ประสิทธิภาพการให้บริการตามบริบทสังคมวิถีใหม่ : กรณีศึกษา ร้านอาหารกิน อยู่ ดี ของสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำสำคัญ:
ประสิทธิภาพการให้บริการ , บริบทสังคมวิถีใหม่ , ไวรัสโคโรนา 2019บทคัดย่อ
ในห้วงเวลาที่ผ่านมาการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการร้านอาหารเป็นอย่างมาก โดยผู้ประกอบการต้องอาศัยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการอย่างหนักและเพิ่มมาตรการการป้องกันทุกวิถีทาง เพื่อทำให้การพัฒนาประสิทธิภาพของธุรกิจร้านอาหารเกิดความเปลี่ยนแปลงสอดรับกับการนำไปสู่การใช้ชีวิตสังคมวิถีใหม่ เฉกเช่น ร้านอาหารกิน อยู่ ดี ของพิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็เป็นอีกหนึ่งร้านอาหารที่ตระหนัก ต่อการปรับบริบทให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการให้บริการให้เหมาะสม โดยการเพิ่มช่องทางการให้บริการ ตอบสนองความต้องการด้านอาหารปลอดภัย อาหารเพื่อสุขภาพ ลดต้นทุนการซื้อ และหันมาเพิ่มแปลงปลูกวัตถุดิบเพื่อใช้เอง การพัฒนาศักยภาพบุคลากรในการประกอบอาหารและการให้บริการ ควบคุมคุณภาพในกระบวนการผลิต เพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า และกลุ่มการจัดอบรมเพื่อให้มีความพร้อมในการให้บริการภายใต้สถานการณ์ จนได้รับมาตรฐานการรับรอง SHA Plus+
นอกจากนี้ยังมีการปรับเมนูอาหาร โดยเพิ่มเมนูที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายที่เน้นสมุนไพรเป็นส่วนประกอบ เช่น ยำสมุนไพรสร้างภูมิคุ้มกัน ต้มยำ แกงป่า แกงส้มมะรุม เป็นต้น สอดแทรกองค์ความรู้สรรพคุณข้อดีของวัตถุดิบที่เมื่อรับประทานแล้วจะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกายอย่างไรบ้างซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการจูงใจให้ลูกค้าเลือกมารับประทานอาหารที่ร้านเพิ่มมากขึ้น
References
กนิษฐา หมู่งูเหลือม. (2551). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคต่ออาหารสร้างสุขภาพ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กีรติพร จูตะวิริยะ, คํายิน สานยาวง, และคําพอน อินทิพอน. (2554). วิถีการบริโภคอาหารกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในยุคโลกาภิวัฒน์ เขตนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว. วารสารสังคมลุ่มน้ำโขง, 7(2), 49-73.
จุฑามาศ ศรีรัตนา. (2564). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการผ่านแอปพลิเคชันสั่งอาหารออนไลน์ของผู้บริโภคในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด-19. วารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(3), 118-128.
ณฐมน กัสปะ และ ฐิตารีย์ ศิริมงคล. (2564). ส่วนประสมทางการตลาด4C’s ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (เฟสบุ๊ค) ของผู้บริโภคในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 11(1), 100-114.
ธนาคารกรุงเทพ. (2563). ทิศทาง “โลกหลังโควิด” จะเปลี่ยนไปอย่างไร. SME in Focus. https://www.bangkokbanksme.com/en/how-direction-of-the-world-after-covid-19-change
นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่. (2564). เอกสารประกอบการบรรยาย เรื่อง อาหารไทยเพื่อสุขภาพ. ภาควิชอุตสาหกรรมเกษตร คณะเทคโนโลยีเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่: เชียงใหม่.
นิธิดา อรุณคีรีวัฒน์, รัชตะวัน ป้องกก, รินรดา รัตนดิลกวิทย์, วราศิณี อรุณคีรีวัฒน์, ทาริกา สระทองคำ และ ศุภชัย เหมือนโพธิ์, (2562). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้ออาหารกล่องเพื่อสุขภาพ สำหรับกลุ่ม Millennial ในพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(2), 33-43.
แบรนด์บุฟเฟ่ต์. (2563). กลยุทธ์แห่ชิงตลาด Food Delivery. https://www.brandbuffet.in.th.
มนัสชนก ไชยรัตน์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปช่วงสถานการณ์ COVID-19 ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
มิวเซียมไทยแลนด์. (2564). พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.https://www.museumthailand.com/th/museum/wisdomking
ศูนย์วิจัยกรุงศรี. (2564). แนวโน้มธุรกิจและอุตสาหกรรมไทย ปี 2564-2566. วิจัยกรุงศรี ธนาคารกรุงศรี : กรุงเทพมหานคร.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2563) แข่งเดือดสั่งอาหารผ่านแอพพลิเคชั่น. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ธนาคารกสิกรไทย : กรุงเทพมหานคร.
สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน). (2565). คู่มือนำชมฐานเรียนรู้ต้นแบบเกษตรพอเพียงเมือง. ปทุมธานี: สำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (องค์การมหาชน).
สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน). (2565). เทรนด์นวัตกรรมอาหาร 2564 พลวัตผู้บริโภค ที่ผู้ผลิตต้องจับตา. กรุงเทพฯ: งานสารบรรณ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน).
สิทธิชัย ธรรมเสน่ห์. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจร้านอาหารในยุคปกติวิถีใหม่สำหรับผู้ประกอบการ. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(7), 498-512.
สุพริศร์ สุวรรณิก. (2565). โลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังวิกฤตโควิด-19 จบลง. ฝ่ายเศรษฐกิจมหัพภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย: กรุงเทพมหานคร.
สุภาภรณ์ พรหมบุตร. (2563). New normal กับวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลง. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป กองยุทธศาสตร์และแผนงาน. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม.
อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิเพื่อสถาบันอาหาร. (2563). รายงานฉบับสมบูรณ์ กลยุทธ์การพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพและโภชนาการสมวัยภายใต้โครงการพัฒนาศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมอาหาร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ : สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
Choketaworn, L. & Donkwa, K. (2017). Impacts of Marketing Mix and Attitude toward Clean Food Purchased Decision of Consumers in Nakhon Ratchasima Province. KKU Research Journal, 5(1), 79-91. (In Thai).
Jackson, D., Bradbury-Jones, C., Baptiste, D., Gelling, L., Morin, K., Neville, S. & Smith, G.D. (2020), Life in the pandemic: Some reflections on nursing in the context of COVID-19. Journal of Clinical Nursing, 29(13-14), 2041-2043.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสารการจัดการโซ่คุณค่าและกลยุทธ์ธุรกิจ
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.