การส่งบทความ

เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความเรื่องนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หากมีกรุณาอธิบายในข้อความถึงบรรณาธิการ)
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs ที่เข้าถึงได้ สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16pt(ในภาษาไทย) และ 16 pt(ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้แต่ง (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสม เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนด ทั้งในด้านของรูปแบบและการเขียนเอกสารอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

เกณฑ์การตีพิมพ์/รูปแบบการตีพิมพ์  ดาวน์โหลดรูปแบบ จัดพิมพ์อ้างอิงวารสาร
         1.บทความ ที่ส่งมาเพื่อเผยแพร่ต้องเป็นบทความที่อยู่ในขอบเขตที่กำหนดเท่านั้น โดยไม่เคยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร รายงานหรือสิ่งพิมพ์อื่นใดมาก่อน และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น ทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนี้จะต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับบทความที่ได้รับการตีพิมพ์
         2.การพิมพ์ต้นฉบับ จะเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้มีเนื้อหาที่สมบูรณ์ จัดพิมพ์แบบหน้าเดียว กระดาษพิมพ์ขนาด A4 (8.5×11 นิ้ว) จำนวนไม่เกิน 15 หน้า ใช้รูปแบบ Word ตัวอักษร TH SarabunPSK 16 Point
         3.การตั้งระยะขอบ ให้ตั้งเป็นประเภทระยะขอบ เพื่อการเย็บเล่มหนังสือ บน 2.54 ซม., ล่าง 2.54 ซม., ซ้าย 3.00 ซม. ขวา 3.00 ซม., หัวกระดาษและท้ายกระดาษ, จากขอบ หัวกระดาษ 1.5 ซม., ท้ายกระดาษ 1.5 ซม., การใส่เลขหน้า ให้ใส่ด้านบนขวา โดยใช้ตัวอักษรขนาด 16 ตัวปกติ
         4.ข้อปฏิบัติการพิมพ์แต่ละหัวข้อ บทความวิจัย ให้เรียงลำดับหัวข้อ ดังนี้
                  4.1 ชื่อเรื่อง/บทความ ชื่อเรื่องทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยด์ ตัวหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
                  4.2 ชื่อผู้เขียนบทความ ระบุชื่อผู้เขียน ผู้ร่วมวิจัย (ถ้ามี) และอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ขนาดตัวอักษร 16 พอยด์ ตัวหนา ไว้ด้านขวาหน้ากระดาษ
                  4.3 สังกัดผู้เขียน ระบุตำแหน่งทางวิชาการ สาขา คณะ สังกัด/หน่วยงานของผู้ร่วม (ถ้ามี) ขนาดตัวอักษร 16 พอยด์ ไว้ที่ตำแหน่งใต้ชื่อเรื่อง ไว้ด้านขวาหน้ากระดาษ พร้อมระบุอีเมลผู้เขียน ที่ติดต่อในการส่งบทความ
                  4.4 บทคัดย่อ (Abstract) บทคัดย่อบทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 18 พอยด์ ตัวหนา ไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ ความยาวไม่เกิน 300 คำ เนื้อหาในบทคัดย่อใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยด์
                  4.5 คำสำคัญ (Keywords)cระบุคำสำคัญ 2-4 คำ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไว้ท้ายบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา
                  4.6 เนื้อหา (Content) หัวข้อชิดด้านซ้ายกระดาษและใช้อักษร TH SarabunPSK ขนาด 16 พอยด์ ตัวหนา ส่วนเนื้อหาในแต่ละหัวข้อใช้อักษร TH SarabunPSK ตัวปกติ ขนาด 16 พอยด์ มีรายละเอียดดังนี้
*************************************
         ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
         วัตถุประสงค์ของการวิจัย
         กรอบแนวคิดการวิจัย (ถ้ามี)
         สมมติฐานการวิจัย (ถ้ามี)
         วิธีดำเนินการวิจัยระบุ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ตัวแปร เครื่องที่ใช้ในการวิจัย การสร้างและหาคุณภาพ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล แต่ละขั้นตอนควรเขียนให้กระชับและเป็นขั้นตอนที่เหมาะสม
         ผลการวิจัยระบุผลการวิจัยตามวัตถุประสงค์อย่างกระชับ ซึ่งอาจมีตารางหรือภาพประกอบ
         อภิปรายผลการวิจัยระบุประเด็นที่สำคัญของผลการวิจัยในแต่ละวัตถุประสงค์ และอภิปรายโดยมีการอ้างอิงหรือเชื่อมโยงทฤษฎีและงานวิจัยสนับสนุน
         ข้อเสนอแนะ ระบุรายละเอียดข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ และข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

