ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ของผู้บริโภคในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

ผู้แต่ง

  • ณัชสญา บุญรัตน์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
  • อุไรวรรณ หมื่นจร วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา
  • ภัชฎาพร พรหมเมศร์ วิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา

คำสำคัญ:

การตัดสินใจซื้อ, อาหารเพื่อสุขภาพ, ช่องทางออนไลน์แบบเดลิเวอรี่

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาพฤติกรรมการซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา และ 2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ประชากร ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนทั่วไปที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 435 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ส่วนใหญ่บริโภคอาหารเพื่อสุขภาพประเภทพร้อมทาน เหตุผลในการบริโภคอยากมีสุขภาพที่ดี ความถี่ในการ 1-2 ครั้งต่อสัปดาห์ ช่องทางออนไลน์ที่ทำการซื่อบ่อยที่สุด LINE MAN ช่วงเวลาในการบริโภคไม่แน่นอน มีค่าใช้จ่ายต่อครั้งในการซื้อ 100-300 บาท ช่องทางการชำระเงิน โอน/ชำระผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ของผู้บริโภคในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ปัจจัยด้านคุณภาพของรูปภาพสินค้า ปัจจัยด้านคุณภาพของข้อมูลสินค้า ปัจจัยด้านทัศนคติ ปัจจัยด้านกลุ่มอ้างอิงที่มีอิทธิพล ตามลำดับ

References

สุขภาพคนไทย. (2566). คำสัญญาของไทยใน “คอป” (COP: Conference of Parties) กับการรับมือ “โลกรวน”. https://ipsr.mahidol.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/ThaiHealth2566_update20230518.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). รายงานสถิติประจำปี 2562. สถิติพยากรณ์. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/contents_detail/2023/20230612092208_51836.pdf

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2566). การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ พ.ศ. 2566 THE 2023 HEALTH AND WELFARE SURVEY. https://www.nso.go.th/nsoweb/storage/survey_detail/2023/20230929131046_99194.pdf

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (22 มีนาคม 2562). กินคลีน อย่างไรถึงจะดี?. ThaiHealth Official. https://www.thaihealth.or.th/กินคลีน-อย่างไรถึงจะดี-2/

จีระศักดิ์ คำสุริย์. (2562). อาหารเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดีในประเทศไทย. https://fic.nfi.or.th/upload/market_overview/word/AUG2019Thailand_HealthyandWellness.docx

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (23 กรกฎาคม 2562). อยากกินต้องได้กิน SME ร้านอาหารปรับรับ Food Delivery. https://www.kasikornresearch.com/th/analysis/k-social-media/Pages/KSME-Food-Delivery.aspx

ยงยุทธ เสาวพฤกษ์. (22 ธันวาคม 2561). แนวโน้ม ‘อาหารและเครื่องดื่ม’ เพื่อสุขภาพ. ประชาชาติธุรกิจ. https://www.prachachat.net/columns/news-268743

สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์. (2563). เทรนด์นวัตกรรมอาหาร 2564 พลวัตผู้บริโภคที่ผู้ผลิตต้องจับตา. Creative Economy Agency. https://www.cea.or.th/th/single-statistic/future-food-trend-2021

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (24 เมษายน 2563). ETDA เผยคน Gen -Y สั่งอาหารออนไลน์มากสุด และกว่า 40% สั่งเพราะหวั่นโควิด-19. EDTA. https://www.etda.or.th/th/https/www-etda-or-th/th/newsevents/pr-news/Online-Food-Delivery-Survey-2020.aspx

กิตติวัฒน์ จิตรวัตร. (2561). ปัจจัยการซื้อสินค้าออนไลน์และคุณภาพเว็บไซต์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าจากเว็บไซต์ลาซาด้าของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพน์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. http://dspace.bu.ac.th/jspui/bitstream/123456789/3005/3/kittiwat_jitt.pdf

จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2563). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 118-128.

กนกวรรณ ไทยประดิษฐ์ และกรวินท์ เขมะพันธุ์มนัส. (2562). รูปแบบการตลาดออนไลน์บนเครื่องมือเครือข่ายสังคมออนไลน์ (เฟซบุ๊ก) สำหรับวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี อำเภอนาโยง จังหวัดตรัง. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 19(1), 155-172.

จิราภา ยังลือ. (2562). กระบวนการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพของคนวัยทำงานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. คณะบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

1.
บุญรัตน์ ณ, หมื่นจร อ, พรหมเมศร์ ภ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารเพื่อสุขภาพผ่านทางช่องทางออนไลน์ Delivery ของผู้บริโภคในเขตอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 21 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 7 กรกฎาคม 2025];4(2):51-60. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/4200