การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

LINEAR PACKAGE LESSON De DEVELOPMENT ON RELIGIOUS IN THAILAND SOCIAL RELIGIOUS AND CULTURE LEARNING SUBSTANCE GROUP PRATHOMSUKSA 5 WATPREMPRACHAKORN SCHOOL

ผู้แต่ง

  • มหลัก กอระ นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
  • นีรนาท จุลเนียม อาจารย์ สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศิลปศาสตร์และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง, กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนาและวัฒนธรรม, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ความพึงพอใจ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียน 3) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป  และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องศาสนาในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนวัดเปรมประชากร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ชนิด คือ บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง จำนวน 5 เรื่อง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง (IOC) 0.40 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผลและการทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบ t - test (Dependent  Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 

  1. บทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มี ประสิทธิภาพ 85.45/87.27 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 
  2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 
  3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ศาสนาในประเทศไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่5 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.76 หรือร้อยละ 76 นั่นคือ ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นหลังจากเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปร้อยละ 76 
  4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง ศาสนาในประเทศไทยกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคม ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.66 ซึ่งหมายความว่า นักเรียนทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันว่าบทเรียนสำเร็จรูปนี้มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก

References

กรมวิชาการ. (2555). คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าครุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). เทคโนโลยีและการสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: กรมการศาสนา.

ชัยสิทธิ์ เฉลิมมีประเสริฐ. (2544). สถิติเพื่อนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร:โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฏธิณี สุโพธิ์. (2555). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่อง อาชีพของประชาชนจังหวัดร้อยเอ็ดกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธีระชัย บูรณโชติ. (2559). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป เส้นทางสู่อาจารย์ 3. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การพัฒนาการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2555). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สุวีริยสาสน์.

บุศรินทร์ นามไพศาลสถิตย์. (2557). การสร้างบทเรียนสำเร็จรูป วิชาสังคมศึกษา ส.306 เรื่องการปฏิรูปบ้านเมืองให้ทันสมัยในรัชกาลที่ 5 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. การศึกษาอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. (2562). ราชกิจจานุเบกษา. (ออนไลน์). สืบค้นจาก www.mdh.go.th. สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2563.

วัฒธนะ บุตรสุวรรณ. (2555.) การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่องจังหวัดกาฬสินธุ์กลุ่มสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วัฒนา ภิญญมิตร์. (2557). การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง อาณาจักรสุโขทัย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สุวิทย์ มูลคำ และอรทัย มูลคำ. (2559). 20 วิธีจัดการเรียนรู้. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : ภาพพิมพ์.

ศิริวรรณ วรรณสุทธิ์. (2555). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปแบบเส้นตรง เรื่อง แรง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). แนวทางการกระจายอํานาจการบริหารและการจัดการศึกษาใหคณะกรรมการ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวงกําหนดหลักเกณฑและวิธีการกระจายอํานาจบริหารและจัดการศึกษาพ.ศ.2550. กรุงเทพฯ: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

สุฌารักษ์ เมืองโคตร. (2555). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป เรื่องจังหวัดของเรา (มุกดาหาร) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อาภาภรณ์ อินเสมียน. (2555). การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปประกอบการ์ตูน เรื่อง อริยสัจ 4 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. การศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Hovland, (1949). The Effectiveness Index as inEducational Technology. Educational Technology.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-12-29