การศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุ
คำสำคัญ:
สินค้าผู้สูงอายุ , แพลตฟอร์มออนไลน์ , การตัดสินใจซื้อบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ของกลุ่มผู้สูงอายุ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้สูงอายุผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ และ (3) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้ากับความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้สูงอายุผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ ประชากรที่ใช้การวิจัย คือ กลุ่มผู้สูงอายุที่ซื้อสินค้าผ่านทางแพลตฟอร์มออนไลน์ และเลือกตัวอย่างจากแพลตฟอร์มออนไลน์ Shopee และ Lazada อย่างละ 400 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย และทำการวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วย จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อสินค้าที่แตกต่างกันมีผลต่อความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดของผู้สูงอายุผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจสูงที่สุดต่อผลิตภัณฑ์เห็ดหลินจือ แหล่งผลิตในประเทศไทย การจัดส่งจากภาคตะวันตก ประเภทสินค้าอาหารเสริม การจัดส่งต่างจังหวัดบริษัทจัดส่งที่นิยมคือ Kerry โดยแอปพลิเคชัน Shopee มีราคาส่วนลดต่ำกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ราคาเต็มของสินค้าต่ำกว่า 500 บาท มีบริการด้านส่งเสริมการขายคือ จัดส่งฟรี ส่งฟรีขั้นต่ำ 99 บาท ซื้อครบ 5 ชิ้นลด 50 บาท ส่วนแอปพิลเคชัน Lazada ราคาเต็ม 1,000 บาทขึ้นไป และราคาส่วนลดมากกว่า 30 เปอร์เซ็นต์
References
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.
จุฑารัตน์ แสงทอง. (2560). สังคมผู้สูงอายุ (อย่างสมบูรณ์): ภาวะสูงวัยอย่างมีคุณภาพ. วารสารรูสมิแล, 38(1), 6-28.
ใบเฟิร์น วงษ์บัวงาม, ชวลีย์ ณ กลาง และ เสรี วงษ์มณฑา. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการท่องเที่ยวเชิงอาสาสมัครของนักท่องเที่ยวสูงอายุไทย. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 12(1), 55-70.
ภัทรา รอดดำรง และ สุจิตรา รอดสมบุญ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์อาหารเสริมความงามคอลลาเจนผ่านทางเฟชบุ๊ค. วารสารวิชาการการตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 3(2), 104-118.
มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2554). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย ปี 2554. https://thaitgri.org/?p=37060
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภร เสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. พัฒนาศึกษา.
ศุภกร เสรีรัตน์. (2550). พฤติกรรมผู้บริโภค. ธีระฟิล์ม.
เศรษฐวิฐฬ์ คงกะพันธ์ และ วลัยลักษณ์ บวรสินรักดี. (2565). พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ของผู้บริโภคสูงอายุ จังหวัดภูเก็ตในยุคดิจิทัล. วารสารรัชต์ภาคย์, 16(47), 273-286.
สมวลี ลิมป์รัชตามร. (2559). “ผู้สูงวัย” เทรนด์ลูกค้ามาแรง ! แต่ท าไมนักการตลาดยังมองข้าม. https://positioningmag.com/1100674.
สุดาพร กุณฑลบุตร. (2552). หลักการตลาด (สมัยใหม่). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์.
Kalogiannidis, S., & Mavratzas, S. (2020). Impact of marketing mix strategies effective product development issues in MNCs/Retail. International Journal of Business Marketing and Management, 5(12), 118-125.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2014). Principle of marketing (15th ed.). Pearson Prentice-Hall.
Mir-Bernal, P., & Sadaba, T. (2022). The ultimate theory of the marketing mix: A proposal for marketers and managers. International Journal of Entrepreneurship, 28, 1-22.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.