อิฐบล็อกทางเท้าจากยางมะตอยและถุงพลาสติกตามมาตรฐานแอสฟัลต์ติกคอนกรีตโดยวิธี Marshall
คำสำคัญ:
อิฐบล็อกทางเท้า, ยางมะตอย, ถุงพลาสติกบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ศึกษาสัดส่วนผสมที่เหมาะสมระหว่างยางมะตอยและถุงพลาสติกที่มีผลต่อคุณภาพของอิฐบล็อกทางเท้าตามมาตรฐานแอสฟัลต์คอนกรีต โดยใช้วิธีการทดสอบ Marshall การศึกษานี้มุ่งเน้นการหาสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อทดแทนยางมะตอย 5% ด้วยการใช้ถุงพลาสติกในอัตราส่วน 3:1 และ 1:1 จากวัสดุมวลรวม 1,200 กรัม ซึ่งประกอบด้วยหินฝุ่น หินขนาด 3/8 นิ้ว หินขนาด 1/2 นิ้ว หินขนาด 3/4 นิ้ว และยางมะตอย หลังจากขึ้นรูปอิฐบล็อกตามมาตรฐานแล้วจึงนำมาทดสอบตามวิธี Marshall ผลการทดสอบพบว่าอิฐบล็อกที่ใช้อัตราส่วนยางมะตอยต่อถุงพลาสติกทั้งสองแบบ มีค่าปริมาณแอสฟัลต์ประสิทธิผล (Effective Asphalt) เท่ากับ 5 และค่าความถ่วงจำเพาะรวม (Bulk Specific Gravity) ร้อยละปริมาตรของแอสฟัลต์ประสิทธิผล (Percent Total Volume of Effective Asphalt) และค่าช่องว่างอากาศที่ถูกแทนที่ด้วยแอสฟัลต์ (Voids filled with bitumen, V.F.B) พบว่าอิฐบล็อกที่มีอัตราส่วน 3:1 มีค่ามากกว่าและใกล้เคียงกับมาตรฐาน ในขณะที่อัตราส่วน 1:1 มีค่า Air Void และ Voids in Mineral Aggregate (V.M.A) น้อยกว่าและใกล้เคียงกับมาตรฐานมากกว่า ดังนั้นการเติมพลาสติกในปริมาณเล็กน้อยไม่ส่งผลกระทบต่อปริมาณแอสฟัลต์ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าพลาสติกสามารถนำมาใช้เป็นส่วนผสมได้โดยไม่กระทบต่อคุณสมบัติทางกลหรือทางกายภาพของวัสดุ
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2563). รายงานสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2562. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. https://www.pcd.go.th/publication/8013/
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1462 (พ.ศ. 2531) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง กำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมคอนกรีตบลอกประสานปูพื้น. (24 มีนาคม 2532). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 106 ตอนที่ 46 หน้า 4.
เทอดเกียรติ ไชยลาภ. (2559). การศึกษาคุณสมบัติแอสฟัลต์คอนกรีตที่ใช้แอสฟัลต์ซีเมนต์ผสมยางพาราโดยใช้สัดส่วนยางพาราที่แตกต่างกัน [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี. http://sutir.sut.ac.th:8080/jspui/handle/123456789/7988
สำนักวิเคราะห์และตรวจสอบ. (2561). มาตรฐานงานทาง. กรมทางหลวง.
นิรชร นกแก้วและดำรงค์ ปำละกูล. (2017). สมบัติทางกายภาพของแอสฟัลต์คอนกรีตโดยวิธีมาร์แชลล์ที่อุณหภูมิต่าง ๆ. วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 24(2), 128-138.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564). แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2570. https://www.bcg.in.th/bcg-action-plan/
คณุตม์ สมบูรณ์ปัญญา, ภูษิต บุญยฤทธิ์, วงศกร สิมมา และชิษณุพงศ์ สุธัมมะ. (2563). การศึกษาคุณสมบัติของคอนกรีตโดยใช้คอนกรีตผสมมวลรวมรีไซเคิลแบบย่อยซ้ำ. ใน การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติ ครั้งที่ 25 (หน้า 1213-1222).
ประสพโชค ชื่นศิริ, และนิรชร นกแก้ว. (2565). สมบัติทางวิศวกรรมของแอสฟัลต์คอนกรีตผสมขยะพลาสติกพอลิเอทิลีน. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 32(3), 724-734.
จุริพัตร บุญชุ่ม และวัชรินทร์ วิทยกุล. (2544). การศึกษาคุณสมบัติของโมดิฟายด์แอสฟัลต์คอนกรีตที่ผสมด้วยรีไซเคิลโพลิเอทีลีนชนิดความหนาแน่นต่ำ. วิศวกรรมสาร มก., 15(45), 146-154.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.