การเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟสด ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ ยิ้มอิ่ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วัลภา จินดาพรหม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ฐิติกาญจน์ ดอนชาไพร คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • ศุภวดี เถื่อนสลาย คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • นฤภร เนื้อนิ่ม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์
  • วีรวัลย์ ปิ่นชุมพลแสง คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการบริโภค , ความพึงพอใจในการใช้บริการ , ร้านกาแฟสด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคและระดับความพึงพอใจในการให้บริการของร้านกาแฟสดในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และเพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟสดในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้คือ ผู้ที่เคยใช้บริการร้านกาแฟสดในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบแบบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อยู่ในช่วงอายุต่ำกว่า 18 ปี อาชีพนักธุรกิจ รายได้ระหว่าง 30,001 ขึ้นไป ความถี่ในการใช้บริการทุกวัน ค่าใช้จ่ายที่เข้าใช้บริการต่ำกว่า 201 บาทขึ้นไป ช่วงเวลาที่เข้าใช้บริการ คือ 18:01-21:00 น. ส่วนผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยประชากรศาสตร์และพฤติกรรมการบริโภคที่แตกต่างกันส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟสด ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

ชิตธารินทร์ ลิ้นเพิ่มวุฒิพร. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการบริโภคกาแฟประเภทแคปซูลของพนักงานออฟฟิศ Generation Y. [สารนิพนธ์ปริญญาการจัดการมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

ฐิติรัตน์ รุ่งหิรัญศักดิ์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภคกาแฟของผู้บริโภคในกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (ส่วนกลาง). [วิทยานิพนธ์ปริญญาเศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธิญาดา กีร์ตะเมคินทร์ และพุฒิธร จิรายุส. (2559). ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 7p’s และปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าใช้บริการร้านกาแฟระดับพรีเมียมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 59-67.

ภูรีภัทร ชั่งจันทร์. (2558). ความพึงพอใจในการใช้บริการร้านกาแฟสตาร์บัคส์ที่เซ็นทรัลพาลซ่า ปิ่นเกล้า. [สารนิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยสยาม.

วิเชียร โสมวิภาต. (2563). การศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมของผู้บริโภคกาแฟสดร้านกาแฟ All Café ในจังหวัดนครสวรรค์. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(12), 160-177.

สถาบันอาหาร. (2564). ธุรกิจกาแฟในประเทศไทย. http://fic.nfi.or.th/FoodMarketShareInThailandDetail.php?id=319

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2564). จำนวนประชากรและบ้าน จำแนกเป็นรายอำเภอ และรายตำบล จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ณ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553. http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/districtList/S010107/th/27.htm

เอื้องฟ้า กายธัญลักษณ์. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการและบริโภคเครื่องดื่มร้านสตาร์บัคส์. [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Apichaya, P. (2021). 10 คาเฟ่หัวหินเปิดใหม่ พร้อมเช็คอินในปี 2022. https://www.klook.com/th/blog/update-cafe-in-huahin/

Brand Buffet. (2022). Café Amazon เปิดเกมรุกสาขาต่างประเทศ จับมือ ‘เซ็นทรัล’ เร่งขยาย ‘เวียดนาม’ ปีนี้ครบ 20 สาขา. https://www.brandbuffet.in.th/2022/09/cafe-amazon-expands-business-in-vietnam-target-to-reach-20-branches-by-2022/

Starbucks. (2565). ประวัติสตาร์บัคส์ประเทศไทย. https://www.starbucks.co.th/th/about-us/starbucks-in-thailand/

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). Harper and Row. Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-28