อิทธิพลการจัดการจัดการความรู้ การสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี

ผู้แต่ง

  • ดรุวรรณ ปัญญา คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น
  • บุญญาดา นาสมบูรณ์ คณะบริหารธุรกิจ สาขาบริหารธุรกิจญี่ปุ่น สถาบันเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น

คำสำคัญ:

การจัดการความรู้ , การสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซ, ประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของการจัดการความรู้ การสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซ ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างพนักงานฝ่ายผลิตระดับปฏิบัติการในบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ชลบุรี จำนวน 500 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและการวิเคราะห์สมการโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์เส้นทาง

ผลการตรวจสอบโมเดลการสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ค่า  χ2=238.62, df=89, χ2 / df=2.692, p =0.00, CFI=0.97, GFI=0.92, RMR=0.02, RMSEA=0.05 ผลการวิจัยพบว่า การจัดการความรู้มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานผ่านการสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซโดยมีค่าอิทธิพลทางตรงเท่ากับ 0.38 ค่าอิทธิพลทางอ้อมเท่ากับ 0.49 และมีค่าอิทธิพลรวม 0.87 ผลจากการวิจัยทำให้พบว่า อุตสาหกรรมการผลิตที่ต้องการสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันต้องมีการจัดการความรู้เพื่อให้พนักงานสามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำงาน และผลักด้นให้ใช้การสื่อสารแบบโฮ-เรน-โซ เพื่อป้องกันและลดปัญหางานที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการทำงานซึ่งจะส่งผลให้พนักงานมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้น

References

ญาณี ทวีธรรมเสวี และพรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก. (2561). การศึกษาอิทธิพลการจัดการความรู้ที่มีต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของแรงงานทักษะเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารบริหารศาสตร์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี, 7(14), 37-52.

ปราณี หมื่นมะเริง. (2563). วัฒนธรรมการทำงานของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่นที่มีต่อประสิทธิภาพการทำงานในเขตนิคมอุตสาหกรรม 304 จังหวัดปราจีนบุรี. http://www.advanced-mba.ru.ac.th/advanced-mba-2559/homeweb/7096-IS/Publish/2_2562/prachinburi1/no-6124100230-PCB1.pdf

พิชิต เทพวรรณ์. (2554). การจัดการทัพยากรมนุษย์เชิงกลยุทธ์. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน).

วิจัยกรุงศรี. (2563). แนวโน้มธุรกิจ อุตสาหกรรม ปี2563-65: อุตสาหกรรมยานยนต์. https://krungsri.com/th/research/industry/ industry-outlook/Hi-tech-Industries/Automobiles/IO/io-automobile-20.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบข้าราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. ม.ป.ท.

Bernardin, H. & J. Russell, (2000). Human Resource Management. A Experimental Approach (2nd Edition). McGraw-Hill.

Buhl, H. U. (2009). BISE – Editorial Notes. Business & Information Systems Engineering, 1(1), 25-25.

Chau, V.S. & Nacharoenkul, T. (2023). Japanese business communication practice in Thailand: tales from an electronic components’ manufacturer. Management Decision, 61(8), 2467-2490.

Endah, S., Suharto, & Iwan K.S., (2020). The Role of Knowledge Management and Employee Competency Towards Organization Performance with Innovation as A Mediating Variables in Local water company (PDAM) Ketapang Regency West Kalimantan. International Journal of Business and Social Science, 1(2), 1-10.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. & Anderson, R.E. (2014). Multivariate Data Analysis (7th ed.). Pearson New International Edition.

Jackson, K. & Tomioka, M., (2004). The Changing Face of Japanese Management. Routledge.

Jay, L. & Thomas, B. (1998). Knowledge Organization: What Every Manager Should Know. CRC Press LLC.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practice of Structural Equation Modeling (3rd ed.). The Guilford Press.

Noguchi, S. (2007). Horenso no Kihon & Jissenryoku ga Ichi Kara Minitsuku Hon: Dekiru Hito ni Naru Tameno Hissu Sukiru. Subarusha.

Srisaard, B. (2002). Basic research (7th ed.). Suviriyasarn printing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-18