*************************************

                  4.7 ตาราง (ถ้ามี) ใช้ตารางแบบเส้นคู่ ให้ระบุคำว่า “ตารางที่” ตามด้วยหมายเลขกำกับภาษาอังกฤษใช้คำว่า Table
                  4.8 ภาพ (ถ้ามี) รูปภาพประกอบบทความ ควรบันทึกไฟล์รูปภาพ เป็นนามสกุล JPEG. ให้ระบุคำว่า “ภาพที่” ตามด้วยหมายเลขกำกับ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Figure
                  4.9 การอ้างอิงในเนื้อหา ใช้ระบบ APA โดยระบุชื่อผู้เขียน ปีที่พิมพ์และเลขหน้า ดังตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา ดังปรากฏรายละเอียดด้านล่างนี้
                  4.10 เอกสารอ้างอิง ใช้ระบบ APA (American Psychological Association style) ดังตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิง ดังปรากฏรายละเอียดด้านล่างนี้

*************************************
บทความวิชาการ ให้เรียงลําดับหัวข้อ ดังนี้
         1) บทคัดย่อ (Abstract)
         2) บทนํา (Introduction)
         3) เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสําคัญที่ต้องการนําเสนอตามลําดับ
         4) บทสรุป (Conclusion)
         5) เอกสารอ้างอิง (References)

*************************************

         สําหรับการอ้างอิงเอกสารในบทความนั้นใช้ระบบ APA ให้ใช้ระบบตัวอักษรโดยใช้ วงเล็บ เปิด-ปิด และระบุชื่อ-นามสกุล ของผู้เขียน ปี พ.ศ. และเลขหน้า ของเอกสารที่นํามาอ้างอิงกํากับท้ายเนื้อความที่ได้อ้างอิง เอกสารที่อ้างอิงในบทความจะต้องปรากฏในเอกสารอ้างอิงท้ายบทความทุกรายการ และผู้เขียนบทความต้องรับผิดชอบถึงความถูกต้องของเอกสารที่นํามาอ้างอิงทั้งหมด การอ้างอิงเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษ โดยรูปแบบของการอ้างอิงเอกสารมีรายละเอียด ดังนี้

5.ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเนื้อหา

         5.1 หนังสือ
ผู้เขียน  1 คน
(สำราญ ศรีคำมูล, 2549: 1)
(Bill, 2549: 6)

ผู้เขียน 2 คน
(สำราญ ศรีคำมูล และสนิท วงศ์ปล้อมหิรัญ, 2560 : 31)
(John and David, 1984 : 12)

ผู้เขียน 3 คน
(สนิท วงปล้อมหิรัญ และคณะ, 2559 : 22)
(John Dewey, et al., 2000 : 9)

ผู้เขียนเป็นหน่วยงาน
(มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, 2559 : 10-15)
(Ministry of Education, 2019 : 4)

การอ้างอิงในเนื้อหา (การอ้างอิงเอกสารสองทอด)
*โดยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาท (Cronbach, 1974 อ้างใน ยุทธ ไกยวรรณ์, 2543 : 9) ได้ความเชื่อมั่น...
**ตามแนวคิดของเบสท์ (Best, 1978 อ้างใน ประคอง กรรณสูต, 2538)...

