ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567

ผู้แต่ง

  • สุมาวดี พวงจันทร์ วิทยาลัยเทคนิคบางแสน

คำสำคัญ:

หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567, สถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 ของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 ของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและครูจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 8 แห่ง ด้วยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผลการวิจัยระดับความรู้ความเข้าใจการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 ของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้  ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับดีมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า ด้านผลผลิตของหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านกระบวนการใช้หลักสูตรตามเกณฑ์ ด้านบริบทของหลักสูตร และด้านปัจจัยนำเข้า (หลักสูตร) มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ตามลำดับ ปัญหาอุปสรรคเกี่ยวกับการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567 ของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเรื่องเวลาเรียน ระดับชั้น ปวส. ไม่เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอน ร้อยละ 34.69 รองลงมา คือปัญหาที่ขาดกระบวนการสร้างความเข้าใจในการใช้หลักสูตรจากต้นสังกัด ร้อยละ 24.49 ปัญหาการจัดการเรียนการสอนเป็นไปด้วยความยากลำบากติดขัดในรายวิชาวิชาชีพเฉพาะที่นำไปฝึกอาชีพหรือฝึกสมรรถนะวิชาชีพที่ไม่สอดคล้องกับบริบทของสถานประกอบการและท้องถิ่น ร้อยละ 14.29 และปัญหาการประกาศใช้หลักสูตรกระชั้นชิดมากเกินไป ปัญหาเครื่องมืออุปกรณ์ สื่อยังล้าสมัย ไม่มีหนังสือเรียน ครูยังไม่มีความพร้อม ร้อยละ 6.12 และอื่น ๆ ตามลำดับ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567. https://www.moe.go.th/360policy-and-focus-moe-fiscal-year-2024/

คณะกรรมาธิการติดตาม เสนอแนะ และเร่งรัดการปฏิรูปประเทศ และการจัดทำและดำเนินการตามยุทธศาสตร์ชาติ. (2567). เป้าหมายการพัฒนาประเทศ. https://www.senate.go.th/view/181

จรูญ เตชะเจริญกิจ. (2567). การพัฒนาทักษะการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้สถานศึกษาเอกชน. ใน การประชุมเชิงปฏิบัติการ. โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์, กรุงเทพมหานคร.

ธํารง บัวศรี. (2542). ทฤษฎีหลักสูตร: การออกแบบและพัฒนา. ธนธัชการพิมพ์.

ผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. (2567, 9–18 กรกฎาคม). การสนทนากลุ่มต่อการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567. สถานศึกษาอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้: วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีสตูล วิทยาลัยประมงติณสูลานนท์ วิทยาลัยเทคโนโลยีพณิชยการหาดใหญ่ วิทยาลัยอาชีวศึกษายะลา วิทยาลัยเทคนิคยะลา วิทยาลัยการอาชีพปัตตานี วิทยาลัยอาชีวศึกษาปัตตานี และวิทยาลัยเทคนิคบางนรา.

สถาบันคีนันแห่งเอเซีย. (2567). หัวใจสำคัญ 3 ประการ เพื่อพัฒนาครูต้นแบบแห่งศตวรรษที่ 21. https://www.kenan-asia.org/th/blog-th/education-th

ประกาศ เรื่อง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). (24 ตุลาคม 2565). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 139 ตอนพิเศษ 258 ง หน้า 1.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2567. https://bsq.vec.go.th/th-th/หลักสูตร/ประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช)/หลักสูตรพศ2567.aspx

สำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ. (2567). หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2567. https://bsq.vec.go.th/th-th/หลักสูตร/ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส)/หลักสูตรพศ2567.aspx

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-12-2024

How to Cite

1.
พวงจันทร์ ส. ความรู้ความเข้าใจของผู้บริหารและครูอาชีวศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ต่อการใช้หลักสูตรอาชีวศึกษา พ.ศ. 2567. KRIS Journal [อินเทอร์เน็ต]. 21 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 20 กรกฎาคม 2025];4(2):29-40. available at: https://so08.tci-thaijo.org/index.php/KRIS/article/view/4209