แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่ยั่งยืน: กรณีศึกษาวัดเขาช่องพราน ตำบลเตาปูน อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ ศูนย์ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี นวัตกรรมชุมชน ผู้ประกอบการ การท่องเที่ยว และการศึกษา

คำสำคัญ:

กลยุทธ์ทางการตลาด, การท่องเที่ยวเชิงศาสนา , การส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

บทคัดย่อ

การท่องเที่ยวเชิงศาสนาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่สำคัญของประเทศไทย ด้วยความงดงามของสถานที่ท่องเที่ยวและประวัติความเป็นมาทางวัฒนธรรมและศาสนาที่ยาวนาน อันเป็นแรงดึงดูดใจสำคัญที่ทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความสนใจและตัดสินใจมาท่องเที่ยวตามศาสนสถาน เพื่อการกราบไว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์และทำบุญที่เพิ่มความสุขทางจิตใจ อีกทั้งยังช่วยก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้วยการสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจในท้องถิ่น สร้างการจ้างงานและกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แต่จากการเปลี่ยนแปลงทางด้านดิจิทัลและพฤติกรรมนักท่องเที่ยวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ส่งผลให้จำนวนนักท่องเที่ยวและรายได้ลดลง ดังนั้นการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่ยั่งยืนนั้นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานการณ์ปัจจุบัน

แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาที่ยั่งยืนของวัดเขาช่องพรานนั้น ประกอบไปด้วยกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์ที่ต้องยึดถือการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงการกำกับดูแลคุณภาพสินค้าและการบริการ กลยุทธ์ด้านราคาที่จะต้องมีความเป็นธรรมและชัดเจน รวมถึงมีรูปแบบการชำระเงินที่ทันสมัย กลยุทธ์ช่องทางการจัดจำหน่ายที่จะต้องคำนึงถึงความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ พร้อมทั้งต้องเตรียมสถานที่ให้พร้อมต้อนรับนักท่องเที่ยว และสุดท้ายคือ กลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาดที่จะต้องเพิ่มการจัดกิจกรรมรองควบคู่กับกิจกรรมหลักทางศาสนา โดยอาศัยเทคโนโลยีดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร อย่างไรก็ตาม ในการดำเนินงานยังคงต้องคำนึงถึงความยั่งยืนด้วยการบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อผลักดันนโยบายและกลยุทธ์ที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงศาสนาให้ยั่งยืน รวมถึงสร้างความตระหนักรู้และความรับผิดชอบแก่นักท่องเที่ยวในการดูแลรักษาและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมของแหล่งท่องเที่ยว

References

กฤษดา เชียรวัฒนสุข และสรญา เข็มเจริญ. (2560). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีความสัมพันธ์ต่อความภักดีของผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่. วารสารการจัดการธุรกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 6(1), 38-50.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.ก). 9 แนวโน้มใหม่ในอนาคตการท่องเที่ยว. https://api.tourismthailand.org/upload/live/content_article_file/20603-15378.pdf

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (ม.ป.ป.ข). ถ้ำค้างคาวและวัดเขาช่องพราน. https://thai.tourismthailand.org/Attraction/ถ้ำค้างคาวและวัดเขาช่องพราน

เกศศิริ นวลใยสวรรค์, ทรงกลด พลพวง, วิมลกานต์ นิธิศิริวริศกุล, ฉัตรชัย ศรีมาลา, จรัญญา ไชยเสริฐ และสุเมธี เทียมสกุล. (2566). การตลาดดิจิทัลในยุคที่ท้าทาย บทบาทความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบารไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 7(1), 193-207.

จีณัสมา ศรีหิรัญ, คมม์ เพชรอินทร, สินีนาถ เสือสูงเนิน, นรัญญา พลเยี่ยม และศิริธร โคกขุนทด. (2564). การท่องเที่ยวเชิงศาสนา ตามรอยวรรณกรรมพื้นถิ่นและบุญบั้งไฟพญานาค อำเภอรัตนวาปี จังหวัดหนองคาย. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์, 17(2), 1-18.

ณัฐพล แจ่มสุวรรณ และสุวัฒนา ธาดานิติ. (2565). ผลกระทบโรคระบาดโควิด-19 ต่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธศาสนา: กรณีศึกษาวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิทหาร จังหวัดพิษณุโลก. วารสารพัฒนาการเรียนรู้สมัยใหม่, 7(11), 168-181.

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช, พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน (เกษวงศ์รอด) และกรกต ชาบัณฑิต. (2564). มุมมองการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงพุทธ. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์, 15(2), 264-273.