         5.2 งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
(สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, 2549 : เลขหน้า)
(อาทิตย์ ชูชัย, 2557)
(Watson, 1990)

         5.3 รายงานการประชุม
(นฤมล ชุ่มเจริญสุข, 2557 : 20)
(Anan Srita, 1990 : 45)

         5.4 วารสาร
(สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, 2557 : 76-85)

         5.5 หนังสือพิมพ์
(สมศรี หาญอนันทสุข, 2550 : 7)
(Krishman, 2007 : 1)

         5.6 จุลสาร แผ่นพับ และแผ่นปลิว
(การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2541)
(Research and Training Center on Independent Living, 1993)

         5.7 โสตทัศนวัสดุ
(กฤตสุชิน พลเสน, 2555)

         5.8 ซีดีรอม
(อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร, 2543)ฃ
(Social Science Index, 1999)

         5.9 การสัมภาษณ์
(ไชยยา เรืองดี, 2560, มกราคม 14)
(Born, 1990, June 15)

         5.10 เอกสารอิเล็กทรอนิกส์
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ และวารสารอิเล็กทรอนิกส์
(สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 2554)
(Kenneth, 1998)

หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
(ซูม, (นามแฝง), 25 ตุลาคม 2542)
(ศธ. ยุติการถ่ายโอนสถานศึกษาบัญชี 2, 2550)

เอกสารจากเวิล์ไวด์เว็บ (www)
(ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ, ม.ป.ป.)
(Ministry of Education, 2005)

รูปแบบการเขียนเอกสารอ้างอิง
6.1 ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง
         การเขียนเอกสารอ้างอิง เรียงลำดับตามตัวอักษรภาษาไทยก่อน ตามด้วยการอ้างอิงภาษาอังกฤษ การเคาะเว้นวรรค 1 ครั้ง ในรายการที่สองไม่ต้องพิมพ์ชื่อผู้เขียน ให้ขีดเส้นเข้าไป 0.5 นิ้ว หรือ 1.27 ซม. หรือประมาณ 7 ตัวอักษร แล้วตามด้วยเครื่องหมายมหัพภาค (.) เช่น
         บุญชม ศรีสะอาด. (2546). การวิจัยสำหรับครู. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
         ____________. (2553). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
         บรรทัดแรกของเอกสารอ้างอิงแต่ละเรื่อง อักษรตัวแรกห่างจากริมกระดาษด้านซ้าย 3.00 ซม. บรรทัดที่สองและบรรทัดต่อๆ ไป ให้ย่อหน้าโดยเว้นอีก 0.5 นิ้ว หรือ 1.27 ซม. เช่น
         สายัณห์ วงศ์สุรินทร์และคณะ. (2557, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16 (1), 76-85.

         6.2 ตัวอย่างรูปแบบการอ้างอิงในเอกสารอ้างอิงหนังสือ
ผู้เขียน 1 คน
         
สมพงษ์ ชูมาก. (2548). กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ :โอเดียสโตร์.
         ยุทธ ไกยวรรณ์. (2548). วิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
         Wilson, K. (2007). Smart choice. 2nd ed. London : Oxford University Press.

ผู้เขียน 2 คน
         ยุทธ ไกยวรรณ์ และกุสุมา ผลาพรม. (2555). พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
         ล้วน สายยศ และอังคณา สายศ. (2542). การวัดด้านจิตพิสัย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
         Best, J. W. and Kahn, J. V. (1986). Research in Education. 5th ed. New Jersey : Prentice-Hall.

ผู้เขียน 3 คน
         ศิริชัย กาญจนวาสี และคณะ. (2547). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
         อวยพร พานิช และคณะ. (2548). ภาษาและหลักการเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
         Sadlack, R. G., et al. (1992). Social Reserch : Theory and Methods. Chestnut : Hill Enterprises.

ผู้เขียนเป็นหน่วยงาน
         สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2541). การปฏิรูปการเรียนตามแนวคิด 5 ทฤษฎี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ไอเดียสแควร์.

