บุพปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน ของสายการบินแห่งหนึ่ง ในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค Covid-19

ผู้แต่ง

  • เด็ดเดี่ยว จันทรวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สมพล ทุ่งหว้า คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ทองฟู ศิริวงศ์ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สถานการณ์แพร่ระบาด Covid-19 , การปฏิบัติงาน , พนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน สายการบิน

บทคัดย่อ

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยจากโรคระบาดและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินงานของพนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน (2) เพื่อศึกษาผลการปฏิบัติงานของพนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดิน และ (3) เพื่อศึกษาปัจจัยจากโรคระบาดและปัจจัยการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินงานที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดินของสายการบินแห่งหนึ่งในช่วงสถานการณ์แพร่ระบาดของโรค Covid-19 สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานบริการผู้โดยสารภาคพื้นดินของสายการบินแห่งหนึ่ง จำนวน 95 ตัวอย่าง ใช้การสุ่มตัวอย่างแบบตามสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยโรคระบาด ในด้านเหตุปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค ส่งผลต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการป้องกันการกระจายโรค และด้านการจัดการอนามัยและสิ่งแวดล้อมส่งผลน้อยที่สุด ส่วนการเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินงานในด้านการเปลี่ยนแปลงด้านโครงสร้างส่งผลต่อการปฏิบัติงานมากที่สุด และด้านการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมหรือคน ส่งผลน้อยที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

References

กัลยา วานิชย์บัญชา และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. โรงพิมพ์สามลดา.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2553). การบริหารการ เปลี่ยนแปลงและการพัฒนาองค์กร (พิมพ์ครั้งที่ 3). ไทยวัฒนาพานิช.

ณัฐติมา ลิ้นปราชญา. (2557). การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในพฤติกรรมการทำงานของกลุ่มพนักงานในอุตสาหกรรมการโรงแรม [การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ดวงรัตน์ คงสุวรรณ. (2552). การบริหารโครงการในเชิงการจัดการการเปลี่ยนแปลงโครงการติดตั้ง ระบบ ERP [การศึกษาค้นคว้าอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ธนกร ณรงค์วานิช. (2563). อุตสาหกรรมการบินจะผ่านไปอย่างไรกับโควิด 19. SPU Sripatum University. https://www.spu.ac.th/activities/27300

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย: คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. โรงพิมพ์แหงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรนัชชา พุทธหุน. (2559). การเปลี่ยนแปลงองค์การ : ศึกษากรณีมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วารสารสังคมศาสตร์, 5(1), 1-11.

ศรันยา สีมา. (2565). มาตรการปิดเมือง (Lockdown) กับการควบคุมโรคโควิด 19 ในประเทศไทย. สำนักงานวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สุพิชญา วงศ์วาสนา (2564). ปัจจัยผลกระทบทางลบจาก COVID-19 ส่งผลต่อความสุขในการทำงานของพนักงานฝ่ายการโดยสาร : กรณีศึกษา บริษัท บางกอกไฟลท์เซอร์วิสเซส จำกัด (BFS). วารสารรัชต์ภาคย์, 15(39), 15-30.

อภิชญา ศักดิ์ศรีพยัคฆ์. (2558). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการทำงานของพนักงานชาวไทยในอุตสาหกรรมบริการที่ทำงานในประเทศสิงคโปร์ [การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อรรถพล ทองดี. (2562). ผลกระทบจากโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงนโยบายการดำเนินงาน และความเครียดส่งผลต่อ ประสิทธิผลการทำงาน: กรณีศึกษากลุ่มธุรกิจค้าส่ง [การค้นคว้าอิระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อาริยา สุขโต. (2564). วิกฤตโควิด-19 กับการปรับตัวของธุรกิจการบิน. สำนักงานวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อุสุมา ศักดิ์ไพศาล. (2556). คุณภาพชีวิตในการทางานที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท อินเตอร์ เรียลตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด [การค้นคว้าอิระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต]. DSpace at Rajamangala University of Technology Thanyaburi. http://www.repository.rmutt.ac.th/dspace/bitstream/123456789/2033/1/139312.pdf

Cummings, T. G., & Worley, C. G. (1997). Organization Development and Change (6th ed.). South-Western College Publishing.

Lewin, K. (1951). Field Theory in Socical Science: Selected papers (D. Cartwright, Ed.). Harper.

Robbins, S. P., & Coulter, M. (2008). Management [การจัดการและพฤติกรรมองค์การ] (พิมพ์ครั้งที่ 8). เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

Snow, J. (1949). On the mode of communication of cholera (8th ed.). The University of California Press.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). Harper & Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-10-25