ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์

Transformational Leadership of School Administrators of the Institutions Affiliated with Pathumthani University under the Office of Phetchabun Vocational Education

ผู้แต่ง

  • กรวรรณ นามวงศ์
  • นลธวัช ยุทธวงศ์

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษา, สถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ และ 2) เพื่อหาแนวทางภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ ประชากรและแหล่งข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ครูผู้สอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ปีการศึกษา 2565 รวมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา  

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี  สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมและรายด้าน พบว่า มีการปฏิบัติ อยู่ในระดับ มาก  2) แนวทางภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสถาบันในเครือมหาวิทยาลัยปทุมธานี  สังกัดสำนักงานอาชีวศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์ สรุปได้ดังนี้ 2.1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารสถานศึกษาควรประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี มีคุณธรรมจริยธรรม มีความซื่อสัตย์ น่าเคารพ ยกย่อง นับถือ น่าเลื่อมใสศรัทธา มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ รับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากผู้ร่วมงาน สามารถควบคุมอารมณ์และแก้ไขปัญหาได้ทุกสถานการณ์2.2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารสถานศึกษาควรกระตุ้นส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรแสดงความคิดสร้างสรรค์ทำงานกันเป็นทีม และมีความกระตือรือร้นในการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง จนบรรลุเป้าหมายที่วางไว้  2.3) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา ผู้บริหารสถานศึกษาควรกระตุ้นบุคลากรให้เกิดความคิดริเริ่มใหม่ ๆ ตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยทุกคนร่วมมือกันหาแนวทางใหม่มาช่วยแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพื่อให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ นำไปสู่วิธีการปฏิบัติงานที่สร้างสรรค์สามารถพัฒนางานให้ดียิ่งขึ้น และ 2.4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ผู้บริหารสถานศึกษาควรเข้าใจยอมรับให้เกียรติบุคลากรทุกคน เข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน รับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ มีการมอบหมายงานตรงกับความรู้ความสามารถของบุคลากร ตลอดจนให้คำปรึกษาแนะนำ และส่งเสริมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ให้พัฒนางานของตนเองให้เจริญก้าวหน้า

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ. กรุงเทพฯ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ

กระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวงกำหนด หลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

_______. (2545). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545).

กรุงเทพฯ : พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

_______. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545, 2553). กรุงเทพฯ : องค์การค้าคุรุสภา.

กิตติธัช ออไอศูรย์. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนัก คณะกรรมการอาชีวศึกษาในกรุงเทพมหานครตามการรับรู้ของผู้บริหารและครู. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา, สำนักงาน. (2558). สำนักนโยบายและแผนการอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา.

ชณันภัสร์ ปิยะภัทรวิรัตน์. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษจังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). ฉบับปรับปรุงใหม่ กรุงเทพฯ : บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พัชรา วาณิชวศิน. (2560). การพัฒนาภาวะผู้นำจากทฤษฎีสู่แนวปฏิบัติที่ดีและกรณีศึกษา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ปัญญาชน.

รอฮิม สุหลง. (2565). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษา ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อรวรรณ ภัทรดำเนินสุข. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรสงคราม. วิทยานิพนธ์หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Bass, B. M., & Avolio, B. J. (1990). Developing transformational leadership: 1992 and beyond. Jourmal of Europena Industrial Training, 5(10), 21-27.

Bass and Avolio. (1994). Improving Organizational Effectiveness Through Transformationnal Leadership. Thousand Oaks : Sage Publications.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-12-31