ราชกิจจานุเบกษา
         พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547. (2547, 1 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 121 ตอนพิเศษ 23 ก, 1-24.

งานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
         สุชาติ อ่อนสร้อย. (2559). การศึกษาวิเคราะห์วัตตบท 7 ในคัมภีร์ขุททกนิกายธรรมบท. วิทยานิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

         พวงเพชร พลทอง และคณะ. (2553). การศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์.
         Kasemsri, K. (2005). Participatory Communication in City Radio FM 96.0. Master of Science Thesis in Development Communication, Graduate Kasetsart University.

วารสาร
         สายัณห์ วงศ์สุรินทร์, บุญเรือง ศรีเหรัญ และอุษา คงทอง. (2557, มกราคม-มิถุนายน). การศึกษาองค์ประกอบความมีวินัยของนักเรียนมัธยมศึกษาในโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 16 (1), 76-85.

หนังสือพิมพ์
         สมศรี หาญอนันทสุข. (2550, มิถุนายน 26). ฤารัฐธรรมนูญใหม่จะสร้างมิติใหม่ให้สังคมพุทธ. มติชน, 7.
         Krishman, E. (2007, June 26). Rebuilding soft-esteem. Bangkok Post, 1.

จุลสาร แผ่นพับ และแผ่นปลิว
         การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2541). ท่องเที่ยวสงขลา. [แผ่นพับ]. สงขลา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.
         Research and Training Center on Independent Living. (1993). Guidelines for reporting and writing about people with disabilities. Lawrence: Research and Training Center on Independent Living.

โสตทัศนวัสดุ
         กฤตสุชิน พลเสน (ผู้บรรยาย). ปรัชญา. [แถบบันทึกเสียง]. พระนครศรีอยุธยา : มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย.

ซีดีรอม
         อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. (2543). [CD-ROM]. Available : ฐานข้อมูลไปดูให้เต็มตาล้ำค่าความเป็นไทย. [2544, มิถุนายน 23].
         Social Science Index. (1999). [CD-ROM]. Available: UMI/Social Science Index. [2005, June 26].

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
         สำนักงานหอสมุดมหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (2554). รูปแบบการเขียนบรรณานุกรม. [Online]. Available: http://library.bu.ac.th/help/libmanuals/other/write_APA_Thai.pdf. [2555, กุมภาพันธ์ 19].
         Abell, S.K. (2002). Science teacher education: An international perspective. [Online]. Available : http://ebook Sprinkerlink.com/Search/Search Result.aspx. [2005, August 20].

 

วารสารอีเล็กทรอนิกส์
         Kenneth, I. (1998). A Buddhist response to the nature of human rights. Journal of Buddhist Ethics. [Online]. 2, (9). Available: http://www.cas.psu.edu/Jbe/twocont.html. [2006, August 12].

หนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์
         ซูม. (นามแฝง). (2542, ตุลาคม 25). บุญของคนไทย ใน ไทยรัฐ. [Online]. Available: http://www.thairath.co.th. [2542, ตุลาคม 25].
         ศธ. ยุติการถ่ายโอนสถานศึกษาบัญชี 2, (2550, มิถุนายน 23). ใน ไทยรัฐ. [Online]. Available: http://www.thairath.co.th. [2550, ตุลาคม 30].

เอกสารจากเวิล์ไวด์เว็บ (www)
         ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. (ม.ป.ป.). การจัดการศึกษาทางไกล. [Online]. Available: http://www.nectec.or.th/eourseware/cai/0015.htm. [2550, สิงหาคม 1].
         Ministry of Education. (2005). The Regional Seminar on Higher Education in Southeast Asian Countries. [Online]. Available: http://www.nectec.or.th/eourseware/cai/0015.htm.
[2006, June 1].

การสัมภาษณ์
         ไชยยา เรืองดี. (2560, มกราคม 14), ผู้ช่วยอธิการบดี, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. สัมภาษณ์.
         Born, Q. (1990, June 15). President, Standard University. Interview.