เทศบาลตำบลเขาขวาง. (ม.ป.ป.). วัดเขาช่องพราน (ค้างคาวร้อยล้าน). http://www.khaokwang.go.th/site/index.php?option=com_content&view=article&id=164:2020-08-21-07-36-45&catid=70:2020-08-21-03-25-57&Itemid=99

เที่ยวราชบุรี. (ม.ป.ป.). ชมค้างคาวร้อยล้าน วัดเขาช่องพราน ชมค้างคาวร้อยล้าน วัดเขาช่องพราน. https://www.เที่ยวราชบุรี.com/สถานที่เที่ยวราชบุรี/ชมค้างคาวร้อยล้าน-วัดเข

ธีทัต ตรีศิริโชติ. (2564). การปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์และเครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 3(2), 62-72.

ธีระพงษ์ มีไธสง. (2561). มนุษย์: กระบวนทัศน์ทางความเชื่อและความคิด. วารสารปรัชญาและศาสนา, 3(1), 81-113.

ธีระวัฒน์ แสนคำ (2560). ยุทธศาสตร์การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนตามแนวพระพุทธศาสนาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเลย [ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาเอกที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ประเมศฐ์ พิชญ์พันธ์เดชา. (2561). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของเกาะฮ่องกงที่มีอิทธิพลต่อนักท่องเที่ยวชาวไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาโทที่ไม่มีการตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปวีณา งามประภาสม. (2563). แนวทางการพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดสำหรับการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างมีส่วนร่วม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22(2), 115-126.

พระมหามงคลกานต์ ิตธมฺโม, คงสฤษฎ์ แพงทรัพย์, และพูนศักดิ์ กมล. (2562). การอยู่ร่วมกันของคนในสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทสไทย กรณีศึกษาสังคมพหุวัฒนธรรมในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารมหาจุฬาวิชาการ, 6(2), 46-59.

เพทาย เพ็ชรเจริญ และณัฐพงศ์ พันธ์น้อย. (2564). แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในพื้นที่อนุรักษ์ชุมชนประวัติศาสตร์: กรณีศึกาชุมชนอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. สาระศาสตร์, 4, 867-880.

วรรณวิษา รัตตพงษ์, พะยอม ธรรมบุตร, สันติธร ภูริภักดี และสหนนท์ ตั้งเบญจสิริกุล. (2563). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่ยั่งยืนในจังหวัดราชบุรี. วารสารการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, 9(4), 124-138.

วรัญญา กุลวราภรณ์ และสมสุข หินวิมาน. (2565). กลยุทธ์การสื่อสารในการปรับตัวของสถาบันศาสนา กรณีศึกษา วัดปราสาท จังหวัดนนทบุรี. วารสารนิเทศสยามปริทัศน์, 21(1), 33-44.

วัชโรบล โกศลวิทยานันต์, ชัยธวัช ศิริบวรพิทักษ์ และอาภาพรรณ จันทนาม. (2566). พฤติกรรมการเดินทางบนความปกติใหม่ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, 13(1), 168-177.

วารุณี ประไพรเมือง. (2565). แนวทางการท่องเที่ยวเชิงพุทธวิถีใหม่ New normal. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 395-408.

วิรัตน์ เตชะนิรัติศัย. (2563). กลยุทธ์ทางการตลาดเพื่อรองรับมาตรฐาน ไทยแลนด์ 4.0. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 232-243.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, นรินทร์ สังข์รักษา และสมชาย ลักขณานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร (มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ), 10(2), 2392-2409.

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2564). วิเคราะห์ผลกระทบของของโควิด-19 ต่อธุรกิจท่องเที่ยว. https://tdri.or.th/2021/02/covid-112/

สุภัคชญา บุญเฉลียว, สามารถ บุญรัตน์ และพระครูพิพิธสุตาทร. (2564). COVID-2019: ฉากทัศน์การท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในสังคมวิถีใหม่. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 21(4), 329-340.

Blangy, S., & Fernandez, M. (2017). Religion and tourism: Crossroads, destinations, and encounters. Channel View Publications.

Chaffey, D., & Ellis-Chadwick, F. (2019). Digital marketing: Strategy, implementation and practice (7th ed.). Pearson.

Dallen, T. J., & Boyd, S. W. (2020). Religious tourism: Past, present, and future. In International Handbook on Religious Tourism and Pilgrimage (pp. 3-17). Edward Elgar Publishing.

Dallen, T. J., & Boyd, W. E. (2012). Sacred places in North America: A journey into the medicine wheel. CCC Publishing.

Gursoy, D., Chi, C. G., & Lu, L. (2021). Introduction to special issue on sustainable religious tourism. Journal of Sustainable Tourism, 29(6), 707-712.

Hollensen, S. (2021). Global marketing: A decision-oriented approach (8th ed.). Pearson.

Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson.

Kotler, P., Kartajaya, H., & Setiawan, I. (2019). Marketing 4.0: Moving from traditional to digital. John Wiley & Sons.

O'Driscoll, D., & Moles, R. (2019). Religion, tourism and the digital realm. Religion and spirituality in tourism. Channel View Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-06-27