ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
การจัดการโลจิสติกส์, การท่องเที่ยว, ย่านเมืองเก่า, จังหวัดสงขลาบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานส่วนบุคคลของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยวของย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการจัดการ โลจิสติกส์การท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การเก็บข้อมูลจากข้อมูลจากนักท่องเที่ยวชาวไทย ที่เดินทางมาท่องเที่ยวย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา (ถนนนครใน ถนนนครนอก และถนนนางงาม) ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2566 มีกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติความถี่, ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ANOVA ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศหญิง มีอายุ 21 – 30 ปี มีสถานภาพโสด มีระดับการศึกษาปริญญาตรี เป็นพนักงานธุรกิจเอกชน ภูมิลำเนา อยู่ภาคใต้ ที่ไม่ใช่จังหวัดสงขลา มีรายได้ต่อเดือน 10,001-20,000 บาท นักท่องเที่ยวชาวไทยมีความพึงพอใจ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจต่อ การจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว เมื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว ย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา พบว่า เพศ สถานภาพ และภูมิลำเนา แตกต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดการโลจิสติกส์ การท่องเที่ยว โดยภาพรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วน อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจต่อการจัดการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว โดยภาพรวมแตกต่างกัน
References
นิตยา มณีวงศ์. (2562). โลจิสติกส์กับการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชาวต่างชาติ. วารสารเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม, 18(2), 1-11.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (18 มีนาคม 2567). สถานการณ์การท่องเที่ยวในประเทศ รายจังหวัด ปี 2566. https://www.mots.go.th/news/category/705
สุนิสา มุนิเมธี และเก็ตถวา บุญปราการ. (2556). พื้นที่ย่านเมืองเก่าสงขลา: การทำสถาปัตยกรรมให้กลายเป็นสินค้า ภายใต้บริบทการท่องเที่ยว. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง “การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย” วันที่ 10 พฤษภาคม 2556. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่, สงขลา.
Taro Yamane. (1973). Statistics: An introductory analysis. New York : Harper & Row.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2545). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 6). โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สัญชัย ลั้งแท้กุล. (2562). ความพึงพอใจด้านการจัดการโลจิสติกส์เพื่อการเดินทางท่องเที่ยวในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน: กรณีศึกษาจังหวัดตรังและจังหวัดสตูล. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 11(1), 31-39.
กิ่งกาญจน์ ดอกพุฒซ้อน. (2564). การศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจด้านโลจิสติกส์การท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์กรณีศึกษาจังหวัดพระนครศรีอยุธยา [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. มหาวิทยาลัยรังสิต. https://rsuir-library.rsu.ac.th/handle/123456789/1611
ปิยวรรณ มานะ, อรพรรณ จันทร์อินทร์ และกิตติยา อินทกาญจน์. (2561). รายงานวิจัย เรื่อง การจัดการโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวเกาะหลีเป๊ะ จังหวัดสตูล. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารวิชาการสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 3 (KRIS Journal)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.