----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ดาวน์โหลดรูปแบบ จัดพิมพ์อ้างอิงวารสาร

บทความวิชาการ

บทความวิชาการ หมายถึง บทความจาการรวบรวมความรู้ ทบทวนวรรณกรรม Section default policy

บทความวิจัย

Research Article

นโยบายส่วนบุคคล

บทบาทหน้าที่ของบรรณาธิการ
1. บรรณาธิการมีหน้าที่ตรวจสอบบทความที่ส่งมาเพื่อขอตีพิมพ์กับวารสารทุกบทความ โดยพิจารณาความสอดคล้องของเนื้อหาบทความกับขอบเขตของวารสารเป็นสำคัญ และมีการตรวจสอบคุณภาพบทความก่อนการตีพิมพ์
2. บรรณาธิการต้องใช้เหตุผลทางวิชาการในการพิจารณาบทความ และต้องไม่มีอคติ ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์หรือผู้ทรงคุณวุฒิ และบทความที่พิจารณาไม่ว่าด้วยกรณีใด
3. บรรณาธิการต้องปฏิบัติตามกระบวนการต่าง ๆ ของวารสารอย่างเคร่งครัด
4. บรรณาธิการต้องมีจรรยาบรรณ และไม่นำข้อมูลบางส่วนหรือทุกส่วนของบทความไปเป็นผลงานของตนเอง
5. บรรณาธิการต้องมีการตรวจสอบความซ้ำซ้อนของบทความตามมาตรฐานทางวิชาการอย่างจริงจัง พร้อมใช้โปรแกรมที่เชื่อถือได้ว่า บทความที่ตีพิมพ์ในวารสารไม่มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น ถ้าพบว่า มีการคัดลอกผลงานของผู้อื่น จะต้องแจ้งให้เจ้าของบทความทราบทันที หากผู้นิพนธ์บทความไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำ บรรณาธิการสามารถปฏิเสธการตีพิมพ์ได้

บทบาทหน้าที่ของผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องส่งบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อน
2. ผู้นิพนธ์ต้องทำการอ้างอิงให้ถูกต้องทุกครั้งเมื่อนำผลงานของผู้อื่นมาอ้างอิงประกอบในเนื้อหาบทความของตนเอง และต้องไม่คัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
3. บทความของผู้นิพนธ์ต้องปรับแก้ไขให้ถูกต้องตามรูปแบบของวารสารในหัวข้อ "คำแนะนำสำหรับผู้เขียน" และต้องปรับแก้ไขผลงานที่ตีพิมพ์ตามคำแนะนำหรือตามผลการประเมินบทความจากผู้ประเมินบทความ หากไม่แก้ไขตามคำแนะนำ ของผู้ประเมิน ทางวารสารจะขอสงวนสิทธิ์ไม่ตีพิมพ์บทความของท่าน
4. ผู้นิพนธ์ต้องยินยอมโอนลิขสิทธิ์ให้แก่วารสารก่อนการตีพิมพ์ และไม่นำผลงานไปเผยแพร่หรือตีพิมพ์กับแหล่งอื่น ๆ หลังจากที่ได้รับการตีพิมพ์กับวารสารศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
5. ชื่อผู้นิพนธ์ที่ปรากฏในบทความต้องเป็นผู้ที่มีส่วนในบทความนั้น ๆ จริง

บทบาทหน้าที่ของผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ
1. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้นิพนธ์ การพิจารณาบทความต้องคำนึงถึงคุณภาพเป็นสำคัญและพิจารณาโดยใช้เหตุผลทางวิชาการเป็นหลัก โดยปราศจากอคติใดทั้งสิ้น
2. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของบทความที่รับประเมินอย่างแท้จริง
3. ผู้ทรงคุณวุฒิต้องไม่แสวงหาประโยชน์จากบทความที่ตนเองได้ทำการประเมิน