การพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC การพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ ปีการศึกษา 2564 จำนวน 524 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่เลือกแบบเจาะจง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 5 แผน แบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ 5 ชุด และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการแต่งกลอนสุภาพ ซึ่งเป็นข้อสอบแบบปรนัย แบบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาทักษะการแต่งกลอนสุภาพ โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ พบว่าแบบฝึกทักษะการแต่งกลอนสุภาพ ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่กำหนดไว้ 2) ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือ เทคนิค CIRC สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบึงกาฬ อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว.
จารุวรรณ รัตนทวีชัยพร. (2550). การออกแบบแผนจัดการเรียนรู้สาระภูมิศาสตร์โดยใช้เทคนิคการตั้ง คำถามเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านสันต้นหมื้อ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชาญชัย ยมดิษฐ์. (2558). เทคนิคและวิธีการสอนร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : หลักพิมพ์.
นาธิป พรกุล. (2553). ความหมายของการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ
นพดล แสงสิน. (2556). การจัดทำแผนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. สืบค้นเมื่อ 13 ธันวาคม 2564 เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/549503
นภาลัย สุวรรณธาดา. (2550). เทคนิคการเขียน หนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบ และรายงานการประชุม พิมพ์ครั้งที่ 5.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). วิธีการทางสถิติสำหรับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2553). วิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
บุญเหลือ ใจมโน. (2555). การแต่งคำประพันธ์. พิมพ์ครั้งที่ 2.พิมพลักษณ์ กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2560). การวัดผลการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 11. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
สุนันทา สายแวว. (2543). การสร้างแบบฝึก. ชัยนาท : ชมรมพัฒนาความรู้ด้านระเบียบกฎหมาย.
สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีการจัดการเรียนรู้ : เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์.
สุวิมล ผะสม. (2554). การจัดกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนสำคัญที่สุด. พิมพ์ครั้งที่ 4 กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์.
อภิรักษ์ โต๊ะตาหยง. (2556). ผลการใช้ชุดการเรียน เรื่องการอ่านและการเขียนสะกดคําที่ประสมสระ ลดรูป และ สระเปลี่ยนรูป โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค LT. สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 2. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน).บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2560). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.