ปัจจัยสภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
สภาพแวดล้อม, ประสิทธิภาพ, การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, อุตสาหกรรมยานยนต์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยครั้งนี้ คือ พนักงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี จำนวน 172 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติการทดสอบแบบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า พนักงานที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานโดยรวมไม่แตกต่างกัน และยังพบอีกว่าปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงาน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (β = 0.403) ด้านโอกาสความก้าวหน้า (β = 0.324) ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (β = 0.217) และด้านค่าตอบแทน (β = 0.201) ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งหนึ่งในจังหวัดสระบุรี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 65.4
References
กอปรลาภ อภัยภักดิ์. (2563). บรรยากาศองค์กรแห่งความสุข: คนเบิกบาน งานสำเร็จ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 315-331.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
จุฑามาส ศรีชมพู, ชุลีวรรณ โชติวงษ์, ธีรวัช บุณยโสภณ และปรีดา อัตวินิจตระการ. (2563). รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีชีวภาพ. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 8(1), 42-53.
ชิติพัทธ์ วรารัตน์นิธิกุล. (2561). ยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังแรงงานในอุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนอะไหล่ยานยนต์ในประเทศไทย. สุทธิปริทัศน์, 32(104), 183-199.
ญาณิศา สมัครการ และเบญจพร โมกขะเวส. (2565). ปัจจัยด้านแรงจูงใจและสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของหน่วยงานตรวจสอบภายใน มุมมองของผู้รับตรวจในกองทัพบก. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 8(12), 256-268.
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีธุรกิจอุตสาหกรรมในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(2), 29-48.
ปริณดา ปันหล้า, อัศนีย์ ณ น่าน และศศิชา วงศ์ไชย. (2566). ปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของบุคลากรในสำนักงานอัยการภาค 5. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 143-156.
พิศิษฐ ตัณฑวณิช และพนา จินดาศรี. (2561). ความหมายที่แท้จริงของค่า IOC. วารสารการวัดผลการศึกษามหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 24(2), 3-12.
ภักดี มะนะเวศ. (2563). ปัจจัยส่วนบุคคล ความผูกพันต่อองค์กร และประสิทธิภาพการทำงานขององค์กร. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ, 33(1), 17-28.
สถาบันยานยนต์. (2555). สถาบันยานยนต์เผยกลยุทธ์แผนแม่บทฯ ยานยนต์ ในรายการ “สถานีความคิด”. https://www.thaiauto.or.th/2020/th/news/news-detail.asp?news_id=83
สฤษฏ์เทพ สุขแก้ว. (2565). วิธีคัดเลือกตัวแปรอิสระเข้าสู่สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ. วารสารการวัด ประเมินผล สถิติ และการวิจัยทางสังคมศาสตร์, 3(1), 1-10.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ ๑๒ (พ.ศ.๒๕๖๐-๒๕๖๔).https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue
โสรยา สุภาผล, สุวรรณี หงษ์วิจิตร, ลัดดาวัลย์ สำราญ, ชุลีพร ลักขณาพิพัฒน์ และเพ็ญพิชชา โพธากุล. (2564). ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและปัจจัยการทำงานเป็นทีมที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(2), 211-225.
Dall’Ora, C., Ball, J., Recio-Saucedo, A., & Griffiths, P. (2016). Characteristics of shift work and their impact on employee performance and wellbeing: A literature review. International journal of nursing studies, 57, 12-27.
DeMarco, T., & Lister, T. (2013). Peopleware: productive projects and teams. Addison-Wesley.
Gilmer, V. B. (1973). Applied psychology. Mc Graw-Hill.
Landy, F. J., & Conte, J. M. (2016). Work in the 21st century: An introduction to industrial and organizational psychology. John Wiley & Sons.
Maley, J. F., Dabic, M., & Moeller, M. (2021). Employee performance management: charting the field from 1998 to 2018. International Journal of Manpower, 42(1), 131-149.
Meschke, S. (2021). Employee Loyalty. Springer International Publishing.
Neff, W. (2017). Work and human behavior. Routledge.
Peterson, E., & Plowman, E. G. (2012). Business organization and management. Literary Licensing, LLC.
Taplin, J. (2017). Move fast and break things: How Facebook, Google, and Amazon have cornered culture and what it means for all of us. Pan Macmillan.
Yamane, T. (1973) Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.