัมพันธ์กับปัจจัยด้านการตัดสินใจซื้อ แต่ปัจจัยส่วนบุคคลด้านการใช้บริการ ด้านสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางการตลาดทุกด้าน
References
กรุงเทพธุรกิจ. (1 มิถุนายน 2566). วิจัยเผย ภายในปี 2050 ชาวโลกว่า 800 ล้านคน อาจ “ปวดหลัง” จนเสี่ยงพิการ. กรุงเทพธุรกิจ. https://www.bangkokbiznews.com/health/well-being/1071448
ธนกฤต ธนวงศ์โภคิน. (2562). การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชีวิตในการทำงานและมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจของการลงทุนด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานในสถานประกอบกิจการ กรณีศึกษา บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน). สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันส่งเสริมความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน.
มัณฑนา วัชรินทร์รัตน์. (2561). เทคโนโลยีที่ใช้รักษาออฟฟิศซินโดรม. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 24(3), 479-491.
ซูฟียา เลาะมะ, ยัสมี โต๊ะรี, ฟาตีมะห์ ดาซอตาราแด และรัตติภรณ์ บุญทัศน์. (2565). ประสิทธิผลของการใช้ลูกประคบสมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการปวดของกลุ่มออฟฟิศซินโดรมศูนย์การเรียนรู้ด้านการแพทย์วิถีไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคใต้ ครั้งที่ 7 (NSCIC2022). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.
อรวรรณ คล้ายสังข์ และสุภาภรณ์ ศิลาเลิศเดชกุล. (2563). ผลการเปรียบเทียบการประคบด้วยลูกประคบสมุนไพรสูตรปกติและลูกประคบสมุนไพรสูตรผสมข้าวไรซ์เบอรี่ต่อระดับความเจ็บปวดของคอและช่วงการเคลื่อนไหวของคอ. วารสารหมอยาไทยวิจัย, 6(1), 55-72.
กรมการแพทย์. (2567). ขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุขในการส่งเสริมภูมิปัญญาไทย. https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/News/Attach/25671024203015PM_%_SB%20edited-01.docx
จันทร์จิรา ตรีเพชร, ศักดิ์ชาย เพ็ชรตรา และวราวุฒิ มหามิตร. (2564). การศึกษาภูมิปัญญาการใช้สมุนไพรท้องถิ่นตามนิเวศธรรมชาติลำน้ำพรม จังหวัดชัยภูมิ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 5(1), 213-224.
ลลิตา พุทธชาด. (2561). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด (4P) ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ของผู้ฟังวิทยุกระจายเสียง ในเขตบางบอน จังหวัดกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยสยาม. https://shorturl.asia/bhi0m
มณีรัตน์ รัตนพันธ. (2558). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าและบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดภาคใต้ตอนล่าง ประเทศไทย. วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 13(2), 145-153.
นิสสรณ์ เจียวยี่, กฤตชน วงศ์รัตน์ และวัชระ เวชประสิทธิ์. (2566). กลยุทธ์การตลาดและปัจจัยการสื่อสารผ่านการถ่ายทอดสดเฟซบุ๊กไลฟ์ที่มีผลต่อความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้าที่ซื้ออาหารแปรรูปในประเทศไทย. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 13(2), 87-97.
สมหมาย เสถียรธรรมวิทย์, ศิริพร มันเหมาะ, ธิดารัตน์ ประสารวรรณ, ศิริบุญ บุญอนันต์ และณมน เทพรักษา. (2564). การศึกษาส่วนผสมการตลาดในการตัดสินใจใช้บริการร้านเซเว่นอีเลฟเว่น สาขาตากสิน 1 (วงเวียนใหญ่) ของลูกค้าในเขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3, 1(2), 41-50.
เด่นศักดิ์ หอมหวน และศจีมาศ พูลทรัพย์. (2564). แนวทางพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากชุมชนมุสลิม: กรณีศึกษากลุ่มอาชีพสตรีพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปส้มแขกบ้านหาดทราย ตำบลธารคีรี อำเภอสะบ้าย้อย. วารสารวิชาการ สถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3, 3(1), 71-80.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.