ผลการจัดประสบการณ์ใช้กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ผักผลไม้ ต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ผักผลไม้กับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ผักผลไม้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ เด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 4-5 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 โรงเรียนบ้านถ้ำเต่า สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 26 คน ซึ่งได้ มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยการประดิษฐ์ผักผลไม้ จำนวน 24 แผน 2) แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ของเด็กปฐมวัย เป็นแบบการให้ปฏิบัติจริงแบ่งเป็น 3 ทักษะ รวม 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่น แต่ละทักษะดังนี้ แบบวัดทักษะการสังเกต เท่ากับ 0.79 แบบวัดทักษะการจำแนกประเภท เท่ากับ 0.81 และแบบวัด ทักษะการสื่อความหมาย เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที t-test แบบ One Sample t-test และแบบ Dependent Sample t-test โดยใช้โปรแกรมสถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) เด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์โดยใช้ชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ มีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หลังการจัดประสบการณ์ สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารครุศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารครุศาสตร์เล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยนครพนม และคณาจารย์ท่านอื่น ๆ ในมหาวิทยาลัยฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใด ๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว
References
กมลชนก สุจริต และกชกร หวังเติมกลาง. (2565). สอนอย่างไรให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะการสังเกต. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา (สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 16(2), 438-44.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย. เบรน-เบสบุ๊คส์.
เกศแก้ว นาทองคำ และทัศนีย์ นาคุณทรง. (2565). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ ที่มีต่อทักษะกระบวนการ ทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 979-992.
จรรยา ดาสา และณวรา สีที. (2560). การเสริมสร้างทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ผ่านการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการสืบเสาะ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 19(3), 343–355.
นภเนตร ธรรมบวร. (2549). การพัฒนากระบวนการคิดในเด็กปฐมวัย. (พิมพ์ครั้งที่ 5). สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). สุวีริยาสาส์น.
ปิยะนุช แข็งกสิการ, วไลพร เมฆไตรรัตน์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2561). ผลการจัดประสบการณ์แบบสืบเสาะหาความรู้ที่มีต่อทักษะการสังเกตและทักษะการจำแนกประเภทของเด็กปฐมวัย. วารสารบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 11(1), 125-135.
พุทธธิดา ชูศรสาย. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถ ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 12(35), 117-128.
ยุพิน เกสรบัว, วไลพร เมฆไตรรัตน์ และบัณฑิตา อินสมบัติ. (2561). ผลการใช้ชุดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 13(39), 85-98.
รัศมี อ่วมน้อย. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 1 โรงเรียนบ้านบ้านวังหันน้ำดึง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5 (ฉบับพิเศษ), 37-52.
ศิริทัย ธโนปจัย และปัทมาวดี เล่ห์มงคล. (2559). การใช้ชุดกิจกรรมแบบปฏิบัติการเพื่อพัฒนาทักษะทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 31(3), 159-164.
สมปอง ราศี. (2558). การพัฒนากิจกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนบ้านวังกวาง. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ, 5 (ฉบับพิเศษ), 53-68.
สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู. (2558). STEM TO STEAM PLUS STREAM AND STEM ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 13(1), 6-16.
สิริพรรณ ตันติรัตน์ไพศาล. (2545). ศิลปะสำหรับเด็กปฐมวัย. สุวีริยาสาส์น.
สุชิลา อินแดง. (2558). ความคิดสร้างสรรค์ทางศิลปะของนักเรียนชั้นปฐมวัยโดยการสอนแบบพหุปัญญาหลักการ ซี ไอ เอส เอส ที และการสอนแบบสาธิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 134-142.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2554). กรอบมาตรฐานและคู่มือการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2546. สถาบันฯ.