การบริหารงานบุคคลของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 (สังคม 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย
Personnel Administration of School Network for Educational Development Region 13 Sangkom District, Nongkhai Province
คำสำคัญ:
การบริหารงานบุคคล, โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 (สังคม 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย และ 2) เปรียบเทียบการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 (สังคม 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำแนกตาม เพศ และประสบการณ์ทำงาน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ศึกษาการบริหารงานบุคคลของโรงเรียนตามกรอบแนวคิดของกระทรวงศึกษาธิการ ประชากร ได้แก่ ผู้บริหารและครู โรงเรียนกลุ่มเครือข่ายสถานศึกษาที่ 13 (สังคม 1) อำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย จำนวน 113 คน โดยใช้สูตรการคำนวณของทาโร ยามาเน่ ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 88 คน และใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น แล้วสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับการบริหารงานบุคคลของโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ได้แก่ ด้านการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพและการขอรับใบอนุญาต รองลงมา การสรรหาและการบรรจุแต่งตั้ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านวินัย การรักษาวินัย การลงโทษ การอุทธรณ์และการออกจากราชการ
- ผู้บริหารและครูที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 (ฉบับที่ 2) และที่แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2545. กรุงเทพฯ: บริษัทสยามสปอร์ต ซินดิเค จำกัด.
__________. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา.
กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
__________. (2550). คู่มือการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ).
ซูไฮมี ศาสน์ศรัทธา. (2556). การบริหารงานบุคคลตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาอำเภอสุไหงปาดี สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
นิชนันท์ หลุยใจบุญ. (2551). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทราเขต 2. วิทยานิพนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประชารัตน์ โนนทนวงษ์. (2551). การบริหารงานบุคคลโรงเรียนเทศบาล สังกัดสำนักงานการศึกษาเทศบาลนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย.
พนัส หันนาคินทร์. (2546). การบริหารบุคลากรในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: พิฆเณศ.
มูนีเราะห์ เจ๊ะมิง. (2559). การบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
ศิริพงศ์ พฤทธิพันธุ์. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยสาหรับธุรกิจ. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง.
สาริน๊ะ ดอปอ. (2553). การปฎิบัติงานตามกระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดยะลา. วิทยานิพนนธ์คุรุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.
อรุณรักษ์ สุขบุญ. (2552). การบริหารบุคลากรในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองจันทบุรี. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อัมพร เพชรโชติ. (2553). กระบวนการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามทัศนะของครูหัวหน้าฝ่ายบริหารงานบุคลากร สังกัดสํานักงาน เขตพื้นที่การศึกษา ยะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.