การพัฒนาชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ กรณีศึกษาศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21

ผู้แต่ง

  • ธวัชชัย สุขสันติดิลก วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี
  • สารทูล เพ็ชรคมขํา วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี
  • ฮาซัน มะยีแต วิทยาลัยเทคนิคปัตตานี
  • นิอับดุลเล๊าะ ปานาวา วิทยาลัยเทคโนโลยีการเกษตรและประมงปัตตานี
  • ประมุข กออวยชัย วิทยาลัยการอาชีพรามัน

คำสำคัญ:

ชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่, ประสิทธิภาพ, ทดสอบหลอดไฟฟ้า

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่กรณีศึกษาศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 กรุงเทพมหานคร  2) ศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่กรณีศึกษาศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21 กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 14 คน ถูกคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบประเมินคุณภาพชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่  2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อชุดทดสอบระสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญแสดงให้เห็นว่าชุดทดสอบมีคุณภาพในระดับมาก  2) ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อชุดทดสอบโดยรวมอยู่ในระดับมาก

References

ไพบูลย์ ศรีอนันต์. (2560). การศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้หลอดไฟ LED ในสถานศึกษา กรณีศึกษาอาคารเกษม จาติกวณิช มหาวิทยาลัยบูรพา [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยบูรพา. https://buuir.buu.ac.th/handle/1234567890/7449

วรรณวิสา ถาวร. (2560). การวางแผนบำรุงรักษาอาคารด้วยระบบ CMMS กรณีศึกษา สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. [วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยธรรมสาสตร์. https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:141753

การุณย์ ชัยวณิชย์ และพุทธดี อุบลศุข. (2561). การเพิ่มประสิทธิภาพพลังงานของการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ไฟฟ้าแสงสว่างเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก กรณีศึกษาส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. วารสารวิชาการวิทยาศาสตร์และวิทยาศาสตร์ประยุกต์, 1(1), 1-15.

จุฑารัตน์ รุ่งเรืองบรรเจิด. (2563). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการซื้อหลอดไฟ LED เพื่อการประหยัดพลังงานของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดสมุทรสาคร [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. http://ir-ithesis.swu.ac.th/dspace/handle/123456789/923

โสภณ เบื้องบน. (2564). ความรู้และพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของนักเรียน นักศึกษา วิทยาลัยเทคโนโลยีสมเด็จพณิชยการ อำเภอสมเด็จ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสุขภาพและสิ่งแวดล้อม, 6(1), 73-79.

ชยพล การนา, ชวลิตร หนูเกื้อ และณัฐนนท์ มณีพิสุทธิพันธ์. (2561). การพัฒนาชุดควบคุมหลอดไฟอัจฉริยะโดยใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงสรรพสิ่ง. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1, 3(1), 9-17.

สมเกียรติ นุชพงษ์, ชนันดร มีมุข, ชวัญชัย โพธิ์ขวัญ และอดิศร เปลี่ยนดิษฐ์. (2565). การสร้างและหาประสิทธิภาพอุปกรณ์สำรองไฟฟ้าเคลื่อนที่. วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3, 2(2), 79-91.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

1.
สุขสันติดิลก ธ, เพ็ชรคมขํา ส, มะยีแต ฮ, ปานาวา น, กออวยชัย ป. การพัฒนาชุดทดสอบประสิทธิภาพของหลอดไฟฟ้าแบบเคลื่อนที่ กรณีศึกษาศูนย์การค้าเทอร์มินอล 21. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 21 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 20 กรกฎาคม 2025];4(2):127-3. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/4181